สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

พัฒนาการสังคมไทย
ดุจฤดี คงสุวรรณ์

สมัยกรุงศรีอยุธยา

(พุทธศตวรรษที่ 20-23)

สภาพสังคมในสมัยกรุงศรีอยุธยา พัฒนามาจากรัฐเล็กรัฐน้อยบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา รวมเป็นอาณาจักร โดยมีสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นผู้สถาปนาอาณาจักรขึ้นใน พ.ศ.2310 อยุธยามีแม่น้ำสายหลักที่ไหลมาจากหัวเมืองทางเหนือ คือ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำเจ้าพระยา โอบล้อมตัวเมืองเป็นเกาะแล้วไหลไปทางใต้ลงสู่อ่าวไทย ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เอื้อต่อเส้นทางคมนาคมและค้าขายกับชุมชนภายนอกซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราชธานีแห่งนี้มีความเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังมีความเข้มแข็งด้วยมีเมืองสุพรรณบุรี และลพบุรีเป็นฐานอำนาจสำคัญ

ด้วยเหตุดังกล่าวอยุธยาจึงจำเป็นต้องมีแรงงานในการสร้างบ้านเมือง ทำนาทำไร่ตลอดจนเป็นกำลังรบในยามสงคราม อาณาจักรอยุธยามีพื้นที่ดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำนาโดยไม่ต้องอาศัยการจัดชลประทานขนาดใหญ่โดยรัฐ ดังนั้นการควบคุมแรงงานราษฎรและการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางของรัฐ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นจึงมีขอบเขตจำกัด ต้องประนีประนอมผลประโยชน์และอำนาจทางการเมือง หรือชนชั้นผู้นำ เรียกว่า ระบบไพร่ ซึ่งรากฐานการควบคุมแรงงานนี้มาจากการจัดตั้งชุมชนเล็ก ๆ ในท้องถิ่นนั่นเอง หลักฐานจากฎหมายลักษณะรับฟ้อง พ.ศ. 1899 แสดงว่าระบบไพร่คงมีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) โดยแบ่งคนในสังคมเป็น 2 ชั้น คือ ผู้ปกครอง ได้แก่ มูลนาย และผู้อยู่ใต้การปกครองคือ ราษฎร ต้องมีมูลนายที่ตนสังกัด จึงจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

การจัดหมวดหมู่ราษฎรในระบบไพร่ระยะแรกนี้มูลนายและไพร่แจะมีภูมิลำเนาอยู่ในเมืองเดียวกัน เพื่อสะดวกในการเกณฑ์ยามเกิดศึกสงคราม หรืองานราชการพึงประสงค์ สะท้อนให้เห็นว่าเจ้าเมืองหรือผู้นำท้องถิ่นเป็นผู้ควบคุมแรงงานไพร่ในเมืองของตนเป็นเอกเทศ สามารถสะสมไพร่ได้ไม่จำกัดขอบเขต โดยที่พระมหากษัตริย์ไม่แทรกแซงเกี่ยวข้องมากนัก โดยเฉพาะเจ้านายที่ปกครองเมืองลูกหลวง ดังนั้นการเมืองสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เมื่อพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ จึงมักต้องเผชิญกับการท้าทายอำนาจจากเจ้าเมืองลูกหลวงที่เข้มแข็งกว่า สามารถเคลื่อนทัพเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาทำการยึดอำนาจและปกครองเสียเอง การเมืองและสถาบันกษัตริย์จึงขาดเสถียรภาพ เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารราชการใหม่ และออกกฎหมายจัดระเบียบการควบคุมคนให้รัดกุมโดยใช้ระบบศักดินาซึ่งได้รับการเปลี่ยนแปลงบ้างให้เหมาะสมกับกาลเวลาและใช้เรื่อยมา จนมีการยกเลิกระบบไพร่ พ.ศ.2448 ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

นอกจากนี้ยังมีการตรากฎหมายพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน และพระไอยการตำแหน่งนายทหารหัวเมือง พ.ศ.1998 เป็นกฎหมายควบคุมกำลังคนอย่างมีระบบและรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางกำหนดหน้าที่สิทธิในการควบคุมกำลังคนตั้งแต่ระดับพระราชวงศ์ชั้นสูงจนถึงชั้นต่ำ คือ ทาสทำให้ทุกคนมีศักดินาประจำตัวตามฐานะหน้าที่หรือตามยศชั้นของบุคคล กลุ่มคนในสังคมไทยแบ่ง 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นปกครอง ประกอบด้วยพระมหากษัตริย์ เจ้านาย และขุนนางซึ่งเรียกว่ามูลนาย ชนชั้นถูกปกครอง ได้แก่ ไพร่และทาส โดยมีพระสงฆ์เชื่อมระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคมเข้าด้วยกัน มีรายละเอียด ดังนี้

  1. พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขของอาณาจักร ในทางการเมืองพระองค์ทรงอยู่ในฐานะเจ้าชีวิต มีพระราชอำนาจเหนือชีวิตทุกคนในสังคม ทรงปกครองโดยมีพวกเจ้านายและขุนนางเป็นผู้ช่วยทรงดำรงตำแหน่งเป็นจอมทัพบังคับบัญชาทหารทั้งปวง พระองค์ทรงอยู่ในฐานะพระเจ้าแผ่นดินเป็นเจ้าของดินทั้งราชอาณาจักร ในทางสังคม พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำทางทางสังคมอยู่ในฐานะเป็นธรรมราชา ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนาจึงมีบทบาทในการสร้างเอกภาพของสังคม ในแง่ของสถาบันสังคม กรุงศรีอยุธยาได้รับเอาระบอบการปกครองและวัฒนธรรมของเขมรมาปรับปรุงให้เข้ากับของไทย พระมหากษัตริย์จึงเปลี่ยนฐานะจากมนุษย์ขึ้นเป็นเทวราชา โดยมีพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาซึ่งอ้างถึงเทพเจ้าต่างๆในศาสนาพราหมณ์เพื่อเสริมพระราชอำนาจทางการเมือง แต่ตามความเป็นจริงนั้นถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจมาก แต่ก็ถูกจัดอยู่ภายใต้ขอบเขตอย่างกว้าง ๆ ประกอบด้วยหลักธรรม ทรงอยู่ทศพิธราชธรรมและขอบเขตทางการเมือง เพราะสังคมอาณาจักรอยุธยาถือว่าการปราบดาภิเษกเป็นการก้าวสู่ราชบัลลังก์โดยชอบธรรม ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น คติเทวราชาตามลัทธิพราหมณ์ได้เสมือนที่รวมแห่งกฎหมายและถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นพระโพธิ์สัตว์ ทรงป้องกันคุ้มครองประชาชนทั้งในเรื่องทรัพย์สมบัติ และพระมหากษัตริย์ทรงนำทัพต่อสู่กับข้าศึกด้วยพระองค์เอง ตลอดจนสั่งสอนให้ราษฎรประพฤติอยู่ในศีลธรรมทรงปฏิบัติพระองค์ใกล้ชิดกับราษฎรมาก กว่าสมัยกรุงศรีอยุธยา
  2. เจ้านาย คือ พระญาติของพระมหากษัตริย์ เป็นชนชั้นที่ได้รับเกียรติยศและอภิสิทธิมาตั้งแต่กำเนิด มีศักดินาตั้งแต่ 50,000 ลงไปจนถึง 400 ยศของเจ้านายแบ่งเป็นสกุลยศและอิสริยยศ

    สกุลยศ เจ้านายแต่ละองค์จะได้รับมาตั้งแต่กำเนิดสมัยอาณาจักรอยุธยาตอนต้นคงเรียกเจ้านายว่า เจ้า ต่อมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้แบ่งสกุลยศเป็น 3 ชั้น คือ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า ส่วนหม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวงตั้งขึ้นในสมัยพระบทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และไม่นับว่าอยู่ในฐานะเจ้า

    อิสริยยศ เป็นยศที่ได้รับพระราชทานจากการรับราชการแผ่นดินช่วยเหลือพระมหากษัตริย์ อิสริยยศที่ได้รับพระราชทานตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองจะขึ้นด้วยคำว่า พระ ตั้งแต่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่อมีการตั้งเจ้าทรงกรม อิสริยยศจึงเปลี่ยนเป็นกรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระและกรมสมเด็จพระ สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อิสริยยศสูงสุดของเจ้านายคือ มหาอุปราช เมื่อมีการทรงกรมใช้ชื่อยศว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
  3. ขุนนาง เป็นกลุ่มคนในสังคมที่มีอำนาจ อภิสิทธิ์ และเกียรติยศ มีโอกาสเข้ารับราชการอยู่ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นศูนย์อำนาจทางการเมือง มีส่วนร่วมช่วยเหลือในการบริหารปกครองอาณาจักรให้มีเสถียรภาพ จึงเป็นผู้มีอำนาจทางสังคมสูง ได้รับการยกย่องและมีบริวารแวดล้อมมีฐานะทางเศรษฐกิจซึ่งได้รับผลประโยชน์จากการควบคุมไพร่สมและไพร่หลวงที่ได้รับพระราชทาน ในการเพิ่มพูนโภคทรัพย์ทางด้านการเกษตรและการค้า พวกขุนนางชั้นสูงจึงมีฐานะมั่งคั่ง สมัยกรุงศรีอยุธยาขุนนางมีฐานะตั้งอยู่บนเกณฑ์ 4 ประการ คือ ศักดินา ยศ หรือบรรดาศักดิ์ ตำแหน่งและราชทินนาม

    ศักดินา ขุนนางซึ่งพระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งด้วยพระองค์เองนั้นมีศักดินา 400-30,000 ขุนนางผู้มีศักดินาต่ำกว่า 400 ลงไปได้รับการแต่งตั้งจากผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นเจ้านายหรือ ขุนนางชั้นสูง ขุนนางชั้นต่ำมีจำนวนมากไม่มีสิทธิพิเศษ ต้องทำมาหากินเช่นเดียวกับราษฎรทั่วไป ในขณะที่ขุนนางชั้นสูงมีอภิสิทธิ์ เช่น ตัวเองและบุคคลในครอบครัวไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน เมื่อมีคดีความสามารถแต่งทนายหรือผู้แทนตนได้ เว้นแต่ในกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ มีสิทธิเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ในขณะเสด็จออกว่าราชการ ขุนนางมีหน้าที่รับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ในการควบคุมคน (ไพร่สมและไพร่หลวง) ในสังกัดจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นกำลังคนที่แข็งแรงมีประสิทธิภาพพอที่จะใช้ในยามสงครามและราชการอื่น ๆ ขณะเดียวกันขุนนางมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของไพร่และส่งทนายไปแก้คดีให้เมื่อคนในสังกัดตนต้องคดี

    ยศ หรือบรรดาศักดิ์ของขุนนางสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นลดหลั่นลงไปตามลำดับ คือ พระยาหรือออกญา เจ้าหมื่น พระ จมื่น หลวง ขุน จ่า หมื่น และพัน สำหรับบรรดาศักดิ์เจ้าพระยาและสมเด็จเจ้าพระยามีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

    ตำแหน่งของข้าราชการ ได้แก่ อัครมหาเสนาบดี เสนาบดี จางวาง เจ้ากรม ปลัดกรม สมุห์บัญชี สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นเสนาบดีมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา ต่อมาได้รับการเลื่อนให้มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา ตำแหน่งของขุนนางไทยไม่มีการสืบสกุล เป็นเพียงตำแหน่งเฉพาะตัว

    ราชทินนาม ทำเนียบข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนจะกำหนดราชทินนามไว้ประจำตำแหน่ง บอกหน้าที่ราชการทุกตำแหน่ง เมื่อผู้ใดพ้นจากตำแหน่งเดิมไปรับตำแหน่งใหม่ก็ต้องเปลี่ยนราชทินนามไปด้วย ดังนั้นเมื่อบุคคลใดเข้ารับราชการแล้ว ชื่อ-สกุล ของตนจะหมดสิ้นไป คงเหลือแต่บรรดาศักดิ์และราชทินนาม จึงไม่มีขุนนางผู้ใดต้องการออกจากตำแหน่ง เพราะว่าเมื่อออกจากตำแหน่งต้องสูญเสียศักดินา ยศหรือบรรดาศักดิ์และราชทินนาม ขุนนางส่วนมากจึงพยายามอยู่ในตำแหน่งจนกว่าจะสิ้นอายุหรือถูกออกจากตำแหน่ง การที่สังคมสมัยกรุงศรีอยุธยายอมรับการขึ้นมาสู่อำนาจโดยการปราบดาภิเษก การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจึงเป็นเรื่องของชนชั้นสูง หรือผู้มีอำนาจ ขุนนางเจ้านายผู้มีศักดินาสูงซึ่งมีคนในควบคุมจำนวนมากจนเป็นการท้าทายพระราชอำนาจและเสถียรภาพของพระมหากษัตริย์ กฎมณเฑียรบาลจึงมีมาตรการและบทลงโทษที่รุนแรง ป้องกันมิให้เจ้านาย ขุนนาง ล้มล้างราชบัลลังก์
  4. ไพร่ คือราษฎรสามัญทั้งชายหญิงเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคมไทย ไพร่ทุกคนต้องขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนาย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของไพร่พลทั้งหมดแต่ผู้เดียว พระองค์ทรงแจกจ่ายไพร่ให้อยู่ใต้การปกครองของเจ้านายและขุนนางตามตำแหน่งและศักดินา ไพร่จึงเป็นสมบัติของมูลนายเป็นฐานอำนาจที่สำคัญอย่างยิ่งขอชนชั้นปกครองในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ไพร่ที่มีความสำคัญในสังคมไทยมี 3 ประเภท คือ ไพร่หลวง ไพร่สม ไพร่ส่วย ไพร่หลวงเป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์ พระองค์ปกครองไพร่หลวงผ่านทางมูลนายผู้ควบคุมไพร่หลวงจะสังกัดกรมขุนนางต่างๆ ยามปกติไพร่หลวงจะถูกเกณฑ์ทำงานให้กับรัฐ สมัยกรุงศรีอยุธยาไพร่หลวงต้องเข้าเวรรับราชการปีละ 6 เดือน เรียกว่า เข้าเดือนออกเดือน เวลามาทำงานต้องเตรียมเสบียงอาหารมาเอง ไพร่สมเป็นไพร่ที่สังกัดมูลนาย มีหน้าที่รับใช้มูลนาย เช่น ซ่อมแซมวัง ส่งสาร ตามเป็นบริวาร ทำนาทำสวนและเป็นช่างฝีมือ ส่วนไพร่ส่วย คือ ไพร่หลวงที่ทำมาหากินอยู่หัวเมืองห่างไกลไม่สามารถเดินทางเข้ามาทำงานเวรเมืองหลวงได้สะดวก จึงกำหนดให้มีการส่งสิ่งของมาแทนแรงงานได้ นอกจากนี้ยังอนุญาตให้มีการจ่ายเงินแทนการมาใช้แรงงานที่เรียกว่า “ไพร่ส่วยเงิน”

    การมีระบบไพร่ทำให้ประชาชนขาดสิทธิเสรีภาพ และส่งผลให้หญิงมีบทบาทมากในครอบครัว เพราะต้องทำหน้าที่เลี้ยงดูครอบครัวแทนผู้ชายที่ถูกเกณฑ์แรงงาน และนอกจากนี้ไพร่ยังเป็นกำลังผลิตในทางเศรษฐกิจ เป็นแรงงานให้แก่ทางราชการ เป็นกำลังรบในยามสงคราม และยังเป็นฐานอำนาจทางการเมืองของมูลนาย เพราะมูลนายที่มีไพร่พลขึ้นสังกัดมากก็ทำให้มีกำลังการผลิต กำลังแรงงานและกำลังรบมากด้วย
  5. ทาส เป็นคนกลุ่มน้อยในสังคม จัดอยู่ในบุคคลนอกระบบไพร่ ไม่ถูกเกณฑ์แรงงานทาส สมัยกรุงศรีอยุธยาตามกฎหมายลักษณะทาส พ.ศ.2191 มี 7 ประเภท คือทาสสินไถ่ ทาสในเรือนเบี้ย ทาสที่บิดามารดายกให้ลูกของตน ทาสท่านให้ ทาสที่ได้มาโดยการช่วยเหลือให้พ้นจากโทษปรับ ทาสที่ได้มาโดยการช่วยให้พ้นจากความอดอยาก และทาสเชลย

    การมีทาสถือว่าเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของสังคมไทย ที่ถือว่าทาสเป็นกรรมสิทธิ์ของนายเงิน แต่มิได้หมายความว่าทาสนั้นจะต้องเป็นทางตลอดชีวิต อาจหลุดพ้นจากความเป็นทาสได้ในกรณีนี้

    เมื่อนายเงินให้บวชเป็นภิกษุ หรือสามเณร หรือนางชี ก็ถือว่าหลุดพ้นจากความเป็นทาสหรือแม้เมื่อลาสิกขาบทแล้ว ก็จะเอามาเป็นทาสอีกไม่ได้
    เมื่อนายเงินใช้ทาสไปทำสงครามแล้วถูกจับเป็นเชลย เมื่อหลุดรอดมาได้ก็จะพ้นจากความเป็นทาสได้
    ทาสฟ้องว่าเป็นนายกบฏ และสอบสวนได้ความว่าเป็นจริง ให้พ้นจากความเป็นทาสได้
    นายเงิน พ่อ หรือพี่น้อง ลูกหลานของนายเงินเอาทาสเป็นภรรยาให้ทาสนั้นเป็นไท ลูกที่เกิดมาให้เป็นไทด้วย)
    การไถ่ ทาสจะไถ่ตัวเองหรือผู้ใดมาไถ่ก็ได้

    อย่างไรก็ดี การจะหลุดพ้นจากความเป็นทาสก็มิใช่เรื่องง่ายนัก เพราะทาสเปรียบเสมือนเป็นทรัพย์สมบัติ การมีทาสแสดงว่ามีอำนาจบารมีมาก จึงไม่มีนายเงินคนใดยอมปล่อยให้ทาสหลุดพ้นจากการครองครองของตน และอีกประการหนึ่ง แม้ทาสจะมีสิทธิไถ่ตนเองได้ แต่ค่าตัวทาสก็เพิ่มทวีขึ้นเรื่อยเช่นเดียวกันกว่าจะหมดค่าตัวก็เมื่อชราหรือตายไปก่อนแล้ว ดังนั้นทาสจึงมีคู่สังคมไทยเรื่อยมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงประกาศเลิกทาสได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2448
  6. พระสงฆ์ สถาบันสงฆ์มีความสำคัญต่อสังคมไทยมีหน้าที่อบรมศิลปะวิทยาการแก่คนในสังคม ตั้งแต่เจ้านาย ขุนนาง ไพร่ และทาส มีหน้าที่เป็นคนกลางเชื่อมระหว่างพระมหากษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง ไพร่ และทาส สถาบันสงฆ์เป็นที่รวมของชนชั้นต่าง ๆ จัดเป็นศูนย์กลางของสังคมพระสงฆ์มีฐานะเป็นผู้นำสังคมทางอ้อม ในพระไอยการศักดินาพลเรือน กำหนดศักดินาของพระสงฆ์ตั้งแต่ 100-2,400 โดยพระมหากษัตริย์มีอำนาจในการแต่งตั้งสมณะศักดิ์หรือถอดถอนได้ พระสงฆ์ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน พระสงฆ์ยังได้รับผลกระโยชน์จากไพร่ที่เป็นเด็กวัด ทาส เชลย นักโทษ ซึ่งพระมหากษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง อุทิศถวายเพื่อให้ช่วยทำงานรับใช้กิจการของวัดและปรนนิบัติพระสงฆ์
  7. ชาวต่างชาติ เป็นคนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทในสังคมไทย คนกลุ่มนี้มีสถานพิเศษเนื่องจากไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน ไม่ต้องขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนาย จึงสามารถเป็นแรงงานอิสระสามารถทำการค้าและเดินทางค้าขายได้ทั่วประเทศ พระมหากษัตริย์ไทยมิได้แสดงความรังเกียจชาวต่างชาติที่เข้ามาพึ่ง พระบรมโพธิ์สมภาค มีการพระราชทานที่ดินให้ชาวต่างชาติอยู่ในเมืองไทยมาก มีการตั้งเป็นหมู่บ้านชาวต่างในกรุงศรีอยุธยา เช่น หมู่บ้านชาวโปรตุเกส หมู่บ้านชาวญี่ปุ่น และหมู่บ้านชาวฮอลันดา เป็นต้น

เศรษฐกิจของชาวอยุธยาส่วนใหญ่มักเป็นผลผลิตทางการเกษตรและงานหัตถกรรมและเป็นเพียงการผลิตเพื่อบริโภคหรือแลกเปลี่ยนกันแต่ในชุมชนของตน แต่ต่อมาผลิตบางอย่างโดยเฉพาะสินค้าประเภทงานหัตถกรรมของอยุธยาจะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย รายได้ของอยุธยาอาจแบ่งได้ 3 ทาง คือ

  1. เศรษฐกิจที่มีรายได้มาจากการทำการเกษตร
  2. เศรษฐกิจที่ได้มาจากการเกณฑ์แรงงานไพร่ หรือส่วย
  3. เศรษฐกิจที่มีรายได้จากการค้าขายกับต่างชาติ

ศูนย์กลางค้าขายสินค้าในอยุธยาคือตลาด มีทั้งตลาดบกและตลาดน้ำ ตลาดบกนั้นมักจะอยู่ใกล้กับวัด มีอาคารที่เป็นหลักแหล่งและมีการควบคุมราคาสินค้า ส่วนตลาดน้ำมักจะอยู่ฝั่งตะวันออกและตะวันตกของตัวเมือง มักจะมีชาวต่างชาตินำสินค้าตามฤดูกาลมาขาย

» วิวัฒนาการทางสังคมไทย

» สมัยทวารวดี

» สมัยศรีวิชัย

» สมัยลพบุรี

» สมัยหริภุญไชย

» สมัยล้านนา

» สมัยสุโขทัย

» สมัยกรุงศรีอยุธยา

» สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

» สังคมไทยสมัยใหม่

» การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

» สังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์

» สังคมไทยในภาคเหนือ

» สังคมไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

» สังคมไทยในภาคกลาง

» สังคมไทยในภาคใต้

» สังคมเมือง

» การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของสังคมเมืองและสังคมชนบท

» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคเหนือ

» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคใต้

» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคกลาง

» ปัญหาสังคมและแนวทางแก้ไข

» ลักษณะของปัญหาสังคม

» สาเหตุของการเกิดปัญหาสังคม

» แนวทางในการศึกษาปัญหาสังคม

» ปัญหายาเสพติด

» ปัญหาคอร์รัปชั่น

» ปัญหาความยากจน

» ปัญหาการแพร่กระจายของโรคเอดส์

» ด้านการศึกษาและสังคม

» ปัญหาเด็กและเยาวชน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

🍁 การแพทย์แผนโบราณ
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ค้นพบบันทึกว่า มีระบบการจัดหายาที่ชัดเจนสำหรับราษฏร มีแหล่งจำหน่ายยาและสมุนไพรหลายแห่งทั้งในและ นอกกำแพงเมือง

🍁 หลักธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคม
พระพุทธศาสนาได้สอนไว้ว่านักปกครองที่ดีนั้นควรมีคุณธรรม 10 ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม

🍁 สมถะวิปัสสนา
ตามแนวพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ (เถรวาท) ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)

🍁 พุทธธรรมขั้นพื้นฐาน
ไม่มีมนุษย์คนใดที่จะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ลำพังตนเองโดยไม่ติดต่อสัมพันธ์กับคนอื่น เพราะการดำรงชีวิตอยู่ของคนเราจำเป็นจะต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน

🍁 พระสูตรของท่านเว่ยหลาง
สูตรของท่านเว่ยหล่างล้วนแต่เป็นเรื่องของการใช้ปัญญาเพื่อค้นหาหนทางแห่งความเป็นพุทธะ และเพื่อความหลุดพ้นไปจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงในโลกนี้

🍁 พุทธศาสนสุภาษิต
สุภาษิตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำรัสไว้ ซึ่งมีคุณค่าสูงส่ง สามารถใช้ได้ทั้งเป็นแนวทางดำเนินชีวิต เตือนใจ หาคำตอบที่ดีสำหรับปัญหาที่สงสัย

🍁 โอวาทสี่ของเหลี่ยวฝาน
แบบฉบับในการประพฤติดี ปฏิบัติชอบ เพื่อหยุดยั้งกระแสแห่งวัฒนธรรมตะวันตกและอนุรักษ์ความเป็นคนจีนดั้งเดิม

🍁 สาเหตุการเกิดมลภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกในปัจจุบัน สังเกตุได้จากอุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้น

🍁 แนวคิดและหลักการทางวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ คือ องค์ความรู้ของธรรมชาติและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้

🍁 จักรวาล
“จักรวาล” และ “เอกภพ” เป็นคำๆ ที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “Universe” ซึ่งหมายถึง ทุกสรรพสิ่งทั้งหมดทั้งปวง

🍁 การออกกำลังสมอง
ถ้าเรามีการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆอยู่ตลอดเวลา ไม่ทำอะไรซ้ำซาก จะเป็นการกระตู้นให้สมองมีการแตกกิ่งก้านสาขาเพิ่มขึ้น

🍁 กฎของนิวตัน
วัตถุที่หยุดนิ่งจะพยายามหยุดนิ่งอยู่กับที่ ตราบที่ไม่มีแรงภายนอกมากระทำ ส่วนวัตถุที่เคลื่อนที่จะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยความเร็วคงที่ ตราบที่ไม่มีแรงภายนอกมากระทำเช่นกัน

🍁 ปรมาณู
สสารใด ๆ ก็ตาม จะต้องมีขนาดจำกัด คือไม่สามารถตัดแบ่งให้เล็กลง ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุดได้

🍁 โครโมโซม

🍁 หลุมดำ

🍁 การค้นพบเด่นในวงการดาราศาสตร์

🍁 วิหคมงคล

🍁 ธนาคารขยะรีไซเคิล

🍁 ลักษณะทั่วไปของปรัชญาจีน

🍁 นักปรัชญา

🍁 ปรัชญาเปรียบเทียบ

🍁 ตำราพิชัยสงคราม ซุนวู

🍁 โลกทัศน์อภิปรัชญาของเพลโต

🍁 โสกราตีส

🍁 การฟอกเงิน

🍁 นันทนจิต

🍁 ศาสตร์และศิลป์ทางการพูด

🐍 โปรดระวังงูฉก

ร่างกายคนเราตั้งแต่หัวจรดเท้า
ล้วนอุดมไปด้วยสิ่งสกปรกและเน่าเหม็น
ที่ผ่านการปรุงแต่งแปลงโฉม
และซ่อนเร้นอำพรางไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ

เพื่อให้ง่ายแก่การจดจำ
น่าดูน่าชมและน่าค้นหา

เก็บซุกข้อเสีย
และจิตวิญาณชั่วร้ายไว้ภายใน
เสริมสร้างบุคลิกภาพตบตา
ปกปิดด้วยสมบัติผู้ดี
กลบเกลื่อนด้วยมารยาททางสังคม

ช่างสวยสดงดงามแท้
มารยาผู้คน.

🐍 งูเขียว หางบอบช้ำ : เขียน

เชิญแวะอ่านสักนิดสักหน่อยก็ยังดี...

🌿 ปายฝน ต้นรัก ปางอุ๋ง แม่ละนา 1864 โค้ง
บนทางหลวง 1864 โค้ง หมายเลข 1095 เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ฝันค้างกลางฤดูหนาวหนึ่ง ได้กลายเป็นความจริงตอนปลายฤดูฝน ปายที่เคยได้แต่ฝันถึง ปางอุ๋งที่ไม่มีวันจะเป็นจริง แม่ละนาที่ไกลเกินเอื้อม ด้วยปีกคู่นั้นกับชีวิตเสรีในแบบฉบับของตัวเอง

🌿 ตะลุยเมืองจำลอง
ฝนจะตกแดดจะออกก็ไม่เป็นปัญหา ไม่ต้องเตรียมแผนที่หรือข้อมูลอะไรให้ยุ่งยาก เสื้อยืดตัว ขอใช้ส่วนตัวเท่าที่จำเป็น เป้ใบ กล้อง จองโรงแรมคืนหนึ่งล่วงหน้า 3 วัน ก่อนเดินทางแถวจอมเทียน ขอลงรถหน้าเมืองจำลองได้เลย ก่อนรถเลี้ยวเข้าสถานีตรงพัทยาเหนือ (10.30 น. ถึง) พร้อมลุย

🌿 จากจังหวัดที่เล็กที่สุดถึงเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุด
ถึงอัมพวา แต่ไม่เห็นหิ่งห้อยสักตัว ทั้งที่นอนอยู่ใต้ต้นลำพู ถึงค่ายบางกุ้ง แต่ไม่ถึงวัดบางกุ้งทั้งที่อยู่ห่างกันแค่ข้ามฝั่งถนน

ยังมีอีก »


ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
ภูจอมยุทธ | Podcast

ชีวิตในแบบฉบับของตัวเอง หิวก็กินง่วงก็นอน อยากทำอะไรก็ทำ เบียดเบียนสภาพแวดล้อมแต่พองาม ประสบการณ์แบ่งปันผู้คน มากบ้างน้อยบ้าง วัดกับร้านเหล้าถือเป็นสถานอโคจร ที่ต้องรักษาระยะห่าง คลิกดู👆