สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
พัฒนาการสังคมไทย
ดุจฤดี คงสุวรรณ์
สมัยลพบุรี
(พุทธศตวรรษที่ 16-19)
ลพบุรีหรือละโว้ค่อยๆเริ่มเข้ามาแทนที่อาณาจักรทวารวดี
แต่อาจไม่ได้มีการปกครองในรูปแบบอาณาจักรอย่างชัดเจนมากนัก
แต่ด้วยความที่มีการพบหลักฐานทางโบราณคดีอย่างหนาแน่นโดยเฉพาะโบราณสถานแล้วนั้น
อย่างน้อยก็แสดงให้เห็นว่า ในบริเวณภาคอีสาน ภาคตะวันออก และเลยเข้ามาถึงภาคกลาง
มีอิทธิพลของขอมเข้ามามีบทบาทอย่างชัดเจน ตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 1
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 และได้เริ่มจางหายไปหลังการสวรรคตของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
การเมืองและการปกครอง
อาจจะเป็นลักษณะของเมืองลูกหลวงโดยมีศูนย์กลางของอำนาจทางการเมืองอยู่ในเมืองพระนคร
ประเทศเขมร ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของวัฒนธรรมขอมในสมัยนั้น
ซึ่งกษัตริย์อาจจะส่งขุนนางหรือเชื้อพระวงศ์มาปกครองในเมืองบริเวณนี้
มีการทำพิธีกรรมเฉกเช่นอาณาจักรขอม
ศาสนาในช่วงนี้มีทั้งการนับถือพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์
โดยได้รับอิทธิพลมาจากกษัตริย์ของกัมพูชาในขณะนั้น
พบหลักฐานสนับสนุนจำนวนมากโดยเฉพาะศาสนาสถานประเภทปราสาทหิน เช่น ปราสาทหินพิมาย จ.
นครราชสีมา ปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ หรือศาลตาผาแดง จ.สุโขทัย
» สังคมไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของสังคมเมืองและสังคมชนบท
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคใต้
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคกลาง