สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
พัฒนาการสังคมไทย
ดุจฤดี คงสุวรรณ์
สมัยทวารวดี
(พุทธศตวรรษที่ 9-11 )
ก่อนที่จะก่อตัวขึ้นเป็นอาณาจักรทวารวดีนั้น
บริเวณภาคกลางของประเทศไทยหรือลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณเมืองอู่ทอง
อาจจะเคยเป็นอาณาจักรหรือส่วนหนึ่งของฟูนันมาก่อน
เนื่องจากพบหลักฐานว่ามีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นเมืองออกแก้ว
ศรีเกษตร และอินเดีย
ทวารวดีเดิมมีเชื่อเรียกในเอกสารจีนว่า โถ-โล-โป-ตี้
และปรากฏชื่อบนเหรียญเงินด้วยอักษรปัลวะว่า ศรีทวารวตี ศวรปุณยะ
มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16
โดยก่อนหน้านั้นเคยเป็นสังคมก่อนประวัติศาสตร์มาก่อนแต่เนื่องจากว่าในบริเวณภาคกลางตอนล่างเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่กว้างใหญ่และอาจเป็นเมืองที่อยู่ใกล้กับทะเลจึงมีทางเข้าออกต่อกับฝั่งทะเลโดยตรงได้
จึงเป็นบริเวณที่เหมาะสมแก่การเกษตรกรรมและเดินเรือค้าขาย
จึงมีการอพยพตั้งถิ่นฐานอย่างหนาแน่น ในบริเวณที่เกิดเป็นอารยธรรม
ทวารวดีนี้มีศูนย์กลางบริเวณภาคกลาง(อู่ทอง,นครปฐม,ละโว้)
และเผยแพร่อิทธิพลไปเป็นบริเวณกว้าง ไม่ว่าจะเป็นภาคอีสาน ภาคเหนือ หรือภาคใต้
ด้านการเมืองการปกครอง มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองรัฐทวารวดี
โดยนำแนวคิดเกี่ยวกับระบบกษัตริย์และรัฐของอินเดียมาเป็นแบบอย่าง
ที่ต้องการให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ซึ่งระบุอยู่ในมนูธรรมศาสตร์
ซึ่งเป็นกฎหมายของอินเดียที่เขียนขึ้นในช่วงต้นคริสตกาล
โดยกษัตริย์นั้นมีหน้าที่หลักคือปกป้องรัฐจากศัตรู
พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเช่นการพัฒนาระบบชลประทาน
โดยการขุดคูน้ำล้อมรอบเมืองและขุดคลองส่งน้ำเข้ามาหล่อเลี้ยงภายในตัวเมือง
มีระบบการสถาปนากษัตริย์ว่ามีฐานะอยู่เหนือมนุษย์ทั่วไป โดยผ่านพิธีราชสูยะ
ในภายหลังถูกยกเลิกไปและหันมาประกอบพิธีราชาภิเษกแทน
ด้านเศรษฐกิจ เป็นรัฐหนึ่งที่มีการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของรัฐได้เป็นผลสำเร็จ
โดยสามารถควบคุมและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของรัฐและสามารถกระตุ้นให้ประชาชนเพิ่มปริมาณการค้าขายกับรัฐอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีการใช้เหรียญกษาปณ์เป็นตัวกลางในการค้าขาย แต่เป็นเหรียญของอินเดีย
โดยกษัตริย์มีนโยบายที่จะหารายได้จากการค้าขายกับชุมชนภายนอก
จึงต้องกำหนดมาตรฐานเพื่อใช้ควบคุมการผลิตเหรียญโดยขอยืมสัญลักษณ์ของระบบกษัตริย์อินเดียมาใช้
นอกจากนั้นยังพบเหรียญที่เป็นสัญลักษณ์ชาติอื่นๆด้วย เช่น
เหรียญรูปสังข์เป็นแบบของมอญ เหรียญรูปพระอาทิตย์หรือศรีวัตสะเป็นของ ปยู
ดังนั้นจึงทำให้เห็นว่าการติดต่อค้าขายในสมัยนั้นไม่มีแต่เพียงอินเดียเท่านั้นหากแต่มีการค้าขายกับมอญ
ฟูนัน และปยูด้วย
ด้านศาสนา ชาวทวารวดีส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
โดยรับเอามาจากอินเดีย (ภาคใต้)
แต่ก็มีบางส่วนที่นับถือนิกายมหายานหรือศาสนาพราหมณ์
ซึ่งมีการพบหลักฐานทางศิลปกรรมที่สามารถย้อนไปได้ถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 8-10
โดยเฉพาะธรรมจักรและมีความเชื่อเรื่องการสะเดาะเคราะห์
» สังคมไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของสังคมเมืองและสังคมชนบท
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคใต้
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคกลาง