ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ลัทธิบริโภคนิยมและจิตวิญญาณของระบบทุนนิยม

ปริมณฑลทางเศรษฐกิจ แนวคิดอำนาจนำ

คำอธิบายนี้อาจใกล้เคียงกับแนวคิดเรื่องการครอบงำทางอุดมการณ์ (hegemony - อำนาจนำ)ในความหมายกรัมชี่ กล่าวคือ คุณสมบัติสำคัญของปริมณฑลทางเศรษฐกิจ ถูกยอมรับแล้วว่า เป็นความชอบธรรมเชิงโครงสร้างทางสังคม อาทิ หลักการของกลไกตลาด, ตลาดคือกลไกในจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ, ความจำเป็นในการแข่งขันของรัฐชาติ, การเข้าไปมีส่วนในกลไกตลาดของผู้เล่นทางเศรษฐกิจต่างๆ, การประเมินคุณค่าของตัวเองผ่านการบริโภค เป็นต้น แนวความคิดเหล่านี้แพร่กระจายเข้าไปใน กลไกทางสังคม และองค์กรทางเศรษฐกิจสังคม กล่าวได้ว่า มันเป็นองค์ประกอบที่กลายเป็นสามัญสำนึกซึ่งถูกโต้แย้งน้อยมาก (Beabout and Echeverria 2002; Morgan 2003)

ผู้มีรายได้สูง – ผู้มีรายได้ต่ำ ตัวอย่างในสหรัฐฯ

ในกรณีของสหรัฐฯ ความไม่เท่าเทียมของรายได้ระหว่างคนจนกับคนรวยเพิ่มมากขึ้น ความเหลื่อมล้ำนี้ พิจารณาได้จากปัจจัยต่างๆ ประกอบกัน อาทิ ความแตกต่างของเพศ ความแตกต่างของสีผิว ฯลฯ (Census 1998; Pryor 2002) ปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้ที่สะท้อนจากดัชนีชี้วัดการกระจายรายได้ GINI Index พบว่า ความเหลื่อมล้ำของรายได้มีแนวโน้มลดลงระหว่างช่วงปลายทศวรรษที่ 1940 ถึงปลายทศวรรษที่ 1960 แต่หลังจากนั้น ความเหลื่อมล้ำของรายได้เริ่มขยับสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง

หากพิจารณาส่วนแบ่งรายได้ครัวเรือนในสหรัฐฯ ในปี 2002 พบว่า กลุ่มผู้มีรายได้ชั้นบนสุด 20% ของชาวอเมริกันมีส่วนแบ่งของรายได้ประมาณครึ่งหนึ่งของรายได้รวมของประชากรสหรัฐฯ. ในส่วนของกลุ่มผู้มีรายได้ชั้นบนสุดเองก็มีส่วนแบ่งรายได้เพิ่มสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ กล่าวคือ จากปี 1967 ถึงปี 2002 กลุ่มผู้มีรายได้ชั้นบนสุด 20% ของประชากรมีส่วนแบ่งรายได้เพิ่มสูงขึ้น 13.4% ของรายได้รวม (aggregate income) และกลุ่มผู้มีรายได้ชั้นบนสุด 5% มีส่วนแบ่งรายได้เพิ่มขึ้นสูงกลุ่มอื่นๆ คือ 24 % แต่ในด้านกลับกัน กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำสุดกลับได้รับมีส่วนแบ่งรายได้ที่แย่ลง กล่าวคือ กลุ่มผู้มีรายได้ระดับล่างสุด 20% มีส่วนแบ่งรายได้ลดลง 12.5 %



สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำสุด หากมีการกระจายรายได้เพียงในสัดส่วนเพียงเล็กน้อย กลับไปที่คนกลุ่มนี้จะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เช่น หากกระจายรายได้ 5% ของรายได้ทั้งหมดของสหรัฐฯ ไปให้คนกลุ่มที่มีรายได้ต่ำสุดกลุ่มนี้ จะทำให้คนกลุ่มนี้จะมีรายได้เพิ่มขึ้นเกือบ 40%. ที่สำคัญ ในด้านของการบริโภค รายได้เกือบทั้งหมดของครัวเรือนกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำจะหมดไปกับไปกับการใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัย อาหาร และการคมนาคม (Passero 1996; Tan 2000) และแต่ละครัวเรือนมีความสามารถในด้านการออมน้อยลงมาก พวกเขาจึงมีทางเลือกสองแพร่งคือ การเพิ่มการใช้จ่ายของตนด้วยการกู้ยืมที่มีต้นทุนทางการเงินสูง หรือการลดการใช้จ่ายที่ต่ำอยู่แล้วให้ต่ำลงไปอีก

» หัวใจของระบบทุนนิยมในปัจจุบัน

» แนววิเคราะห์การบริโภค - หลังสมัยใหม่

» การบริโภคบ่งบอกตัวตน - จิตวิทยาของฝันกลางวัน

» องค์ประกอบทางวัฒนธรรมของลัทธิบริโภคนิยม

» แนวโน้มการบริโภค และกรณีตัวอย่างสหรัฐฯ

» ปริมณฑลทางเศรษฐกิจ แนวคิดอำนาจนำ

» ยุทธศาสตร์ทางการตลาดและการโฆษณา

» คนยากจนบริโภคสินค้าในด้านใด

» ระบบทุนนิยมเปลี่ยนจากแบบแผนอุตสาหกรรมไปสู่ภาคการเงิน

» ทิวทัศน์เศรษฐกิจ ภายใต้ระบบหลังฟอร์ด

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย