ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

การอุบัติขึ้นและลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา

ความสำคัญและลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา

ความสำคัญของพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในท่ามกลางลัทธิศาสนาทั้งหลายในอินเดีย ซึ่งมีทั้งอำนาจและอิทธิพล เป็นการยากที่พระพุทธศาสนาจะอุบัติขึ้นและแผ่กระจายไปให้กว้างขวาง อยู่กับชีวิตจิตใจของคนเป็นจำนวนมาก เพราะชีวิตจิตใจของคนอินเดียในสมัยนั้นมีแบบแผนการปฏิบัติตามลัทธิศาสนาต่างๆ ที่มีมาก่อนแล้วนั้น จึงอาศัยบุคลิกภาพอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า กับคำสอนอันประกอบไปด้วยเหตุผล พระพุทธศาสนาจึงเป็นปึกแผ่นเจริญก้าวหน้ามาด้วยดี

ลักษณะหลัก 3 ข้อใหญ่ ของพระพุทธศาสนาคือ

  1. เป็นคำสอนโดยการปฏิรูป เช่นว่า การอาบน้ำในแม่น้ำคงคา เป็นการล้างบาป พระองค์ได้ปฏิรูปให้เป็นการทำสุจริต ทาง กาย วาจา ใจ
  2. เป็นคำสอนโดยการปฏิวัติ เช่น ว่าศาสนาอื่นให้เพ่งอาตมัน พระองค์สอนตรงกันข้ามคือสอนหลักอนัตตา
  3. สอนโดยตั้งหลักธรรมขึ้นมาใหม่ เช่น หลักธรรมอริยสัจ 4

ลักษณะศาสนาพุทธอีกอย่างหนึ่ง คือ

  1. ไม่เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก โลกปรากฏขึ้นตามธรรมชาติ กรรมเป็นผู้สร้างสรรค์สรรพสัตว์ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
  2. คำสอนในพุทธศาสนาไม่ผูกขาดโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง สอนให้พึ่งตนเอง
  3. พระพุทธศาสนาปฏิเสธการนับถือชั้นวรรณะ ให้สิทธิเสรีภาพแก่ผู้นับถือทุกคน
  4. พระพุทธศาสนาสอนให้ดำเนินชีวิตตามมัชฌิมปฏิปทาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา
  5. พระพุทธศาสนาปฏิเสธการบูชายัญ ซึ่งเป็นการเบียดเบียนคนอื่น ทำคนอื่นให้ได้รับทุกข์ทรมาน

ลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา

  1. พระพุทธศาสนาไม่ได้มีรากฐานมาจากฤทธิ์เดช ปาฏิหาริย์ แต่เป็นศาสนาที่มีเหตุผลและคุณงามความดีที่เห็นได้จริง
  2. พระพุทธศาสนาเป็นตัวอย่างประชาธิปไตยที่เก่าแก่ที่สุดของโลก มีหลักการและพิธีการที่ทันสมัยมาถึงปัจจุบัน
  3. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน (ภายในให้เป็นอิสระจากกิเลส ภายนอกให้เลิกทาส และห้ามไม่ให้ภิกษุมีทาสไว้รับใช้)
  4. พระพุทธศาสนาสอนไม่ให้ดูหมิ่นเหยียดหยามกันเพราะเรื่องวรรณะ เพราะเรื่องชาติวงศ์ตระกูล ให้ถือเรื่องศีลธรรมเป็นเรื่องวัดคุณค่าของคน
  5. พระพุทธศาสนาสอนให้ปฏิวัติเรื่องการทำบุญจากเรื่องการฆ่าสัตว์หรือมนุษย์เพื่อบูชายัญ มาเป็นการให้การสงเคราะห์คนอื่น
  6. พระพุทธศาสนาสอนให้กล้าเผชิญความจริง เช่น สอนให้รู้จักการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย และนำเอาประโยชน์ จากการศึกษาเรื่องนี้มาใช้แก้ไขความไม่แน่นอนของร่างกาย
  7. พระพุทธศาสนาสอนให้แก้ปัญหาความเสื่อมทางศีลธรรมโดยไม่ละเลยต่อปัญหาทางเศรษฐกิจ
  8. พระพุทธศาสนาสอนเน้นให้ถือเรื่องศีลธรรมความถูกต้องเป็นหลัก
  9. พระพุทธศาสนาสอนเน้นเรื่องการใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
  10. พระพุทธศาสนาสอนให้พึ่งตนเอง เชื่อกฎแห่งกรรม
  11. พระพุทธศาสนาปฏิเสธตรรกศาสตร์ ให้ถือคุณค่าอื่นที่สูงกว่า
  12. พระพุทธศาสนาสอนให้ทำความดีเพื่อความดี
  13. พระพุทธศาสนามีหลักเกณฑ์และมีคำสอนที่เป็นวิทยาศาสตร์
  14. พระพุทธศาสนาสอนให้พึ่งตนเอง ไม่ให้รอแต่พึ่งคนอื่น
  15. พระพุทธศาสนาสอนให้มีความขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้าน
  16. พระพุทธศาสนาสอนให้มีเมตตากรุณาต่อผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา
  17. พระพุทธศาสนาสอนทางสายกลาง ไม่ทรมานตนเองให้เดือดร้อนและไม่ปล่อยตัวเองให้หลงระเริงเดินไป (ไม่ประมาท)
  18. พระพุทธศาสนาสอนให้รับฟังความคิดเห็นคนอื่นบ้าง ไม่ดื้อรั้น หัวแข็ง (ประชาธิปไตย)
  19. พระพุทธศาสนาสอนให้รักษา กาย วาจา ให้เรียบร้อย (ให้มีศีล)
  20. พระพุทธศาสนาสอนเน้นให้กตัญญูกตเวทิตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สอนไม่ให้เห็นคนอื่น ศาสนาอื่นเป็นศัตรู ฯลฯ

หลังจากตรัสรู้แล้วพระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาโดยถือเป็นภารกิจหลักซึ่งเรียกว่าพุทธกิจมี 3 อย่าง คือ

  1. โลกตัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลกซึ่งเป็นพุทธกิจประจำวัน 5 เวลา คือ (1) บุพพันเห บิณฑปาตัญจ เวลาเช้าออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ (2) สายัญเห ธัมมเทสนัง เวลาเย็นแก่ผู้ใคร่ฟังธรรม (3) ปโทเส ภิกขุโอวาทัง เวลาค่ำทรงโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย (4) อัฑฒรัตเต เทวปัญหนัง เวลาเที่ยงคืนทรงแสดงธรรมและตอบปัญหาแก่เทวดาทั้งหลาย (5) ปัจจุสเสว คเต กาเล ภัพพาภัพเพ วิโลกนัง เวลาใกล้รุ่งทรงตรวจดูสัตว์โลกผู้มีอุปนิสัยจะรู้ธรรมได้
  2. ญาตัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติ เช่น ให้เข้ามาบวชได้หลังจากเป็นเดียรถีย์มาก่อนและทรงห้ามญาติเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายจะทำสงครามกัน
  3. พุทธัถะจริยา ทรงทำหน้าที่ในฐานะพระพุทธเจ้า เช่น ทรงวางหลักสิกขาบท เพื่อควบคุมความประพฤติของผู้เข้ามาบวช

สถานที่เสด็จประทับจำพรรษาในที่ต่างๆ ของพระพุทธเจ้าตามคัมภีร์มโรถปูรณีดังนี้

  • พรรษาที่ 1 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
  • พรรษาที่ 2-4 ที่กรุงราชคฤห์
  • พรรษาที่ 5 ที่กรุงเวสาลี
  • พรรษาที่ 6 ที่มังกุลบรรพต
  • พรรษาที่ 7 ที่ดาวดึงส์
  • พรรษาที่ 8 ที่เภสกลาวันใกล้สุงมารคีรี
  • พรรษาที่ 9 ที่กรุงโกสัมพี
  • พรรษาที่ 10 ที่ป่าปาลิเลยกะ
  • พรรษาที่ 11 ที่กรุงนาฬา
  • พรรษาที่ 12 ที่เมืองเวรัญชา
  • พรรษาที่ 13 ที่จาลิยบรรพต
  • พรรษาที่ 14 ที่เชตะวัน
  • พรรษาที่ 15 ที่กรุงกบิลพัสดุ์
  • พรรษาที่ 16 ที่กรุงอาฬวี
  • พรรษาที 17 ที่กรุงราชคฤห์
  • พรรษาที่ 18 ที่จาลิยบรรพต
  • พรรษาที่ 20 ที่กรุงราชคฤห์
  • พรรษาที่ 21 – 45 ที่เชตะวันและกรุงสาวัตถี

สมัยก่อนอารยันเข้าสู่อินเดีย
สมัยอารยันเข้าสู่ชมพูทวีป
สมัยพระเวท
สมัยพราหมณ์
สมัยอุปนิษัท
การอุบัติขึ้นและพัฒนาการแห่งพระพุทธศาสนา
ความสำคัญและลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา
ชมพูทวีปในอดีต
 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย