สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
จักรวรรดิไบเซ็นไทน์ (Byzantine)
ไบเซ็นไทน์เดิมเป็นดินแดนอาณานิคมของกรีก เรียกกันว่า ไบเซส ( Byzas) ต่อมาเมื่อ
ค.ศ.330 จักรพรรดิคอนสแตนตินได้ใช้เป็นฐานอำนาจสำรองของกรุงโรม
ในช่วงสุดท้ายของจักรวรรดิโรมัน ซึ่งถูกคุกคามโดยอนารยชนอย่างต่อเนื่อง
และเมื่อจักรวรรดิโรมันสิ้นสุดยุคแห่งความยิ่งใหญ่ด้วยฝีมือของพวกชนเผ่าป่าเถื่อนจากดินแดนทางเหนือที่ยกกำลังมายึดครองกรุงโรมในค.ศ.
476 เมืองไบเซ็นไทน์จึงเป็นเมืองหลวงโดยสมบูรณ์ของอาณาจักรโรมันตะวันออก
สืบทอดอารยธรรมกรีก-โรมันโบราณ ภาษาราชการใช้ภาษาละตินเป็นหลัก
ทำให้นักปราชญ์ในดินแดนต่างๆ
ที่ยังชื่นชมกับความรุ่งโรจย์ของจักรวรรดิโรมันและนับถือศาสนาคริสต์
ถือว่าภาษาละตินเป็นภาษาสำคัญเหนือภาษาท้องถิ่นของตน
ผู้คนในโลกยุคนั้นเรียนเมืองหลวงแห่งนี้ว่า เมืองแห่งคอนสแตนติโนเปิล (The City of
Constantine) หรือ คอนสแตนติโนเปิล
ปัจจุบันนี้ คอนสแตนติโนเปิลคือ อิสตันบูล เมืองหลวงของประเทศตุรกี
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ในช่วงสงครามเย็น
เมืองอิสตันบูลจัดว่าเป็นเขตที่สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต แข่งขันกันสืบราชการลับ
เพื่อขยายอิทธิพลทางการเมืองมากที่สุดเขตหนึ่ง เพราะเป็นจุดยุทธศาสตร์
คือทางออกทางทะเลด้านใต้ของสหภาพ โซเวียต
ทั้งคุมเส้นทางระหว่างช่องแคบบอสฟอร์รัสและดาดาร์แนล
ที่เชื่อมทะเลดำและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
สีสรรของเมืองนี้เริ่มจากความหลากหลายของประชากรทั้งยากดีมีจน
ไม่มีเขตแดนเฉพาะสำหรับผู้คนที่มีฐานะต่างกัน
ต่างรวมอยู่ในเมืองขนาดใหญ่รวมแล้วนับแสนคน การสร้างบ้านสมัยใหม่ของเมืองนี้
นิยมทำระเบียงยื่นออกมา ทำให้มองเห็นกิจกรรมต่างๆ ของเพื่อนบ้าน
จึงมีกฏหมายบังคับเรื่องความสูงของระเบียงและห้ามออกไปยื่นเกินสามเมตร
เพราะจะใกล้ชิดเพื่อนบ้านมากไป ทั้งยังควบคุมการระบายน้ำเสียจากบ้านเรือน
ต้องมีท่อระบายลงทะเล (มีแนวคิดเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
แต่ยังอยู่เฉพาะในวงแคบ-ผู้เรียบเรียง )
การฝังศพในเขตเมืองเป็นเรื่องผิดกฎหมายร้ายแรง
ยกเว้นได้รับพระราชานุญาตเป็นการเฉพาะจากองค์จักพรรดิ
และที่ก้าวหน้าด้านสุขอนามัยอีกเรื่องหนึ่ง คือ ในแต่ละเขต
ต้องมีเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์
ความสดชื่นของเมืองอยู่ที่สวนที่ตกแต่งงดงามและลานอเนกประสงค์ที่เรียกว่า ฟอรัม (
forums ) จะพบเห็นโบสถ์ วิหาร โรงพยาบาลและโรงเลี้ยงเด็กกำพร้าอยู่ทั่วไป แต่ละถนน
มีย่านขายสินค้าเป็นหมวดหมู่ เช่น ช่างทองตั้งร้านอยู่ใกล้ช่างเงิน
หรือผ้าไหมกับสินค้าประเภทผ้าอื่น ๆ ก็จำหน่ายในบริเวณเดียวกัน
เหมือนกับสินค้าไม้ก็จำหน่ายใกล้เครื่องเรือน เป็นต้น
ถนนขนาดใหญ่ที่น่าตื่นตาตื่นใจมากที่สุด คือ เมส (Mese)
เป็นเส้นทางยาวถึงสามกิโลเมตร สำหรับขบวนเกียรติยศของจักรพรรดิ
มุ่งสู่ประตูทองด้านตะวันออก แต่สถาปัตยกรรมที่อลังการมากที่สุดคือ
พระราชวังยังเป็นที่นิยมศักดิ์สิทธืของจักรพรรดิ
ที่มีการประดับประดาด้วยทองและพลอยล้ำค่าหลากหลาย ติด ๆ กันเป็นโบสถ์ฮาเจียโซเฟีย
หรือวิหารแห่งปัญญา ( The Church of Hagia Sophia or Holy Wisdom )
และสถานที่ที่ขาดไม่ได้คือ สนามกีฬา ( The Hippodrome ) จุผู้คนกว่า 60,000 คน
สำหรับแข่งรถม้าศึก จัดการต่อสู้ของกลาดิเอเตอร์
หรือปรับเปลี่ยนเป็นสถานที่จัดพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญ รัฐพิธีขององค์จักรพรรดิ
หรือแม้แต่การประหารบุคคลสำคัญ เป็นต้น
เศรษฐกิจของไบเซ็นไทน์รุ่งเรืองมาก
จนกระทั่งเงินตราของไบเซ็นไทน์เป็นที่ยอมรับของดินแดนต่าง ๆ
อย่างกว้างขวางในสมัยนั้น เพราะเป็นศูนย์รวมของสินค้าจากตะวันออกและตะวันตก
ขณะที่ท่าเรือแหลมฮอร์นคับคั่งด้วยสินค้าสมุนไพร ของป่าจากอินโดจีน
พริกไทยจากหมู่เกาะมาลาบาร์ ทองแดงจากอินเดีย เพชรพลอยจากลังกา
นำมาแลกเปลี่ยนกับสินค้าของไบเซ็นไทน์ เช่น อำพัน หนังสัตว์ โลหะ
และทาสจากดินแดนทางเหนือ
เรื่องที่น่าสังเกตอีกประเด็นหนึ่งคือ
ชนชั้นนำของจักรวรรดิไบเซ็นไทน์นิยมผ้าไหมและผ้าทอลายชนิดต่าง ๆ
ที่ช่างได้แสดงฝีมือไว้อย่างงดงามตัวอย่างเช่น ชุดและผ้าคลุมสีม่วงขององค์จักรพรรดิ
สำหรับทรงสวมในรัฐพิธี หรือผ้าคลุมศพผู้ตายที่เป็นชนชั้นสูง เป็นค้น
การค้าขายกับจีนด้วยเส้นทางไหมน่าจะมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมการแต่งกายด้วยผ้าไหมหรือไม่ก็คงมีการลักลอบนำตัวไหมและวิธีการทอออกมาที่ไบเซ็นไทน์ในราวคริสต์ศตวรรษที่
6 โดยพวกมิชันนารีที่เดินทางไปจีน
แล้วช่างฝีมือของไบเซ็นไทน์จึงได้พัฒนาเป็นลักษณะเฉพาะตัวด้วย
จนเป็นที่นิยมตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 และ 10 เป็นต้นมา
การแต่งกายด้วยผ้าไหมถือเป็นเรื่องที่
ชนชั้นสูงของไบเซ็นไทน์ภาคภูมิใจและเป็นที่ชื่นชมของผู้พบเห็นดังเช่นที่ปรากฏในบันทึกของเสปนเรื่องการรับขบวนราชฑูตจากไบเซ็นไทน์
ซึ่งใส่ชุดผ้าไหมว่า All the people look like princes. Everybody is dressed in
silk, purple and gold.
จักรพรรดิไบเซ็นไทน์เป็นผู้นำทั้งด่านอษราจักรและมีอำนาจแต่งตั้งพระสังฆราชหรือผู้นำทางศาสนาคริสต์นิกายกรีกอออโธดอกซ์
( Greek Orthodox) ทั้งยังนำรูปเคารพ ( iconoclasts ) มาใช้บูชาอย่างแพร่หลาย
ด้วยการใช้รูปแบบศิลปะเฉพาะตัวเรียกกันว่า the Macedonian Renaissance )
ผสมผสานระหว่างรูปแบบของตะวันออก ตะวันตกและกรีก
ซึ่งยังเป็นที่นิยมในศาสนสถานในซีเรียและ คาบสมุทรอนาโตเลีย
เน้นการใช้ปูนเปียกหรือเฟรสโกและโมเสค ( mosaics )
งานศิลปะที่งดงามที่สุดปรากฏในวิหาร สำคัญที่สุด คือ วิหารเฮเจีย โซเฟีย
แห่งคอนสแตนติโนเปิล
ผู้นำทางศาสนาที่คอมสแตนติโนเปิลเรียกว่า พระสังฆราช( the patriarch
)และพระชั้นผู้ใหญ่ (the bishops ) แต่อำนาจของศาสนจักรยังเป็นรองจากองค์จักรพรรดิ
ทั้งยังมีการแข่งขันระหว่างคริสต์นิกายโรมันคาธอลิคทางตะวันตกกับกรีกออธอดอกซ์ทางตะวันออก
เช่น การช่วงชิงการเผยแผ่ศาสนาในหมู่ชนเผ่าสลาฟ ( slaves ) และที่สำคัญคือ
ความพยายามปกป้องดินแดนปาเลสไตน์จากมุสลิม
แต่ไม่สำเร็จจึงต้องขอความช่วยเหลือไปยังองค์สันตปะปาแห่งโรมันคาธอลิค
ให้ส่งกองทัพคริสเตียนมาขับไล่มุสลิม จนนำไปสู่สงครามครูเสดตั้งแต่ ค.ศ. 1096
1291 ในสงครามครูเสดครั้งที่ 4 ค.ศ. 1204
กองทัพครูเสดได้เข้าปล้นกรุงคอนสแตนติโนเปิลเสียเอง ทำให้เสียหาย
จนเป็นเหตุสู่ความเสื่อมโทรมต่อเนื่องและต้องตกเป็นของกองทัพมุสลิมพร้อมกับความพ่ายแพ้ในสงครามครูเสด
นับเป็นการสิ้นสุดความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโรมันตะวันออกอย่างแท้จริงในค.ศ. 1453