วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
หลุมดำ
ทฤษฎีและการค้นพบต่างๆทางวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นกฎแรงดึงดูดระหว่างมวล
การค้นพบ DNA แบบจำลองอะตอม เรื่อยมาจนถึงการประดิษฐ์ดาวเทียมหรือแม้แต่คอมพิวเตอร์
ล้วนแต่ทำให้มนุษย์เจริญก้าวหน้าอย่างมาก
จนบางครั้งทำให้เผลอคิดว่าเราเข้าใจทุกสิ่งในธรรมขาติ
แต่ในความเป็นจริงนั้นความรู้และความเข้าใจที่เรามีต่อเอกภพรอบตัวเรานั้นยังน้อยนิดนัก
ธรรมชาติยังมีเรื่องลึกลับอีกมากที่รอให้มนุษย์ออกค้นหา
ในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา
นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างทฤษฏีขึ้นเพื่อทำนายและอธิบายธรรมชาติ
ในบรรดาทฤษฎีทั้งหมดนั้น ที่น่ามหัศจรรย์ที่สุดคงจะเป็นคำทำนาย
การมีอยู่ของวัตถุลึกลับ ที่รู้จักกันในนาม "หลุมดำ" หรือ "Black Hole"
หลุมดำ
คือหลุมในอวกาศที่เป็นสุสานของทุกๆสิ่งที่หลงเข้าไปใกล้รัศมีแรงโน้มถ่วงของมัน
ไม่มีสิ่งใดในจักรวาลที่จะหนีพ้นแรงดึงดูดมหาศาลของมันได้แม้แต่แสงสว่าง
คำเล่าขานเกี่ยวกับเรื่องราวอันมหัศจรรย์ของหลุมดำทำให้ผู้คนทั่วไปยากที่จะเชื่อว่ามันมีอยู่จริงในธรรมชาติ
ส่วนใหญ่มักเชื่อว่าเป็นเพียงนิยายวิทยาศาสตร์ หรือเป็นจินตนาการที่ไม่เป็นจริง
แต่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างพากันเชื่อมั่นว่าหลุมดำมีอยู่จริง
ไม่ใช่เป็นเพียงสมการทางคณิตศาสตร์
ยิ่งไปกว่านั้นมันยังอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่หลายๆคนคิด
คำทำนายจากทฤษฎีฟิสิกส์ขั้นสูง ทำนายว่า
หลุมดำไม่ได้เป็นเพียงแค่ดาวยักษ์สีดำที่คอยจ้องจะกลืนกินทุกสิ่งที่เข้าใกล้เท่านั้น
แต่ยังมีหลุมดำขนาดจิ๋ว ที่เล็กจนสามารถซ่อนในวัตถุต่างๆในโลกของเรา
หรือแม้แต่ในตัวของคุณเอง ในเมื่อหลุมดำอยู่ใกล้ตัวของเรามากขนาดนี้
คุณจะไม่ลองทำความรู้จักมันให้มากกว่านี้หรือ
ตามทฤษฎีฟิสิกส์ หลุมดำ หรือ (Black Hole)
นั้นก็เปรียบได้กับดาวฤกษ์ที่ตายดับแล้วดาวบนฝากฟ้ามีเกิดมีตายด้วยหรือ
อย่ากระนั้นเรามารับรู้ชะตาชีวิตของดวงดาวกันเสียหน่อย
ดาวที่จะกลายเป็นหลุมดำนั้นคือ "ดาวฤกษ์"
หรือดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง เช่น
ดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นก้อนก๊าซร้อนๆที่ลอยเคว้งคว้างอยู่ในอวกาศ
โดยมีไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นองค์ประกอบหลักพลังงานที่เราได้รับจากดวงอาทิตย์นั้น
เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ในแกนกลางของดาวและปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ว่านี้นอกจากจะให้แสงสว่างแล้ว
ยังทำให้เกิดแรงดันมหาศาลจากภายในดาวซึ่งจะทำหน้าที่พยุงไม่ให้ดาวทั้งดวงเกิดการยุบตัวลง
เพราะว่าตามธรรมชาติแล้ววัตถุทุกชนิดจะมีแรงดึงดูดระหว่างกัน
แรงดึงดูดนี้ขึ้นกับมวลของวัตถุนั้นๆ ยิ่งมีมวลมากแรงก็จะยิ่งมาก
ดวงดาวต่างๆที่เราเห็นบนท้องฟ้านั้น มีมวลมากมายมหาศาล
แต่ละอนุแต่ละโมเลกุลของมันก็จะดึงดูดกันและกัน ตามกฏแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน
แรงดึงดูดที่ว่านี้มีความแรงมหาศาล
หากว่าไม่มีแรงต้านจากปฏิกิริยานิวเคลียร์แล้วดาวทั้งดวง
ย่อมยุบตัวลงเหลือขนาดนิดเดียว
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาปรากฏการณ์การยุบตัวของดวงดาวทั้งในทางทฤษฏี
และการจำลองโดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computer simulation) พวกเขาพบว่าในดาวที่มีขนาดใหญ่
เมื่อเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่มีอยู่ถูกเผาไหม้หมดไปดาวจะเกิดการระเบิดอย่างรุนแรงที่เรียกว่า
"Supernova" ผิวนอกของดาวจะระเบิดตัวกระจายอยู่รอบๆ
ส่วนแกนกลางของดาวจะยุบตัวลงอย่างรวดเร็ว
การยุบตัวนี้อาจจะทำให้ดาวกลายสภาพเป็นดาวแคระขาว ดาวนิวตรอน หรือหลุมดำ
จะเห็นได้ว่าขอบฟ้าเหตุการณ์นั้นเป็นเสมือนจุด " ไปไม่กลับ " คือ
ถ้าเราเกิดหลงเข้าไปใกล้เจ้าหลุมดำเกินกว่าขอบฟ้าเหตุการณ์แล้วล่ะก็
เราหมดสิทธิ์ที่จะกลับออกมา คำถามก็คือถ้าเกิดตกลงไปเกินกว่าจุด "ไปไม่กลับ"
แล้วผลจะเป็นอย่างไร ตามทฤษฎีแล้วภายในหลุมดำแรงดึงดูดจะมีค่าเพิ่มขึ้นมหาศาล
โดยเฉพาะที่จุดศูนย์กลางของหลุมดำนั้น
ทฤษฎีทำนายไว้ว่ามีแรงดึงดูดมากมายจนไม่สามารถวัดได้ หรือที่เรียกว่า
เป็นค่าอนันต์เลยทีเดียว หลายท่านอาจจะยังนึกภาพไม่ออกว่า
แรงดึงดูดมากมหาศาลเป็นอนันต์นั้น มันมากขนาดไหนกันแน่
จะลองยกตัวอย่างในกรณีดาวที่มีมวลมากๆ เช่น ดาวนิวตรอน แรงดึงดูดของมัน
สามารถฉีกเราให้เป็นชิ้นๆได้ทีเดียว ที่ใช้คำว่า "ฉีก"
ก็เพราะว่าเราจะรู้สึกเหมือนโดนฉีกให้ขาดออกจากกันจริงๆขนาดความแรงของแรงโน้มถ่วงนั้น
ขึ้นอยู่กับระยะห่างจากจุดศูนย์กลางดวงดาว คือยิ่งใกล้ดาวมากแรงดึงดูดก็จะยิ่งมาก
สำหรับวัตถุใดๆก็ตามที่อยู่ให้อิทธิพลของแรงชนิดนี้
ส่วนของวัตถุด้านอยู่ใกล้จุดศูนย์กลางของดาวมากกว่าจะได้รับอิทธิพลของแรงดึงดูดมากกว่าด้านที่อยู่ไกล
ออกไปตาม กฎข้อที่สองของนิวตัน แรงที่กระทำกับวัตถุแปรผันตรงกับความเร่ง
ดังนั้นเมื่อแรงที่กระทำต่อทั้งสองด้านไม่เท่ากัน ความเร็วก็ย่อมไม่เท่ากัน
สมมุติว่าตัวของเราส่วนล่างของเราเกิดวิ่งเร็วกว่าส่วนบนขึ้นมา จะเกิดอะไรขึ้น?
ผลก็คือตัวเราก็จะถูกฉีกขาดออกเป็นสองท่อนนั่นเอง ปรากฏการณ์ดังกล่าวเรียกว่า Tidal
force ที่เรียกว่า Tidal ก็เพราะว่าคำอธิบายเดียวกันสามารถนำไปอธิบายได้ว่า
ทำไมน้ำขึ้นน้ำลง ถึง เกิดขึ้นวันละสองครั้ง
แรงดึงดูดอันมหาศาลของหลุมดำนั้น ทำให้การสังเกตและตรวจพบหลุมดำ
ทำได้ยากลำบากมาก เพราะในทางดาราศาสตร์นั้น
เราสังเกตดวงดาวและวัตถุท้องฟ้าโดยการตรวจวัดแสงสว่างที่สะท้อน
หรือเกิดมาจากวัตถุเหล่านั้น
การจะค้นหาวัตถุที่ไม่มีแสงสว่างหลุดออกอย่างในกรณีของหลุมดำนั้น
ยากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทรเสียอีก มาให้เห็นในท้องฟ้าที่กว้างใหญ่มหาศาลนั้น
ถ้าเช่นนั้นเราจะค้นหาเจ้าหลุมดำได้อย่างไร ?
นักดาราศาสตร์เขาหาเจ้าหลุมดำโดยใช้วิธีอ้อมๆ
ซึ่งพอจะอธิบายอย่างคร่าวๆได้ดังต่อไปนี้
ดาวยักษ์ที่ไร้คู่ กับ Accretion Disc
เมื่อดาวเกิดการยุบตัวลงเป็นหลุมดำ
ผู้สังเกตภายนอกขอบฟ้าเหตุการณ์จะรู้สึกว่าแรงโน้มถ่วงของดาวยังคงเท่ากับตอนก่อนที่จะเกิดการยุบตัว
ดังนั้นถ้ามีวัตถุที่โคจรรอบๆ ดาวนี้ก่อนที่มันจะกลายเป็นหลุมดำ
หลังจากที่ดาวยุบตัววัตถุนั้นก็ควรจะยังคงรักษาวงโคจรเดิมอยู่
แต่เจ้าวัตถุที่ว่านั่นจะปรากฏเสมือนว่า "มันโคจรรอบๆความว่างเปล่า"
นักดาราศาสตร์ได้ตรวจพบวัตถุที่มีวงโคจรประหลาดๆดังกล่าวหลายชิ้น
และมีข้อมูลพอที่จะทำให้เชื่อว่า มันกำลังโคจรรอบหลุมดำอยู่
นักดาราศาสตร์เชื่อว่าโอกาสที่จะสังเกตพบหลุมดำมากที่สุด ในระบบดาวคู่ หรือ
Binary Star ซึ่งเป็นระบบที่มีดาวขนาดใหญ่สองดวงที่อยู่ใกล้กัน
จนแรงโน้มถ่วงของดาวทั้งคู่ดึงดูดให้มันโคจรรอบกัน ในอวกาศนั้นมีดาวที่โคจรเป็น
Binary Star อยู่หลายคู่ ถ้าเกิดว่าดาวดวงหนึ่งใน Binary Star นั้น
เกิดยุบตัวกลายเป็นหลุมดำขึ้นมา ดาวดวงที่เหลือก็จะ เหมือนโคจรรอบดาวที่มองไม่เห็น
หรือกลายเป็นดาวไร้คู่ไป ในบางกรณีหลุมดำอาจจะดูดกลุ่มก๊าซ หรืออนุภาคที่อยู่รอบๆ
ตัวมัน ซึ่งอาจจะมาจากคู่ของมันในBinary Star ก็ได้
กลุ่มก๊าซเหล่านั้นจะถูกแรงดึงดูดมหาศาลของหลุมดำดึงให้วิ่งเข้าสู่ขอบฟ้าเหตุการณ์ด้วยความเร็วสูงมาก
จนก๊าซเหล่านั้นมีความร้อนสูงและสามารถแผ่รังสีเอ็กซ์ ( X-ray )ซึ่งเรียกว่า
ปรากฎการณ์ Accretion Disc นักดาราศาสตร์สามารถ ตรวจวัดรังสีเอ็กซ์ จาก Accretion
Disc โดยใช้ดาวเทียม ที่โคจรอยู่รอบโลก
Gravitational lens
วิธีการค้นหาหลุมดำอ้อมๆ
อีกวิธีหนึ่งคือการสังเกตปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Gravitational lens
ตามทฤษฎีสัมพัทธ์ภาพทั่วไปของไอน์สไตน์นั้น
แรงโน้มถ่วงสามารถเปลี่ยนแปลงเส้นทางเดินของแสงได้
เนื่องจากแรงโน้มถ่วงมีอิทธิพลต่ออนุภาคทุกชนิดที่มีมวลหรือพลังงาน
ถึงแม้ว่าแสงซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะไม่มีมวล
แต่มันมีพลังงานซึ้งขึ้นกับความถี่ของคลื่น
นักดาราศาสตร์ได้ใช้ความรู้นี้มาประยุกต์ใช้ในการค้นหาหลุมดำ
โดยการตรวจวัดแสงที่มาจากดวงดาวไกลๆ
ถ้าบังเอิญว่าเกิดมีหลุมดำอยู่ตรงกลางระหว่างดาวดวงนั้นกับโลกแล้ว
แสงส่วนหนึ่งจากดาวจะถูกโฟกัสโดยแรงโน้มถ่วงของหลุมดำ
ทำให้เราสามารถสังเกตเห็นภาพเสมือนของดาวได้