วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
อุบัติเหตุ
กว่า 35 ปี ที่พลังงานนิวเคลียร์ถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า มีอุบัติเหตุร้ายแรงเกิดขึ้น 2
ครั้ง ครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อปี 2522
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทรีไมล์ไอส์แลนด์ในสหรัฐอเมริกา ไม่มีรังสีรั่วไหล
และไม่มีผู้เสียชีวิต หรือได้รับความบาดเจ็บใด ๆ
ระบบควบคุมความปลอดภัยอัตโนมัติทำงานตามที่ได้รับการออกแบบไว้ ครั้งที่สอง
เกิดขึ้นเมื่อปี 2529 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ในรัฐยูเครน
ของอดีตสหภาพโซเวียต ครั้งนี้มีรังสีรั่วไหล และมีผู้เสียชีวิต 31 คน บาดเจ็บ 203
คน
เป็นที่น่าสังเกตว่า
การออกแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลแตกต่างจากโรงไฟฟ้าในส่วนอื่น ๆ ของโลก
โดยเฉพาะในเรื่องของประสิทธิภาพการเพิ่มปฏิกิริยานิวเคลียร์
และไม่มีอาคารคลุมเตาปฏิกรณ์
นอกจากนี้สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุก็คือ
เจ้าหน้าที่ควบคุมปลดระบบควบคุมอัตโนมัติ และระบบความปลอดภัยบางส่วนออก
สำหรับข่าวคราวอื่น ๆ เป็นเหตุขัดข้องธรรมดาของโรงไฟฟ้า
ความต้องการใช้พลังงานของประเทศไทยสูงมากขึ้นตามลำดับ
ดังนั้นจะต้องจัดหามาไว้ใช้ให้ พอเพียง มิฉะนั้นแล้วเศรษฐกิจจะเกิดภาวะชะงักงัน
สิ่งสำคัญก็คือ จะต้องใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างหลายปี
และโรงไฟฟ้าเก่าก็ต้องปลดออกจากระบบเมื่อหมดอายุใช้งาน
- การพัฒนาแหล่งน้ำ นอกจากจะให้ประโยชน์ทางด้านชลประทานแล้ว ยังได้พลังงานไฟฟ้าเป็นผลพลอยได้ อีกด้วย แต่การดำเนินงานมีอุปสรรคและปัญหามากมาย
- พลังงานทดแทนต่าง ๆ เช่น แสงอาทิตย์ ลม ความร้อนใต้พิภพ ก็มีขีดจำกัดในการพัฒนา
- เชื้อเพลิงต่าง ๆ เช่น น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น รวมกันแล้วภายในประเทศมีไม่พอเพียง ไทยจำเป็นจะต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาแพงขึ้นเรื่อย ๆ และราคาเปลี่ยนแปลงตามสภาวะโลก และไม่ช้าไม่นานเชื้อเพลิงเหล่านี้ คงต้องหมดไปจากโลกอย่างแน่นอน ดังนั้น พลังงานจากนิวเคลียร์ เป็นทางเลือกทางหนึ่งสำหรับประเทศไทยในอนาคต
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เกซามอันซิตท์ (Gesamtansicht) ประเทศเยอรมัน
ภาพจำลองโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ประเทศเยอรมัน
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กัตเตอนง (Cattenom) ประเทศฝรังเศส
ภายในห้องควบคุมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โตไก (Tokai) ประเทศญี่ปุ่น
ความหมายของปรมาณู หรืออะตอม (atom)
รังสี (radiation)
พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานปรมาณู
รำลึกถึงการทิ้งระเบิดปรมาณู
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
อุบัติเหตุ