วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

นักดาราศาสตร์

สตีเฟน ฮอว์กิง

สตีเฟน ฮอว์กิง หรือ Stephen William Hawking เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2485 (หรือ ค.ศ. 1942 ซึ่งบังเอิญเป็นวันเดียวกับที่กาลิเลโอเสียชีวิตเมื่อ 300ปีก่อนหน้านั้น) ณ. เมืองอ๊อกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ เมื่อตอนเด็กนั้นฮอว์กิงต้องการที่จะศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด แต่เปลี่ยนใจมาศึกษาฟิสิกส์แทน

หลังจากที่จบการศึกษาปริญญาตรี ด้วยเกียตรินิยมอันดับหนึ่ง เขาก็ย้ายมาเรียนที่มหาวิทยาลัยเคมบริจด์เพื่อศึกษาวิชาจักรวาลวิทยา หรือ Cosmology เมื่อครั้งที่เข้าศึกษาอยู่ที่อ็อกฟอร์ดนั้น สตีเฟน ฮอว์กิง เริ่มรู้สึกว่าตัวเองเชื่องช้าและซุ่มซ่ามอย่างผิดปกติ และมีปัญหาด้านการทรงตัว เข้าจึงเข้าไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลหลังจากวันเกิดอายุครบ 21 แพทย์พบว่าฮอว์กิงป่วยด้วยโรค motor neurone disease ซึ่งเป็นโรคร้ายแรงที่จะรักษาไม่ได้ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้มักจะมีอาการทรุดลงเรื่อย และเสียชีวิตในเวลาไม่นาน

แม้ว่าจะมีอุปสรรค์ด้านสุขภาพ ฮอว์กิง ก็กลับไปยังเคมบริจด์ และทุ่มเทให้กับงานวิจัยวิทยาศาสตร์ จนสามารถจบปริญญาเอก และได้ตำแหน่งทางวิชาการที่ Gonville and Caius College เคมบริจด์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979 สตีเฟน ฮอว์กิง ก็ได้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ลูคัสทางคณิตศาสตร์ หรือ Lucasian Professor of Mathematics ซึ่งเป็นตำแหน่งที่นักวิทยาศาสตร์สำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็น เซอร์ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton), พอล ดิแรก (Paul Dirac) ล้วนเคยดำรงตำแหน่งนี้มาแล้ว

(Lucasian Professor of Mathematics เป็นตำแหน่งเก่าที่ได้รับการสนับสนุนการเงินโดย มร.ลูคัส ผู้ดำรงค์ตำแหน่งนี้คนแรกคือ ไอแซค์ บาโลว์ (Isaac Barrow)

งานวิจัยของฮอว์กิงนั้นศึกษาเกี่ยวกับกฎฟิสิกส์ที่ควบคุมธรรมชาติของเอกภพ ผลงานวิจัยที่สำคัญที่สุดของฮอว์กิงน่าจะได้แก่งานวิจัยเกี่ยวกับวัตถุท้องฟ้าที่รู้จักกันในนามของ "หลุมดำ"

หลุมดำหรือ Black Hole คือซากของดวงดาวที่ตายแล้ว เมื่อพลังงานนิวเคลียร์ในดาวที่มีขนาดใหญ่ ถูกเผาผลาญหมดลง แรงโน้มถ่วงเนื่องจากมวลที่มากมหาศาลของมันก็จะกดให้ดาวยุบตัวลง ทฤษฎีสัมพัทธ์ภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ทำนายว่า หลุมดำสามารถที่จะบิดโค้งอวกาศ (Space-time) ทำให้มีแรงดึงดูดสูง ถึงขนาดที่ว่าไม่มีสิ่งใดที่จะสามารถหลุดลอดออกมาจากผิวของมันที่เรียกว่า ขอบฟ้าเหตุการณ์ได้ แม้แต่แสงสว่างก็ยังถูกขังให้อยู่ภายในหลุมดำ

แต่จากผลการคำนวณของฮอว์กิง โดยอาศัยทฤษฎีควอนตัมเข้าช่วยพิจารณาพบว่า หลุมดำนั้นไม่ได้ดำเสียทีเดียว แต่มันสามารถที่จะปลดปล่อยอนุภาคทุกชนิดที่มีอยู่ในธรรมชาติออกมา ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า Hawking Radiation ด้วยอุณหภูมิค่าหนึ่ง ซึ่งฮอว์กิงและนักวิทยาศาสตร์อีกท่านหนึ่งคือ จาคอบ เบคเค่นสไตน์ (Jacob Bekenstein) ยังสามารถคำนวณอุณหภูมิของหลุมดำ และเอ็นโทรปีของมันได้อีกด้วย

ผลงานเด่นๆอีกอย่างของฮอว์กิงคือบทความวิจัยเกี่ยวกับฟิสิกส์ของเวลา โดยเขาได้ทำนายว่าเวลาน่าจะมีจุดเริ่มต้นที่บิ๊กแบง (หรือจุดกำเนิดของเอกภพ) และมีจุดจบที่ใจกลางของหลุมดำ

ฮอว์กิงยังมีผลงานทั้งทางด้าย Quantum Gravity และยังคงทำงานวิจัยอยู่ในปัจจุบัน แม้ว่าสุขภาพจะไม่เอื้ออำนวย

นอกจากบทความทางวิชาการแล้ว ศาสตราจารย์ สตีเฟ่น ฮอว์กิง ยังแต่งหนังสืออีก 3 เล่ม ทางด้านทฤษฎีสัมพัทธภาพ และจักรวาลวิทยา ได้รับรางวัลสำคัญมากมาย นอกจากนั้นยัง แต่งหนังสือสำหรับผู้อ่านทั่วไปในแนว Popular Science ที่ชื่อว่าประวัติย่อของเวลา หรือ A Brief History of Time ซึ่งเป็นหนังสือขายดีที่สุดเล่มหนึ่ง

งานฉลองวันเกิดของฮอว์กิงนั้นรวมไปถึง การประชุมทางวิชาการภายใต้หัวข้อว่า "The Future of Theoretical Physics and Cosmology" ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 7 ถึง 10 มกราคม พ.ศ.2545

นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างพากันนับถือและยอบรับ สตีเฟน ฮอว์กิง เพราะผลงานของเขา แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดคือทุกคนชื่นชมในความไม่ย่อท้อและยอมแพ้ต่อชะตากรรมอุปสรรค แม้ว่าจะประสบเคราะห์ร้ายแรง สมควรที่ทุกๆคนจะจดจำเป็นแบบอย่าง

» อริสโตเติล

» กาลิเลโอ กาลิเลอี

» นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส

» โยฮันเนส เคปเลอร์

» วิลเลียม เฮอร์เชล

» เอ็ดวิน ฮับเบิล

» เซอร์ ไอแซก นิวตัน

» อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

» สตีเฟน ฮอว์กิง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย