ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ปรัชญาตะวันตก
ยุทธนา ศุภลักษณ์
เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ม. ราชภัฏพระนคร
ปรัชญาตะวันตก แบ่งออกเป็น 3 ยุค ใหญ่ๆ คือ
ปรัชญาตะวันตกยุคโบราณ ( ศตวรรษที่ 7-9 ก.ค.ศ.)
ปรัชญาตะวันตกยุคกลาง ( ค.ศ.1-สิ้นศตวรรษที่ 15)
ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ (ศตวรรษ ที่ 16-ปัจจุบัน)
ปรัชญาตะวันตกยุคโบราณ (ศตวรรษ ที่ 6-5 ก.ค.ศ.)
แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเริ่มต้น ระยะรุ่งเรือง และระยะเสื่อม
ระยะเริ่มต้น เมื่อ ประมาณ 600 ปี ก่อน ค.ศ.นักปรัชญาคนสำคัญ คือ ทาเล็ส (Thales) เริ่มความเชื่อที่เปลี่ยนแปลงจากยุคดึกดำบรรพ์ เชื่อว่าโลกมีกฎเกณฑ์ตายตัวของมันเอง ไม่ใช่ผลการดลบันดาลของเทพเจ้า ที่เทพเจ้าควบคุมโลกได้ก็เพราะรู้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติหรือโลกนั่นเอง คนถ้ารู้ก็ จะควบคุมได้เช่นกัน จึงเริ่มต้นหาปฐมธาตุของโลก ทาเล็ส เชื่อว่าเป็นน้ำ ซึ่งต่อมาก็มีผู้เห็นขัดแย้ง ว่าน่าจะเป็น ดิน ลม หรือไฟ
ผู้ก่อตั้ง Milesian School : ทุกสิ่งเกิดจากน้ำ พยายามคิดค้นเรื่องธรรมชาติ และกฏธรรมชาติ ระยะรุ่งเรือง ระยะนี้เป็นยุคสมัยของนักปรัชญาที่เป็นต้นแบบของความคิดซึ่งบางเรื่องยังตกทอดมาถึงปัจจุบันระยะนี้อยู่ระหว่างประมาณศตวรรษที่ ๔ กคศ. เป็นยุคของนักปรัชญาที่มีชื่อเสียง 3 ท่าน คือ โสคราเต็ส พลาโต้ และอริสโตเติ้ล
โสคราเต็ส (Socrates 477-399กคศ.) มีความคิดว่า ความจริงและความดี จะต้องมีมาตรการตายตัวสำหรับทุกคน จิตของมนุษย์มีสมรรถภาพจะรู้ความจริงและความดีมาตรฐานนั้นได้ เพราะมนุษย์เรามีโครงสร้างของมนัสเหมือนกัน หากแต่กิเลสทำให้จิตปั่นป่วน มนุษย์ที่ถูกกิเลสครอบงำจึงตัดสินผิดๆ เนื่องจากเรามีกิเลสต่างๆไม่เหมือนกัน การตัดสินจึงผิดเพี้ยนกันไปตามแต่กิเลสจะโน้มน้าวไปทางไหน ผู้ใดอยากจะคิดให้ถูก ให้ได้ความจริง และความดีมาตรฐาน ก็จะต้องพยายามขจัดกิเลสและทำปัสนา เมื่อไม่มีกิเลสแล้ว ดวงจิตก็แจ่มใส ทุกคนจะเห็นความจริงและกฏความดีตรงกัน เป็นอันว่ามาตรการความจริงของโสคราเต็ส คือ ความรู้ที่ได้ขณะปัสนาโดยไม่มีกิเลส (กีรติ บุญเจือ,2541)
โซเครตีส : Socrates (470-399 B.C) (วรวิทย์ วศินทรากร,2544) ชาวAthens เบนความสนใจจากธรรมชาติสู่ชุมชนและมนุษยชาติ ศึกษาเพื่อให้รู้จักตนเอง เป็นคนแรกที่ใช้วิธีวิเคราะห์ด้วยเหตุผล ค้นหานิยามของความดีกฏยุติธรรม และความรู้สอนให้ชาวเอเธนส์ไม่เชื่ออย่างงมงาย แต่เชื่อด้วยเหตุผลเป็นเหตุให้เขาถูกฆ่าโดยให้ดื่มยาพิษในเวลาต่อมาปรัชญาของ Socrates เป็นลักษณะปรัชญาวิเคราะห์
พลาโต้ (Plato 428-347 กคศ) เป็นลูกศิษย์ของโสคราเต็ส อธิบายต่อจากโสคราเต็สว่า มีโลกแห่งมโนคติ(world of idea) ซึ่งโลกของความจริงซึ่งสัมผัสไม่ได้อันสากลอยู่ สิ่งต่างๆที่มีอยู่บนโลกที่เรารับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส เป็นสิ่งเลียนแบบมาจากสิ่งสากลในโลกอุดมคติ สิ่งสากลบนโลกอุดมคติเป็นสิ่งสมบูรณ์คงไม่มีการเปลี่ยนแปลง ถ้าเราปัสนา(contemplation) ในสภาพไร้กิเลส เราจะพบความจริงอันเดียวกันคือ ความจริงสากลนิรันดรในโลกแห่งมโนคติ (กีรติ บุญเจือ,2441)
เพลโต : Plato (427-347 BC.) (วรวิทย์ วศินทรากร,2544 ชาวAthens (ศิษย์ของ Socrates)บิดาของปรัชญาสาขาอุดมคตินิยมเขียนคำสอนของ Socrates ขึ้นจนกลายเป็นคำสอนชิ้นสำคัญทางปรัชญา ตั้งโรงเรียนชื่อ Academy นอกเมือง Athens ปรัชญาของ Plato เป็นปรัชญาสังเคราะห์ เขียนหนังสือชื่อ Republic เขาเป็นที่ปรึกษาแก่กษัตริย์ในเมือง Syracuse เสนอให้กษัตริย์เป็นนักปรัชญา แต่ไม่สำเร็จจึงกลับมาสอนที่ Academy ตามเดิม โรงเรียนนี้ดำเนินมาจนถึง ค.ศ.529 สมัยจักรพรรดิ Justinian แห่ง Byzantine สั่งปิด เชื่อว่า ความคิดเป็นความจริงมากกว่าสรรพสิ่งสอนให้มองเห็นว่ามี 1 โลก คือ โลกของความคิดที่ไม่เปลี่ยนแปลงกับโลกแห่งความเปลี่ยนแปลงของวัตถุธาตุ
อริสโตเติ้ล : Aristotle (384-332 BC.) (วรวิทย์ วศินทรากร,2544) ชาวAthens ลูกศิษย์ของ Plato ณ Academy บิดาของ ปรัชญาสัจนิยม เกิดใน Stagira เมืองThrace มาอยู่ Athens เมื่อ 366 BC.และอยู่จน Plato ตาย เป็นครูสอน ณ โรงเรียน Lyceum ในเมือง Athens ต่อมาเป็นครู (tutor) ของพระเจ้า Alexander the Great เมื่อ Alexander สิ้นพระชนม์ 323 BC.ก็ออกไปอยู่ ณ เมือง Chalcis และถึงแก่กรรมที่นั่น