วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
รามเกียรติ์
ฉบับร้อยแก้ว
กำเนิดนางสีดา
พระลักษมณ์
ต่อมาทุกนางได้ทรงครรภ์ นางเกาสุริยาประสูติโอรสเป็นพระราม นางไกยเกษีประสูติโอรสเป็นพระพรต นางสมุทรเทวีประสูติโอรสมาเป็นพระลักษณ์และพระสัตรุต พระนางมณโฑประสูติธิดามาเป็นนางสีดา เมื่อนางสีดาเกิดนั้นได้ร้องว่า ผลาญราพณ์ ถึงสามครั้ง ทุกคนได้ยินยกเว้นทศกัณฐ์และนางมณโฑ
ทศกัณฐ์
ทศกัณฐ์ดีใจมากที่ได้ธิดาและได้ให้พิเภกมาทำนายดวงชะตา พิเภกทำนายว่าดวงชะตานางสีดาเป็นกาลกิณี ควรจะเอาไปทิ้งน้ำ ทศกัณฐ์จึงให้เอาไปใส่ผอบทิ้งกลางทะเล แต่มีดอกบัวใหญ่ขึ้นมารองรับไว้ แล้วลอยทวนน้ำไปถึงอาศรมพระชนก ผู้ซึ่งเดิมเป็นกษัตริย์ครองเมืองมิถิลา พระฤๅษีจึงนำไปเลี้ยงดู
ต่อมาเห็นว่าตนออกบวชเพื่อสำเร็จญาณโลกีย์ แต่การที่มาเลี้ยงนางสีดาทำให้ไม่สำเร็จ จึงนำผอบที่ใส่นางสีดาไปฝังใต้ต้นไทรใหญ่ ให้อยู่ในอารักขาของเหล่าเทวดา ส่วนที่กรุงศรีอยุธยา วันหนึ่งพระราม พระลักษณ์ พระพรต และพระสัตรุต ลองศรกัน พระรามแกล้งยิง หลังนางค่อมกุจจี นางค่อมได้รับความอับอายและเจ็บแค้นจึงอาฆาตพระรามตั้งแต่นั้น เมื่อพระโอรสเจริญวัย ท้าวทศรถจึงให้โอรส ไปศึกษาพระเวทกับฤๅษีสององค์ชื่อ ฤๅษีวสิษฐ์และฤๅษีสวามิตร จนเรียนศิลปศาสตร์ได้อย่างชำนาญ และเห็นว่าจากนี้เหล่ายักษ์จะต้องตายด้วยศรพระราม แต่พระรามไม่มีศรประจำตัว จึงตั้งพิธีขอศร พระอิศวรได้ประทานศรให้องค์ละสามเล่ม แต่ละเล่มมีฤทธิ์ต่างกัน
สำหรับศรของพระรามคือ ศรพรหมมาสตร์ ศรอัคนิวาต และศรพลายวาต เมื่อกลับเข้ากรุงศรีอยุธยา จึงลองศรให้ท้าวทศรถชมเป็นที่ชื่นชมโสมนัส ทางด้านท้าวไกยเกษ เห็นว่าตนนั้นชรามากแล้ว จึงไปขอลูกของพระนางไกยเกษีมาเลี้ยงดู หากในวันข้างหน้ามีศัตรูมารุกรานจะได้เป็นกำลังต่อสู้ได้ ท้าวทศรถจึงให้พระพรตกับพระสัตรุตไป
นับตั้งแต่ทศกัณฐ์ถอดดวงใจแล้วก็มีความกำเริบมากขึ้น และยังเห็นว่าเหล่านักพรตมีฤทธิ์มาก ซึ่งในกาลข้างหน้า การบำเพ็ญตบะของฤๅษีนั้น อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเหล่ายักษ์ได้ จึงให้นางกากนาสูรและไพร่พลยักษ์แปลงเป็นกา ไปทำลายพิธีบำเพ็ญตบะ พวกฤๅษีสู้ไม่ได้ จึงไปเฝ้าท้าวทศรถ ขอให้พระราม พระลักษณ์ ไปช่วยปราบ พระราม พระลักษณ์ ได้แผลงศรถูกนางกากนาสูรตาย สวาหุและม้ารีสลูกของนางกากนาสูร ทั้งสองจึงมาแก้แค้นแทนมารดา พระรามจึงแผลงศรถูกสวาหุตาย ส่วนม้ารีสหนีไปกรุงลงกา
ฝ่ายพระชนกหลังจากได้ฝังผอบนางสีดาไว้โคนต้นไทรแล้วไปบำเพ็ญเพียรต่อ แต่ไม่สำเร็จญาณสมาบัติ เกิดความเบื่อหน่ายจะกลับไปครองเมืองมิถิลาตามเดิม จึงไปขุดเอาผอบนางสีดาขึ้นมาภายในมีนางอายุประมาณ สิบหกปี จึงได้พาเข้าเมือง และตั้งชื่อว่า นางสีดา
นางสีดา