ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ตำรายืดหดเส้นเอ็น ล้างพิษเพิ่มไขกระดูก
โดย : ท่านปรมจารย์ตักม้อโจวซือ (พระโพธิธรรมมหาเถระ)
กระบวนท่าที่หนึ่ง : ยืดหดเส้นเอ็น
กระบวนท่าที่สอง : ล้างพิษเพิ่มไขกระดูก
"ตำรายืดหดเส้นเอ็น"
นี้ ท่านต้กม้อโจวซือ (พระโพธิธรรมมหาเถระ)
เป็นผู้นำมาจากชมพูทวีป ท่านตักม้อเป็นชาวอินเดีย
ได้เขียนตำรายืดหดเส้นเอ็นและตำราล้างพิษไขกระดูก ไว้ที่วัดเส้าหลิน
ในสมัยพระเจ้าถังไท้จงฮ่องเต้
เมื่อได้แปลตำราทั้งสอง ซึ่งเป็นภาษาบาลี มาเป็นภาษาจีนแล้ว
ชาววัดเส้าหลินก็ฝึกเป็นการใหญ่ แต่เป็นตำราที่ฝึกยาก ต้องตั้งใจจริงๆ
จึงจะประสบความสำเร็จได้ คำพูดของท่านตักม้อโจวซือพูดกับศิษย์ของท่านที่ฝึกว่า
"คนนี้ได้แค่ผิวของเรา
คนนี้ได้แค่เนื้อของเรา
คนนี้ได้แค่กระดูกของเรา"
และท่านอาจารย์พูดกับศิษย์ที่ชื่อฮุ่ยค้อของท่านว่า
"เจ้าได้ไขกระดูกของเราไป"
ความหมายที่ว่าเรียนยากก็เป็นเช่นนี้เอง
ตำราว่าด้วยการยืดหดเส้นเอ็นนี้ มีด้วยกัน 2 กระบวนท่า คือ
กระบวนท่ายืน
กระบวนท่านั่ง
ต่างมีทั้งหมด 12 กระบวนท่า เช่นกัน
ตำรานี้ใช้สติเป็นที่ตั้ง อิริยาบถช้าๆ นุ่มนวล
เป็นหัวใจของการบริหารลมหายใจเข้าออกอย่างช้าๆลึก และแผ่วเบา
เป็นปัจจัยเอื้ออำนวยให้การบริหารเกิดประสิทธิภาพอย่างสมดุล
ทางเดินของพลัง
การเคลื่อไหวปลายนิ้วมือและเท้า
จะเกิดพลังชีวิตเป็นกระแสตรงไปสู่อวัยวะภายในอย่างเป็นระบบ
มนุษย์จะสามารถใช้จิตที่ฝึกเป็นสมาธิดีแล้ว กระตุ้นพลังชีวิตนี้
นำเลือดไปหล่อเลี้ยงจุดหมายที่ต้องการได้อย่างน่าอัศจรรย์
ดังที่แพทย์จีนโบราณเรียกว่า "ชี่กง" การบริหารร่างกายจึงจำเป็นต้องฝึกจิตไปด้วย
เพื่อนำมารักษาโรคบางโรคให้หายได้อย่างง่ายดาย
เพราะพลังปลายนิ้วทั้งหมดกระตุ้นให้เลือดและลมปราณเดินสะดวก
ท่าเหล่านี้ จึงเหมือนการคุ้มครองอวัยวะทั้งหมด
ให้ชะลอการเสื่อมโทรมได้ตามความสามารถของผู้ฝึกแต่ละคน ที่หมั่นเพียรฝึกฝนไม่ย่อท้อ
การบริหารท่านั่ง และท่ายืน
ท่ายืน
เน้นหนักการบริหารจากภายนอก รักษาอวัยวะภายในให้แข็งแรง
ท่านั่ง
เน้นหนักการใช้ลมปราณเดินให้ได้ครบวงจร
ก็จะรักษาอวัยวะภายในให้แข็งแรงได้เช่นกัน
เพราะฉะนั้น วิธีการฝึกจึงต้องให้ตัวตั้งตรงเสอม
ยิ่งไม่ไหวติงได้เท่าใดก็จะได้ผลมากเท่านั้น
ส่วนอิริยาบถต้องช้าเหมือนการฝึกในกระบวนท่าที่หนึ่ง ลมหายใจก็เช่นกัน
ต้องอย่าลืมว่าถ้าหายใจแรงๆเร็วๆ จะทำให้ลมปราณติดขัด บางครั้งหายใจไม่ออกทันที
จะเกิดอาการเจ็บปวดมาก
ควรปิดปากสนิท ขณะฝึก ฟันล่างและฟันบนชิดกัน ปลายลิ้นดุนฟันไว้เบาๆ
จิตต้องเพ่งเข้าภายในสะดือ (ตันเถียนกลาง) ตลอดเวลา ยามเดินลมปราณในท่าต่างๆ
การฝึกจิตของจีนโบราณ ท่านกำหนดศูนย์พลังแห่งชีวิต หรือลมปราณแล่นเข้าออกอยู่ 3
จุด โดยใช้ชื่อว่า
- ตันเถียนบน
อยู่หว่างกลางหัวคิ้วทั้งสองที่หน้าผาก
- ตันเถียนกลาง
อยู่ภายในสะดือลึกเข้าไป 2 นิ้ว
- ตันเถียนล่าง
อยู่ระหว่างทวารหนักและทวารเบา เป็นจุดสำคัญที่ของร่างกาย
การฝึกที่ประสบความสำเร็จแล้ว สามจุดนี้จะมีพลังชีวิตมหาศาล เดินถึงกัน
และทรงพลังตลอดชีวิต เมื่อฝึกครบวงจรแล้วก็ต้องกลับที่เดิมคือ
จุดตันเถียนกลาง สติจะช่วยให้ผู้ฝึกไม่วอกแวก เกิดความสงบทางใจ
ท่าเตรียมพร้อม
- ยืนตรง หันหน้าทิศตะวันออก
- แยกขาออก ให้ระยะเท่ากับความกว้างของไหล่
- ปลายเท้าและส้นเท้า ตรง อย่าเอียงเข้าหากัน
- ทำจิตให้นิ่ง ไม่คิดอะไรให้วอกแวก ขุ่นมัว เลื่อนลอย
- หน้าตรง คางเชิดนิดๆ
- ฟัน ล่างและบนประชิดกันเบาๆ
- ลิ้น กระดกไว้ที่เพดานปาก
- นัยตา มองตรงนิ่ง ไม่กระพริบบ่อยนัก
- อิริยาบถ ต้องช้าๆ จึงจะฝึกได้ผลดี
- ริมฝีปาก ปิดสนิทยิ้มหน่อยๆ ใจจะเบิกบานเอง หายใจลึกๆ ช้าๆ
ให้ถึงท้อง เมื่อจบแต่ละท่าหายใจลึกๆ อีก 3 ครั้ง จะไม่เหนื่อยเร็ว
เมื่อจบท่าหนึ่ง จะเริ่มท่าต่อไป
ต้องเริ่มตั้งท่าเตรียมพร้อมนี้ทุกครั้งก่อนเสมอ จนครบ 12 ท่า ฝึกท่าละ 49
ครั้งทุกท่า ยกเว้นท่า 11-12
กระบวนท่าที่หนึ่ง : ยืดหดเส้นเอ็น
กระบวนท่าที่สอง : ล้างพิษเพิ่มไขกระดูก