สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
สังคมวิทยา
<<< สารบัญ >>>
วัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมหลักของไทย
วัฒนธรรมหลักของไทย คือ
วัฒนธรรมที่คนไทยส่วนใหญ่ได้ยอมรับนับถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาอันยาวนาน
ซึ่งพอสรุปได้ดังต่อไปนี้
1) อิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรม คือ การเรียนรู้
ถ่ายทอดเป็นวิถีชีวิตมรดกทางสังคม ประชาชนชาวไทยนับถือพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก
จึงได้รับวัฒนธรรมจากพุทธศาสนา เช่น ประเพณีการทำบุญ สร้างวัด ก่อเจดีย์
ตามคำสอนของพุทธศาสนา วัฒนธรรมไทยอาจแบ่งได้เป็น 4 สาขา คือ คติธรรม ได้แก่
ความขยันหมั่นเพียร ความกตัญญูกตเวที ฯลฯ เนติธรรม ได้แก่
การใช้สิทธิตามกฎหมายเคารพประเพณีอันดีงาม ฯลฯ วัตถุธรรม รู้จักทำเครื่องใช้
รู้จักการกินดีอยู่ดี รักษาความสะอาด รักษาโบราณวัตถุ ฯลฯ สหธรรม ได้แก่
มรรยาทในการเข้าสังคม ฯลฯ
2) พระมหากษัตริย์ ตามรัฐธรรมนูญของไทยได้กำหนดฐานะของ
พระมหากษัตริย์ไว้ดังนี้
- ทรงเป็นประมุขประเทศ
- ทรงเป็นพุทธมามกะ
-
ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ
- ทรงดำรงตำแหน่งกองทัพไทย
- ผู้ใดจะกล่าวหาฟ้องร้องหรือละเมิดมิได้
นี่แสดงให้เห็นถึงการที่คนไทยยอมรับนับถือองค์พระมหากษัตริย์เหนือชีวิตจิตใจ
3) อักษรไทย ประเทศไทยมีอักษรไทยใช้มาตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงในปี 1826
ได้มีการปรับปรุงมาใช้จนถึงปัจจุบัน
ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกราชและเอกลักษณ์ของไทยในการมีภาษาของเราเอง
4) ภาษาไทย ชาติไทยมีภาษาและอักษรเป็นของตนเองมาเป็นเวลาช้านาน
ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจอย่างยิ่ง แม้จะมีการปรับปรุงแก้ไขบ้าง
แต่ก็เป็นไปเพื่อความ เหมาะสม สมควรที่จะมีการปรับปรุงแก้ไขบ้าง
แต่ก็เป็นไปเพื่อความเหมาะสม สมควรที่จะรักษาไว้ให้เป็นวัฒนธรรม
5) ประเพณีไทย เป็นเครื่องแสดงถึงวิถีชีวิตและจิตใจของคนไทย
ทั้งอดีตและปัจจุบันว่ามีความเป็นมาอย่างไร
ประเพณีไทยส่วนใหญ่ได้มาจากพุทธศาสนาและมี คติธรรมแฝงอยู่ด้วย
6) จรรยามรรยาทของคนไทย มีลักษณะละมุมละไม สุภาพอ่อนช้อย รู้จัก
ปรับปรุงตัวเข้ากับสังคมได้ดี เช่น การกราบไหว้แบบต่าง ๆ
7) จิตใจของคนไทย ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพุทธศาสนา ทำให้คนไทยมีใจ
โอบอ้อมอารีย์ต่อคนทั่วไป มีความกตัญญูกตเวที เชื่อฟังบิดามารดา ครูอาจารย์
ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาควรรักษาไว้
8) ศิลปกรรมไทย มีความอ่อนว้อยสวยงามไม่แพ้อารยประเทศ เช่น นาฏศิลป์ ดนตรี
เพลง ตลอดจนภาพจิตรกรรม เป็นต้น
9) สถาปัตยกรรมไทย มีความสง่างามไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าชาติอื่น เช่น
ประสาทราชวัง วัดวาอาราม โบสถ์ ฯลฯ
10) วรรณคดีไทย ซึ่งแสดงถึงความเจริญทางจิตใจ ความรู้สึก อารมณ์ และ
แสดงออกมาเป็นตัวหนังสือ ทำให้ผู้อ่านเกิดความสะเทือนใจที่ความเป็นไปในทางที่ ดีงาม
เพราะวรรณคดีนั้น มักแฝงไว้ด้วยคติสอนใจเอาไว้ด้วย
<<< สารบัญ >>>