สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
สังคมวิทยา
<<< สารบัญ >>>
วัฒนธรรมไทย
การผสมผสานทางวัฒนธรรม (Acculturation)
1) ความหมาย การผสมผสานทางวัฒนธรรม หมายถึง วิธีการที่จะรับเอา
วัฒนธรรมของสังคมอื่นมาประพฤติปฏิบัติ เช่น เมื่อเราอยู่สังคมใด เราก็ต้องเอา
วัฒนธรรมนั้นมาปฏิบัติ ถ้าหากวัฒนธรรมที่เรารับเอามากลายเป็นสิ่งหนึ่งที่เราปฏิบัติ
สืบต่อกันมา การผสมผสานก็จะเกิดขึ้น เช่น คนไทยไปอยู่ต่างประเทศนาน ๆ
ก็ติดนิสัยดื่มน้ำชา กาแฟ เมื่อกลับประเทศไทย ก็ยังปฏิบัติอยู่เช่นนั้นอีก
ก็เท่ากับนำเอาวัฒนธรรมดังกล่าวมาปฏิบัติจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมที่ทำตามปกติ
2) กระบวนการผสมผสาน
การผสมผสานทางวัฒนธรรมจะมีมากเมื่อสังคมหนึ่งถูกรุกรานหรืออีกฝ่ายหนึ่งชนะ
พวกที่ชนะจะพยายามบังคับพวกที่แพ้ให้ปฏิบัติตามแบบอย่างการดำรงชีวิตของตน เช่น
อังกฤษ ฝรั่งเศส เมื่อยึดครองดินแดนตะวันออกและแอฟริกาใต้ได้
ก็ให้ชาวพื้นเมืองเรียนภาษาของตน อินเดีย พม่า มาเลเซีย จึงพูดภาษาอังกฤษได้ดี
อย่างไรก็ตาม การถ่ายทอดทางวัฒนธรรมนี้ไม่จำเป็นเสมอไปที่ฝ่ายแพ้จะ
รับเอาวัฒนธรรมฝ่ายชนะ ถ้าฝ่ายชนะมีวัฒนธรรมด้อยกว่าอาจจะรับเอาวัฒนธรรม
ฝ่ายแพ้ก็ได้
จึงกล่าวได้ว่าบุคคลอยู่ในวัฒนธรรมใดก็มักจะปฏิบัติตามวัฒนธรรมนั้นและจะมีพฤติกรรมคล้าย
ๆ กับคนอื่นในสังคมนั้น เป็นเพราะผลของการเรียนรู้ที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมา
ไม่ว่าจะโดยแบบรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม แสดงว่า วัฒนธรรมมีอิทธิพลเหนือ
ความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมนั้น ๆ เช่น ถ้าจะรับเอาเด็กฝรั่งมาอบรม
เลี้ยงดูแบบไทย เด็กก็จะมีลักษณะเหมือนคนไทย
กระบวนการผสมผสานทางวัฒนธรรมไม่ใช่เรื่องง่ายดายเสมอไป
บางคนอาจจะถ่ายทอดและรับง่ายกว่าบุคคลอื่น หรือบางคนอาจจะต่อต้าน เช่น
ชาวไอริสในสหรัฐ มิได้ถูกกลืนหายไปในสังคมอเมริกันเหมือนชาติอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม
การผสมผสานทางวัฒนธรรมมักจะเกิดขึ้นเมื่อสมาชิกของวัฒนธรรมหนึ่งเกิดติดต่อเกี่ยวข้องกับสมาชิกของอีกวัฒนธรรมหนึ่งเป็นเวลานาน
ชาวอังกฤษจะแต่งตัวเต็มเกียรติเต็มยศ กินอาหารในป่าของไทย
แต่เขาจะต้องทำตามประเพณีไทยบางอย่าง เช่น ขับรถทางซ้าย เข้าโบสถ์ถอดรองเท้า
ซื้อของต้องใช้เงินไทย เป็นต้น โดยทั่วไป
เราจะรับเอาวัฒนธรรมของเราจากการอบรมสั่งสอน
แต่เราจะรับเอาวัฒนธรรมคนอื่นจากการติดต่อ จากการเดินทาง จากการอยู่ต่างแดน
จากหนังสือหรือข้อเขียน และจากวิธีการอื่น ๆ อีก
<<< สารบัญ >>>