สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สังคมวิทยา

<<< สารบัญ >>>

วัฒนธรรมไทย

การล้าหลังทางวัฒนธรรม (Culture Lag)

William F. Ogburn ให้ความหมายว่า “การล้าหลังทางวัฒนธรรม หมายถึง สถานการณ์ซึ่งส่วนใดส่วนหนึ่งของการล้าหลังทางวัฒนธรรมอยู่หลังอีกอันหนึ่งและ ก่อให้เกิดการขาดดุลย์และความไม่กลมกลืนขึ้นในสังคม”

Ogburn อธิบายว่า สังคมที่เป็นระเบียบเรียบร้อยดีนั้น ส่วนประกอบต่าง ๆ ของวัฒนธรรมจะต้องเจริญก้าวหน้าพร้อม ๆ กันไปหมดทุกด้านและส่วนต่าง ๆ เหล่านั้นจะมีความสัมพันธ์ต่อกันเป็นอย่างดี เพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นระเบียบของสังคม

Ogburn อธิบายต่อไปอีกว่า อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมทางวัตถุจะล้ำหน้าการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมที่ไม่เกี่ยวกับวัตถุ จึงเกิด “การล้าหลังทาง วัฒนธรรม” เช่น ความเจริญของระบบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นความเจริญก้าวหน้าของ วัฒนธรรมทางวัตถุ มีส่วนช่วยให้มนุษย์ได้รับความสะดวกสบาย แต่ขณะเดียวกัน วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบโรงงานอุตสาหกรรมยังล้าหลังอยู่ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ปัญหาการคุ้มครองแรงงาน เป็นต้น

การล้าหลังทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ก็คือ สังคมไทยมียวดยานพาหนะอันเป็นความเจริญทางวัตถุอย่างมากมาย แต่วัฒนธรรมทางจิตใจ คือ มรรยาทการขับรถแย่มาก

อ่านต่อ >>>>>

<<< สารบัญ >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย