สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
สังคมวิทยา
<<< สารบัญ >>>
วัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมย่อย (Sub-culture)
วัฒนธรรมย่อยหรือวัฒนธรรมรองหรือนุวัฒนธรรมในสังคมหนึ่ง ประกอบด้วย บุคคลหลายเพศ
หลายวัย หลายอาชีพ หลายเชื้อชาติ บุคคลเหล่านี้ ล้วนมีแนวความคิด ทัศนคติ
ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกันไป เช่น
ชายกับหญิงย่อมมีแนวความคิดและแนวปฏิบัติที่แตกต่างกัน เด็กกับผู้ใหญ่ก็แตกต่างกัน
กลุ่มคนในสังคม นอกจากจะปฏิบัติตามวัฒนธรรมของกลุ่มตนแล้ว
ยังจะต้องปฏิบัติตามวัฒนธรรมของสังคมอีกด้วย
แต่บางวัฒนธรรมของกลุ่มก็ไปขัดกับวัฒนธรรมของสังคมก็มี กลุ่มต่าง ๆ
ในสังคมมีอยู่มากมาย เช่น กลุ่มนักเรียน กลุ่มทหาร กลุ่มชาวไร่ชาวนา เป็นต้น
ซึ่งวัฒนธรรมย่อยนี้สามารถแยกอธิบายได้ดังนี้
1) วัฒนธรรมย่อยตามเชื้อชาติ (Ethnic-sub-culture) ซึ่งในสังคมหนึ่ง ๆ
ย่อมประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติอยู่ปะปนกัน เช่น กรุงเทพมีทั้งชาวไทย ชาวจีน แขก
ฝรั่ง มอญ อาศัยอยู่ แต่ละเชื้อชาติดังกล่าวต่างก็มีวัฒนธรรมเป็นแบบฉบับของตนเอง
2) วัฒนธรรมย่อยตามเกณฑ์อายุ (Age-sub-culture)
คนในสังคมหนึ่งย่อมมีอายุแตกต่างกัน แต่ละวัยย่อมมีแนวทางการปฏิบัติที่แตกต่างกัน
เด็กวัยรุ่นก็มีแนวทางปฏิบัติแตกต่างจากผู้ใหญ่ เช่น การแต่งกาย การละเล่น การพูดจา
ตลอดจนความสนใจ ฯลฯ
3) วัฒนธรรมย่อยตามท้องถิ่น (Regional-sub-culture)
เนื่องจากคนในชาติหนึ่งย่อมอยู่กระจายกันไปตามภาคต่าง ๆ ดังนั้น
วิถีชีวิตในการปฏิบัติตาม ขนบธรรมเนียมประเพณีย่อมแตกต่างกัน เช่น
คนไทยในแต่ละภาคมีภาษาพูด ประเพณีที่แตกต่างกัน
4) วัฒนธรรมย่อยตามอาชีพ (Occupational-sub-culture)
คนมีอาชีพอย่างเดียวกันก็จะมีวิถีการดำเนินชีวิตที่เหมือนกัน เช่น ชาวประมง นักร้อง
นักหนังสือพิมพ์
5) วัฒนธรรมย่อยตามเพศ (Sex-sub-culture)
เพศหญิงเพศชายมีการปฏิบัติแตกต่างกันไปหลาย ๆ ด้าน เช่น กิริยามรรยาท
หญิงอาจเดินกระตุ้งกระติ้งชอบเย็บปักถักร้อย ชายเดินท่าทางขึงขัง ฯลฯ
<<< สารบัญ >>>