สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สังคมวิทยา

<<< สารบัญ >>>

วัฒนธรรมไทย

การแบ่งประเภทของวัฒนธรรม

วัฒนธรรมออกเป็น 2 ส่วน คือ

1) วัฒนธรรมทางวัตถุ (Material culture) ซึ่งได้แก่ สิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น ตู้เย็น หม้อหุงข้าว แก้วน้ำ มีด โต๊ะ รถ เครื่องบิน ฯลฯ

2) วัฒนธรรมไม่เกี่ยวกับวัตถุ (Non-material culture) หมายถึง อุดมการณ์ ค่านิยม แนวความคิดในเรื่องการแข่งขันอย่างมีเหตุผล ประเพณี การปฏิบัติสืบต่อกันมาและเป็นที่ยอมรับกันในชนกลุ่มของตนว่าดีงามเหมาะสม เช่น ศาสนา ความเชื่อ ความสนใจ ทัศนคติ ความรู้ ความสามารถ ซึ่งเป็นนามธรรมที่มองเห็นไม่ได้

สำหรับประเภทที่ 2 นี้ คนไทย เรียกว่า วัฒนธรรมทางจิต ซึ่งพอจะแยกเป็นด้าน ๆ ดังนี้

1. คติธรรม หมายถึง แนวทางในการดำรงชีวิตหรือแผนการดำรงชีวิต ของมนุษย์ ซึ่งจะปฏิบัติหรือไม่นั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของจิตใจและได้มาจากศาสนาพุทธ ซึ่งได้วางหลักปฏิบัติไว้อย่างครบถ้วน เช่น ความขยันหมั่นเพียร การมีเมตตากรุณา การให้อภัย ฯลฯ

2. สหธรรม เป็นวัฒนธรรมสังคมเกี่ยวกับคุณธรรมต่าง ๆ ที่จะอยู่ร่วมกับบุคคลทั่ว ๆ ไปอย่างผาสุก รู้จักถ้อยทีถ้อยอาศัยกันและยังรวมถึงระเบียบมรรยาทที่ เกี่ยวข้องกับสังคมทุกชนิด เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตของตนเอง เช่น มรรยาทในการเป็นแขกไปมาหาผู้อื่น เช่น ทาน คือ การให้, ปิยวาจา คือ พูดด้วยถ้อยคำสุภาพและเป็นประโยชน์, อัตถจริยา คือ การมีมรรยาทที่ดี อ่อนน้อม ตลอดถึง สมานัตตา คือ การสังคม การเข้าหาสมาคม

3. เนติธรรม หมายถึง ระเบียบแบบแผนหรือข้อบังคับหรือวัฒนธรรมทางกฎหมาย รวมทั้งประเพณีที่ยอมรับนับถือกันมานาน โดยที่ต้องเข้าใจกฎหมายของบ้านเมืองบ้าง ใช้กฎหมายให้เป็นประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม

อ่านต่อ >>>>>

<<< สารบัญ >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย