สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สังคมวิทยา

<<< สารบัญ >>>

วัฒนธรรมไทย

บ่อเกิดของวัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรมของแต่ละสังคมนั้นมีที่มาจากสิ่งแวดล้อม ค่านิยม และการเผยแพร่ทางวัฒนธรรม สำหรับวัฒนธรรมไทยนั้น พอจะกล่าวได้ว่า มาจากปัจจัยดังกล่าวต่อไปนี้

1) สิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เนื่องจากสังคมไทยมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มและอุดมสมบูรณ์ด้วยแม่น้ำลำคลอง คนได้ใช้น้ำเพื่อประโยชน์นานัปการ ดังนั้น เมื่อถึงเวลาหน้าน้ำ คือ วันเพ็ญเดือน 11 และวันเพ็ญเดือน 12 คนไทยจึงทำกระทงไปลอยในแม่น้ำลำคลอง เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษพระแม่คงคาและขอพรจากพระแม่คงคา จึงเกิดเป็นประเพณี “ลอยกระทง” นอกจากนี้ ยังมีประเพณีอื่น ๆ เช่น การแข่งเรือ เป็นต้น

2) ระบบการเกษตรกรรม สังคมไทยเป็นสังคมเกษตร คนไทยส่วนมากก็มี อาชีพนี้ จึงเกิดมีประเพณีหลายอย่าง เช่น ประเพณีขอฝน ประเพณีลงแขก และการละเล่นเต้นกำรำเคียว เป็นต้น

3) ค่านิยม มีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด และค่านิยมบางอย่าง ได้กลายมาเป็น “แกน” ของวัฒนธรรม เช่น ค่านิยมที่เกี่ยวกับความรักอิสระภาพและ เสรีภาพ เป็นต้น “แกน” ของวัฒนธรรม กล่าวคือ วิถีชีวิตของคนไทยโดยส่วนรวมมี เอกลักษณ์ที่แสดงออกถึงอิสระภาพและเสรีภาพ



4) อิทธิพลของวัฒนธรรมอื่น ๆ การเผยแพร่วัฒนธรรมอื่น ๆ ซึ่งสามารถทำได้หลายอย่างหลายทาง เช่น การติดต่อระหว่างผู้คนจากสังคมหนึ่งกับสังคมอื่น การสื่อสาร การขนส่งยังช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมเป็นไปได้สะดวกรวดเร็วและกว้างขวาง วัฒนธรรมของสังคมอื่นที่เข้ามาเผยแพร่ เช่น

ศาสนาพรหมณ์เป็นที่มาของประเพณีต่าง ๆ เช่น โกนจุก อาบน้ำศพ และสงกรานต์ เป็นต้น

พุทธศาสนา นอกจากเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว ยังก่อให้เกิดประเพณี มากมาย เช่น ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ก่อพระเจดีย์ทราย เป็นต้น

วัฒนธรรมตะวันตกแพร่หลายเข้ามาทั้ง ๆ ที่เป็นวัฒนธรรมทางวัตถุและไม่ใช่วัตถุ เช่น เครื่องจักร กลไกต่าง ๆ การสัมผัสมือ การแต่งกาย ฯลฯ

อ่านต่อ >>>>>

<<< สารบัญ >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย