สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สังคมวิทยา

<<< สารบัญ >>>

วัฒนธรรมไทย

ความหมายของวัฒนธรรม

วัฒนธรรมในทางสังคมวิทยา หมายถึง วิถีการดำรงชีวิต (Way of life) ของมนุษย์ในแต่ละสังคม คำว่า วัฒนธรรมเป็นคำรวมที่กินความถึง แบบแห่งความประพฤติ (Behavior patterns) ทั้งปวงของมนุษย์ ซึ่งได้มาจากการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในสังคมและซึ่งสามารถถ่ายทอดให้แก่กันและกันได้ โดยการใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ (Symbol) เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน หรือแสดงกิริยาอาการต่าง ๆ อันเป็นที่เข้าใจกัน

F. B. Tylor นักมานุษยวิทยาผู้มีชื่อเสียงของอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ Privitive society อธิบายคำว่า Culture ว่า “Culture as that complex whole which include knowledge, belief, art, morals, law, custom, and any capacities and habits, aquired by men as a member of society” ซึ่งพอแปลเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ วัฒนธรรม หมายถึง ส่วนรวมทั้งหมดอันสลับซับซ้อน ซึ่งได้แก่ วิชาความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ ศีลธรรม กฎหมาย ขนบธรรมเนียม และความสามารถอื่นใด ตลอดจนความเคยชินต่าง ๆ ซึ่งคนเราได้รับมาในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม

คำว่า Culture ในภาษาอังกฤษ เป็นคำที่มาจากภาษาละติน คำว่า Cultura เมื่อแรกเริ่มเดิมทีนั้น มีความหมายหรือแปลได้มากมายหลายอย่าง เช่น แปลว่า การบูชา การไถพื้นดิน การปลูกพืชผัก การทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมโดยการอบรมหรือฝึกหัด แต่ในปัจจุบันนี้ หมายถึงความหมายอย่างหลังเท่านั้น มูลศัพท์เดิมของคำว่า วัฒนธรรม หมายถึง ความเจริญงอกงามอันเทียบกับความเจริญของการปลูกพืชผัก ดังจะเห็นว่าการปลูก พืชผักให้เจริญ ใช้คำว่า Agriculture สิ่งใดก็ตามหากมีการเจริญขึ้นด้วยการศึกษาอบรมจะอยู่ในข่ายแห่งความหมายของวัฒนธรรมได้ทั้งสิ้น



ความหมายของวัฒนธรรมตาม พ.ร.บ. 2485 คำว่า วัฒนธรรมตามความหมายที่ง่าย ๆ คือ “ความเจริญงอกงามที่มนุษย์ทำให้เกิดขึ้นหรือ เรียกกันว่า “มรดกทางสังคม” เพราะวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์ได้มาจากบรรพบุรุษและถ่ายทอดไปให้แก่อนุชน

พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485 ให้ความหมายเกี่ยวกับวัฒนธรรมไว้ดังนี้ คือ “วัฒนธรรม หมายความว่า ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีของประชาชน” ตามความหมายนี้ วัฒนธรรมแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ คือ
1. ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม
2. ลักษณะที่แสดงถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อย
3. ลักษณะที่แสดงถึงความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ
4. ลักษณะที่แสดงถึงความมีศีลธรรมอันดีของประชาชน

อ่านต่อ >>>>>

<<< สารบัญ >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย