สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สังคมวิทยา

<<< สารบัญ >>>

การจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม (Social Stratification)

การขัดกันทางชนชั้น

ในสังคมหนึ่ง ๆ นั้น จะประกอบขึ้นด้วยหลายชนชั้น เช่น คนมีและคนจน นายจ้างและลูกจ้าง เป็นต้น ซึ่งบุคคลในแต่ละชนชั้นย่อมมีแบบการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน ขอยกตัวอย่างเช่น คนมีเงินนั่งรถเก๋ง เล่นกอล์ฟ และแต่งกายหรูหรา ส่วนคนจนเดินถนน โหนรถเมล์ และแต่งกายด้วยเสื้อผ้าราคาถูก เหล่านี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงเห็นได้ว่า “ชนชั้น” มีส่วนสำคัญในการบ่งชี้ชะตาชีวิตของบุคคลในด้านต่าง ๆ นับตั้งแต่ถิ่นที่อยู่อาศัย สถานศึกษา ระดับการศึกษา การประกอบอาชีพ การสมรส และ ฯลฯ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ชนชั้นสูงย่อมมีโอกาสในการเลือกแบบการดำเนินชีวิตในด้านต่าง ๆ ได้มากกว่าและดีกว่าชนชั้นที่ต่ำกว่า

ดังนั้น ปัญหาสังคมที่สำคัญยิ่งประการหนึ่ง ก็คือ อันตรายอันเกิดจากช่องว่าง (Gap) ระหว่างชนชั้น กล่าวคือ ถ้าช่องว่างระหว่างคนมั่งมีกับคนยากจนห่างกันมาก เท่าไร (ชนิดที่เรียกว่า “กู่กันไม่ได้ยิน”) ก็จะเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของสังคม มากขึ้นเพียงนั้น เพราะจะเกิด “การขัดกันทางชนชั้น” อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความ ไม่เข้าใจกันในด้านต่าง ๆ ระหว่างชนชั้นดังกล่าวและจะนำไปสู่ “การต่อสู้ทางชนชั้น” เมื่อชนชั้นหนึ่งเกิดความรู้สึกว่า ชนชั้นตนนั้นเป็นชนชั้นที่ถูกเอาเปรียบ

การศึกษาเรื่อง “การจัดลำดับชนชั้นทางสังคม” ช่วยให้สามารถเข้าใจถึง โครงสร้างทางสังคม เช่น ช่วยให้ทราบว่าชนชั้นในสังคมหนึ่ง ๆ นั้นมีกี่ชนชั้น และ ในแต่ละชนชั้นนั้น มีจำนวนมากน้อยเท่าใด นอกจากนั้น ยังช่วยให้ทราบพฤติกรรมทางสังคมของบุคคล เช่น การร่วมมือ, การประสานงาน, การขัดแย้ง, ตลอดจนผลประโยชน์และทิศทางของความสนใจระหว่างสมาชิกของชนชั้นต่าง ๆ ขอยกตัวอย่างเช่น สังคมที่มีชนชั้นมากมายและมีช่องว่างระหว่างชนชั้นห่างไกลกันมาก คือ คนรายก็รวยจนล้นฟ้า ส่วนคนจนก็ชนิดไม่มีผ้าจะนุ่ง ทิศทางแห่งความสนใจของคนในแต่ละชนชั้นย่อม แตกต่างกัน กล่าวคือ คนรวยก็จะพูดคุยกันถึงเรื่องคฤหาสน์ กองมรดก รถเก๋งรุ่นใหม่ งานปาร์ตี้หรูระยับ ส่วนคนจนก็จะปรับทุกข์กันถึงเรื่องหนี้สินความทุกข์ยากภายในครอบครัว เหล่านี้เป็นต้น



“ช่องว่าง” ระหว่างชนชั้นเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของสังคม เพราะชนชั้น ต่าง ๆ ย่อมรักษาผลประโยชน์ของชนชั้นของตน ทำให้เกิดความขัดกันระหว่างชนชั้น

จากการศึกษาประวัติศาสตร์ของสังคมมนุษย์ทำให้ทราบได้ว่า ความปั่นป่วน ยุ่งเหยิงและการต่อสู้ที่เกิดขึ้นในสังคมนั้น มักมีสาเหตุมาจากการขัดกันระหว่างชนชั้น อันนำไปสู่การกดขี่ข่มเหง การดูถูกเหยียดหยามของผู้ที่มีมากกว่าต่อผู้ที่มีน้อยกว่า ความน้อยเนื้อต่ำใจของฝ่ายที่ไม่มีต่อฝ่ายที่มี ความหวาดระแวงสงสัยและความแตกสามัคคีในหมู่สมาชิกของสังคมในที่สุด เพราะฉะนั้นหลายสังคมจึงได้หาวิธีการที่จะ อุดช่องว่างหรือทำให้ช่องว่างนี้แคบเข้าโดยการนำระบบสังคมนิยม (Socialism) มาใช้

อ่านต่อ  >>>>>

<<< สารบัญ >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย