สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
สังคมวิทยา
<<< สารบัญ >>>
การจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม (Social Stratification)
รูปแบบของการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
การจัดลำดับชนชั้นทางสังคมเป็นระบบซึ่งใช้แบ่งแยกระดับความแตกต่างของตำแหน่งของแต่ละบุคคล
ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงระดับของคนในแต่ละสังคม แต่ละบุคคล แต่ละกลุ่ม
การจัดลำดับชนชั้นทางสังคม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1) วรรณะ (Caste)
2) ฐานันดร (Estate)
3) ชนชั้น (Class)
1) วรรณะ
เป็นระบบการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม โดยเน้นถึงความสัมพันธ์ของสถานภาพ ซึ่งจำกัดบุคคลที่จะให้ได้รับสถานภาพสูงขึ้นกว่า เมื่อเขาเกิดระบบวรรณะเป็นระบบช่วงชั้น ซึ่งมีรูปแบบที่แน่นอน
ลักษณะบางอย่างของวรรณะ
1. เจาะจงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคม
2. สมาชิกในวรรณะหนึ่งสืบทอดคนในวรรณะเดียวกัน
โดยสมาชิกมีแบบแผนแห่งชีวิตที่แน่นอน โดยการเกิดอยู่ในครอบครัวในวรรณะนั้น ๆ
สมาชิกใหม่จะเป็นส่วนหนึ่งแห่งวรรณะนั้นด้วย
3. ถ้าประพฤติผิดกฎเกณฑ์ข้อบังคับของวรรณะนั้น ๆ จะถูกขับออกจากวรรณะ
เรียกว่า จัณฑาล
4. วรรณะจะมีการเขยิบขึ้นหรือลงได้โดยเป็นไปทั้งวรรณะ
แต่มิใช่บุคคลใดบุคคลหนึ่งในวรรณะ
ตัวอย่างของระบบวรรณะที่เห็นได้ชัด ได้แก่ อินเดีย
ซึ่งมีการแบ่งวรรณะออกเป็นวรรณะใหญ่ 4 วรรณะ คือ
1. พราหมณ์ ได้แก่ พวกนักบวชซึ่งได้รับการยกย่อง
2. กษัตริย์ ได้แก่ พวกนักรบ
3. แพศย์ ได้แก่ พ่อค้า
4. ศูทร ได้แก่ กรรมกร
2) ฐานันดร
เป็นระบบการแบ่งช่วงชั้นซึ่งเข้มงวดน้อยกว่าวรรณะ
แต่ก็ยังเกี่ยวข้องกับประเพณีและความไม่เปลี่ยนแปลง
ซึ่งขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของบุคคลต่อที่ดิน
การเขยิบฐานะเป็นไปได้และมีศาสนาค้ำจุนเหมือนระบบวรรณะ
ระบบฐานันดรเป็นระบบที่มีกฎหมายกำหนดสิทธิหน้าที่ของคนแตกต่างกันไป เช่น
พวกขุนนางและพระ มีอภิสิทธิมาก ชาวนาต้องแบกภาระหน้าที่หนัก
ฐานันดรมีใช้กันตั้งแต่สมัยกลางของ ยุโรป เดิมมีเพียงสองฐานันดร ได้แก่
ฐานันดรนักบวชและฐานันดรขุนนาง ต่อมามี เพิ่มขึ้นอีก เช่น ฐานันดรพ่อค้า สามัญชน
3) ชนชั้น
เป็นระบบที่มีอยู่ในสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่
ทั้งนี้
เพราะกฎเกณฑ์ในการแบ่งชนชั้นนั้นมีแนวโน้มเป็นกฎเกณฑ์ในทางเศรษฐกิจมากกว่ากฎเกณฑ์ในด้านอื่น
ๆ อนึ่ง บางสังคมนั้น ความมั่นคงทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งเดียวที่สังคมใช้เป็นมาตรฐาน
ในการจัดและกำหนดชั้นระหว่างบุคคล ในระบบดังกล่าวนี้ เรียกกันว่า
เป็นการแบ่งชั้นทางสังคม โดยกฎเกณฑ์ที่มีมติเดียว ซึ่งอาจแบ่งออกได้โดยทั่วไปเป็น 3
ชั้น คือ
1. ชนชั้นสูง ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่มีหลักทรัพย์และรายได้สูง
2. ชนชั้นกลาง ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่มีหลักทรัพย์และรายได้ปานกลาง
3. ชนชั้นต่ำ ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่มีหลักทรัพย์และรายได้ต่ำ
วอร์เนอร์
นักสังคมวิทยาชาวอเมริกันได้ทำการศึกษาเรื่องช่วงชั้นทางสังคมในแนวใหม่
ชนชั้นในความหมายของวอร์เนอร์ เห็นว่า
เป็นการแบ่งโดยดูถึงความเหนือกว่าและด้อยกว่าของสมาชิกของชุมชน
การแจกแจงตำแหน่งขึ้นกับเกณฑ์ เช่น รายได้ ความมั่นคง การศึกษา อาชีพ ฯลฯ
ซึ่งวอร์เนอร์ ได้แบ่งไว้เป็น 6 ระดับ คือ
1. ชนชั้นสูระดับสูง (Upper-upper class)
กลุ่มนี้จะเป็นพวกปัญญาชนที่มีตระกูลเก่าแก่ขึ้นกับการมีความมั่งคั่ง ผู้ดีเก่า
2. ชนชั้นสูงระดับต่ำ (Lower-upper class) กลุ่มนี้อาจจะรวยกว่าพวกชนชั้นสูงระดับสูง แต่เป็นพวกใหม่ กิริยามารยาทยังไม่สุภาพนัก มีการศึกษาไม่สูงนัก
3. ชนชั้นกลางระดับสูง (Upper-middle class) เป็นครอบครัวที่ประสบความสำเร็จในอาชีพปานกลาง
4. ชนชั้นกลางระดับต่ำ (Lower-middle class) มีอาชีพเป็นพวกเสมียน พนักงาน คนมีฝีมือ พวกนี้จะขยันทำงานตามอุดมคติ มีการไปจัดและร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
5. ชนชั้นต่ำระดับสูง (Upper-lower class) ได้แก่ พวกคนงานกรรมกรที่ไม่ค่อยมีฝีมือ เป็นพวกที่ให้ความเชื่อถือได้ ชอบความสะอาดเป็นระเบียบ
6. ชนชั้นต่ำระดับต่ำ (Lower-lower class) ได้แก่ พวกคนงานหรือกรรมกรที่ไม่มีฝีมือ
<<< สารบัญ >>>