สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สังคมวิทยา

<<< สารบัญ >>>

การจัดระเบียบทางสังคม (Social Organization)

การควบคุมทางสังคม (Social control)

ความหมาย

ตามความเห็นของ Gillin and Gillin การควบคุมทางสังคมเป็นเรื่องของ การบังคับให้สังคม (คน) ได้พยายามปฏิบัติตามคำสั่งหรือระเบียบที่สังคมวางไว้

Gillin and Gillin อธิบายว่า การควบคุมทางสังคมเป็นระบบของมาตรการ ข้อแนะนำ ข้อโอ้โรม ข้อห้ามปราม และข้อบังคับ ซึ่งพฤติกรรมหรือกลุ่มย่อยจะเป็น การบังคับทางพลังกายหรือบังคับทางสังคมก็ตามให้ยอมรับกฎเกณฑ์ที่สมาชิกของสังคมกำหนดขึ้น

ตามความเห็นของผู้เขียน การควบคุมทางสังคมน่าจะเป็นวิธีการใดวิธีการหนึ่ง บังคับให้คนในสังคมกระทำตามบรรทัดฐานของสังคม

เครื่องมือในการควบคุมทางสังคม (Agencies of social control)

การอยู่ร่วมกันเป็นสังคมมนุษย์และมีการวางระเบียบกฎเกณฑ์ขึ้นเป็น แนวทางสำหรับทุกคนในสังคมปฏิบัติตามเพื่อความสงบสุข ความราบรื่นตลอดถึง ความมั่นคงของสังคมนั้น ก็มิได้หมายความว่า ทุกคนในสังคมจะปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนนี้อย่างเข้มงวดจริงจัง ปกติมักจะมีผู้ฝ่าฝืนและหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของสังคมอยู่เสมอ จำเป็นที่สังคมต้องหาทางบังคับควบคุมให้บุคคลรักษาระเบียบของสังคมให้ได้ การที่จะควบคุมสังคมให้ได้นั้นต้องมีเครื่องมือหรือตัวแทนของการควบคุมสังคมดังต่อไปนี้

1) การควบคุมโดยผ่านความเชื่อ (Control Through Belief) ในสังคม หนึ่ง ๆ ย่อมมีความเชื่อถือไม่เหมือนกัน เช่น ในเรื่องความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่มี ตัวตน แต่คนก็ย่อมเกรงกลัวในอิทธิฤทธิ์อภินิหารของสิ่งเหล่านั้น เช่น เทพเจ้า เจ้าพ่อ เจ้าแม่ ศาลพระภูมิ รวมทั้งต้นโพธิ์ ต้นไม้ใหญ่ หรือคนกราบไหว้บูชา ความเชื่อใน สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ อาจทำให้คนเกรงกลัวไม่กล้ากระทำผิดได้

2) การควบคุมโดยการเสนอแนะแนวทาง (Control by Social Suggestion) การเสนอแนะเป็นมาตรการอันหนึ่งในการควบคุมสังคม เมื่อผู้เสนอแนะเป็นผู้มีชื่อเสียงหรือผู้ที่สังคมเคารพนับถือ

3) การควบคุมโดยศาสนา (Control by Religion) ศาสนากับการบังคับแบบเหนือธรรมชาติได้เป็นปัจจัยอันสำคัญในการควบคุมสังคม ศาสนาได้โยงความสัมพันธ์ของมนุษย์เข้ากับพลังเหนือธรรมชาติที่รู้กันในฐานะพระเจ้า และแนะนำมนุษย์ให้กระทำตามจุดมุ่งหมายหรือกฎเพื่อเข้าถึงพระเจ้า แบบอย่างของสังคมส่วนมากจะค้านศีลธรรมหรือพฤติกรรมอันมีส่วนสร้างขึ้นมาโดยศาสนา สถาบันทางศาสนาจึงเป็น สิ่งสำคัญในการควบคุมทางสังคม

4) การควบคุมโดยอุดมคติทางสังคม (Control by Social Ideals) อุดมคติทางสังคมก็เป็นมาตรการอันหนึ่งที่จะควบคุมสังคมได้ ในเมื่อผู้นำของประเทศ ได้ปลุกระดมให้ประชาชนของประเทศมีอุดมคติอันแน่วแน่ เช่น ฮิตเลอร์ เลนิน และคานธี เป็นต้น



5) การควบคุมโดยงานพิธี (Control of Ceremony) ในชีวิตของมนุษย์ได้เกี่ยวข้องกับงานพิธีต่าง ๆ มากมาย เช่น งานวันเกิด งานแต่งงาน หรือแม้แต่งานพิธีของคนตาย Maciver anc Page เชื่อว่า “รูปแบบงานพิธี เป็นงานการสร้างวิธีการอย่างมี รูปแบบให้มนุษย์ประทับใจถึงความสำคัญของเรื่องราวหรือโอกาสแห่งการประกอบ พิธีการนั้น พิธีกรรมยังเร่งเร้าความรู้สึกในหัวใจของมนุษย์ทั้งหมดให้มีความปรารถนาอันสูงส่งจนกระทั่งกลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งคุณค่าของชีวิต ซึ่งก็เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะควบคุมสังคมได้

6) การควบคุมโดยศิลปะ (Control by Arts) ความเป็นศิลปะต่าง ๆ เป็นเครื่องมือควบคุมทางสังคมชนิดหนึ่ง เพราะศิลปะมีรูปแบบของการกระทำของคน เช่น ในชีวิตประจำวันของพวกเรา ศิลปะได้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของกันอย่างลึกซึ้ง เมื่อเสียงดนตรีทำให้กลายเป็นเครื่องผ่อนคลายอารมณ์ได้อีกอย่างหนึ่ง เพลงมาร์ชในยามสงครามยังเร่งเร้าปลุกอารมณ์ให้คิดที่จะฆ่ากันได้

7) การควบคุมโดยผ่านความเป็นผู้นำ (Control Through Leadership) ความสามารถในการให้การแนะนำเรื่องคุณภาพส่วนบุคคลตามสถานที่ทำงานต่าง ๆ สมาคมหรือบริษัทจะใหญ่หรือเล็กมีความจำเป็น ผู้นำที่มีความสามารถในหน้าที่การงาน ยิ่งในสังคมสมัยใหม่อันสลับซับซ้อน ความเป็นผู้นำมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะควบคุมสังคมให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

8) การควบคุมทางสังคมโดยผ่านกฎหมายและการบริหารงาน (Social Control Through Law and Administration) กฎหมายเป็นเรื่องกฎข้อบังคับให้บุคคลยอมรับการปฏิบัติตาม หากใครฝ่าฝืนหรือละเมิดกฎหมายย่อมได้รับโทษานุโทษ บุคคลมีความเกรงกลัวกฎหมาย

นอกจากนั้น กฎหมายยังอ้างถึงตัวแทนพลังอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ กลไกการบริหารของรัฐ ซึ่งก็ใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนทางสังคมได้ด้วย

9) การควบคุมโดยผ่านศีลธรรม (Control Through Morals) การที่บุคคลมีความรับผิดชอบในหน้าที่จะทำอะไรลงไปก็รู้ว่าสิ่งนั้นดี สิ่งนั้นไม่ดี ทุกคนตั้งอยู่ใน ศีลธรรมอันดี ย่อมก่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย นั่นคือ การควบคุมทางสังคมอย่างหนึ่งนั่นเอง

อ่านต่อ  >>>>>

<<< สารบัญ >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย