สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
สังคมวิทยา
<<< สารบัญ >>>
ลักษณะของสังคมวิทยา
วิธีการศึกษาสังคมวิทยาแบบวิทยาศาสตร์
เป็นที่ทราบกันแล้วว่า สังคมวิทยานั้น เป็นการศึกษาพฤติกรรมของคนในสังคมแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะต้องมีลักษณะดังนี้
1) เป็นความรู้ที่สามารถพิสูจน์ได้
2) เป็นความรู้ที่เชื่อถือได้ มีหลักฐานยืนยัน
ไม่เป็นเพียงการคาดคะเนหรือเดาเอาเท่านั้น
3) ต้องเป็นระบบและมีวิธีการหาความรู้
4) ต้องมีความเที่ยงตรง ทดลองกี่ครั้งก็ได้ผลออกมาเช่นเดิม
วิธีการที่จะนำมาใช้ในการค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับสังคมวิทยาแบบวิทยาศาสตร์นั้น จะต้องประกอบไปด้วยหลักใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้
1) Objectivities หมายถึง การรวบรวมผลงานหรือข้อยุติที่ได้จากการสำรวจอย่างถูกต้อง ปราศจากอคติ ไม่ลำเอียงใด ๆ อันเนื่องมาจากเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพ และอื่น ๆ
2) Relativism ต้องมีความรู้สึกนึกคิดที่ว่า ความรู้ได้ในวันนี้ อาจจะยังไม่ยุติหรือยังไม่จริงเสมอไป แต่ก็เป็นจริงจนกว่าคนอื่นจะหาหลักฐานมากโต้แย้งได้
3) Ethical Neutrality ต้องมีอุเบกขาหรือมีความเป็นกลางทางศีลธรรมจรรยา เช่น ไม่แสดงออกไปว่า สิ่งนั้นผิด สิ่งนี้ถูก สิ่งนั้นดี สิ่งนี้เลว นักวิทยาศาสตร์สนใจเฉพาะความเป็นจริงในปรากฏการณ์นั้น ๆ เท่านั้น
4) Persimony เมื่อการอธิบายปรากฏการณ์ใด ๆ แจ่มชัดแล้ว ไม่จำเป็นต้องอธิบายให้ยืดยาวต่อไป เช่น ลมพัดใบไม้ ใบไม้ไหวเพราะพลังธรรมชาติ นั่นคือ ไม่จำเป็นต้องอธิบายต่อไปว่า พลังธรรมชาติอาจจะมีผีสิงอยู่ก็ได้ ฯลฯ
5) Skepticism การศึกษาวิทยาศาสตร์ต้องขจัดความสงสัยออกไป เมื่อมิให้เกิดความเบื่อหน่าย มีจิตอันแน่วแน่
6) Humility นักวิทยาศาสตร์ต้องมีความถ่อมตนในเรื่องความรู้และรู้สึกเสมอว่าความรู้ที่ยังแสวงหาไม่พบยังมีมากอยู่
<<< สารบัญ >>>