สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
สังคมวิทยา
<<< สารบัญ >>>
ลักษณะของสังคมวิทยา
ประวัติความเป็นมาของสังคมวิทยา
สังคมวิทยาเป็นวิชาใหม่ เนื้อหาวิชามีความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาสังคม
วิชานี้มีอดีตอันยาวนาน แต่กลับมีอดีตอันสั้น ตั้งแต่แรกเริ่มของวารยธรรม
เรื่องของสังคมเป็นเรื่องที่มนุษย์ให้ความสนใจ มีเหตุผลพอจะกล่าวได้ว่า
บทความของเพลโต (The Republic of Plato)
เป็นข้อเขียนที่ยิ่งใหญ่อันแรกเกี่ยวกับความรู้ทางสังคมวิทยา
ในเรื่องประเพณีของสังคมตะวันตก ขณะเดียวกัน Analects
ของขงจื้อก็เป็นเรื่องของความรู้ทางสังคมวิทยาของสังคมตะวันออก
แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง อาจจะกล่าวว่า
ได้ให้ความรู้ทางด้านสังคมวิทยามานานแล้วเช่นกัน เพราะพระองค์ได้ทรงรู้แจ้งเห็นจริง
ในสภาพของชีวิตมนุษย์ในทุกแง่ทุกมุม โดยอาศัยการค้นคว้าหาความเป็นจริงทางสังคม
(Social Facts) ว่าอะไรดี อะไรชั่ว และให้ข้อคิดในทางที่ถูกที่ควร
สำหรับสิ่งที่จะนำผลดีและผลเสียมาสู่สังคม ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่า
การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสังคมมนุษย์มีมานานแล้วก็จริง
แต่สังคมวิทยาเพิ่งมาแยกออกเป็นวิชาหนึ่งและเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง
เมื่อราวร้อยกว่าปีมานี้เอง เดิมนั้น วิทยาศาสตร์ทั้งหลายเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญา
แล้วต่างก็แยกตัวออกมาเป็นวิชาหนึ่ง ๆ ดาราศาสตร์กับฟิสิกส์เป็นพวกแรก
ต่อมาก็เป็นเคมี ชีววิทยา และธรณีวิทยา พอในคริสต์ศตวรรษที่ 19
มีวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นใหม่สองแขนง ได้แก่ จิตวิทยา
ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ว่าด้วยพฤติกรรมของมนุษย์ และสังคมวิทยา
ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ว่าด้วยสังคมมนุษย์
สังคมวิทยามีส่วนประกอบสำคัญสองประการ ประการแรก
เกิดจากการที่มนุษย์ให้ความสนใจเกี่ยวกับสวัสดิการสังคม (Social Welfare)
และการปฏิรูปสังคม (Social Reform) ประการที่สอง
เกิดจากความสนใจในทางปรัชญาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ทั้งสองประการ
ประกอบกันเข้าเป็นสังคมวิทยา ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจพอสมควร
แต่ยังไม่จำเป็นต้องนำมากล่าวในที่นี้
สังคมวิทยาประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ คำว่า Socius ซึ่งหมายความว่า
เพื่อนหรือ ผู้คบหาสมาคม และ Logos ซึ่งหมายความว่า คำพูดหรือถ้อยคำ
เมื่อรวมทั้งสองคำเข้าด้วยกัน ก็แปลว่า การพูดคุยเกี่ยวกับสังคม ซึ่งคล้ายกับคำว่า
Sociology ที่หมายถึง การพูดคุยเกี่ยวกับพื้นแผ่นดิน อย่างไรก็ตาม Socius
เป็นคำภาษาละติน แต่คำว่า Logos เป็นภาษากรีก
ศาสตร์แขนงใหม่นี้จึงเป็นการรวมคำที่ไม่ถูกต้อง เพราะมาจากสองภาษา ต่อมาในศตวรรษที่
19 นักปราชญ์ชาวอังกฤษชื่อ John Stuat Mill เสนอให้ใช้คำว่า Ethnology
(ชาติพันธ์วิทยา) เพราะเป็นคำกรีกแท้ ๆ แต่ไม่มีใครนำมาใช้ พอปลายศตวรรษที่ 19
Herbert Spencer ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับสังคมและใช้คำว่า Sociology
เป็นหัวข้อผลงานของเขา ว่า Sociology จึงเป็นที่นิยมแพร่หลาย
นักสังคมวิทยารุ่นแรก แม้จะอ้างตนเองเลื่อมใสในวิธีการศึกษาตามหลัก
วิทยาศาสตร์
แต่ก็ยังไม่เคร่งครัดในวิธีการรวบรวมข้อมูลและการใช้เหตุผลความคิดของพวกนี้จึงมีลักษณะแบบเพ้อฝันหรือยึดมั่นในความเชื่อบางอย่างที่ไม่อาจจะพิสูจน์ได้
Robert Merton ได้กล่าวไว้อย่างน่าคิดว่า สังคมวิทยาเป็นศาสตร์ใหม่
แต่ก็มี เนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เก่ามาก
ความเป็นมาของวิชานี้ได้เริ่มขึ้นในปลายศตวรรษที่ 18
ซึ่งอาจจะเรียงลำดับ ให้เห็นเป็นยุคสมัยได้ คือ
Auguste Comte (1798 1857)
เป็นนักวิชาการชาวฝรั่งเศสคนแรกที่ได้เขียนตำราความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องสังคม
เขาเชื่อว่า วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งมีระเบียบและ มีเหตุผลแน่นอน เขาเห็นว่า
ควรจะศึกษาสังคมในรูปของวิทยาศาสตร์สังคม ซึ่งนับว่า Comte เป็นผู้ใช้คำว่า
สังคมวิทยา เป็นคนแรก
ผู้ที่ได้เริ่มใช้วิชาสังคมวิทยาต่อมาก็เป็นชาวฝรั่งเศส ชื่อ Emile
Durkheim (1858 1917) ดังนั้น ท่านผู้นี้จึงได้ชื่อว่า เป็นผู้ให้กำเนิดวิชานี้
เพราะเป็นผู้เริ่มในการนำวิชาสังคมวิทยามาปฏิบัติในสภาพของความเป็นจริง
นักวิชาการชาวเยอรมัน ชื่อ Max Weber (1864 1920)
ได้ให้ทฤษฎีพื้นฐานและทฤษฎี ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานของสังคมวิทยาสมัยใหม่
ท่านผู้นี้เป็นผู้มีจินตนาการอย่างลึกซึ้งและกว้างไกลเกี่ยวกับวิชาการดังกล่าวนี้
ในตอนต้นศตวรรษที่ 20 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เนื่องจาก
อุตสาหกรรมและการรวมตัวขึ้นเป็นนคร การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
ทำให้เกิดปัญหาสังคมมากมาย ดังนั้น นักสังคมวิทยาจึงได้ให้แนวความคิดเห็นว่า
จะต้องมีการปฏิรูปและจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของวิวัฒนาการทางสังคม
เพื่อที่จะสร้างสังคมใหม่ที่ดีกว่าและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
สังคมวิทยาพัฒนาอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฝรั่งเศส
เยอรมัน และก้าวหน้าอย่างมากในสหรัฐอเมริกา แม้ว่าความก้าวหน้าจะมีแนวทางแตกต่างกัน
ก็ตาม อย่างไรก็ดี ทั้ง ๆ ที่ Mill และ Spencer เป็นผู้เริ่มในด้านนี้
แต่วิชานี้ก็ไม่ค่อยจะแพร่หลายในอังกฤษเหมือนในประเทศอื่น ๆ
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
นักสังคมวิทยาได้หันมาใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น คือ ได้มีพวกจิตวิทยาสังคม
เช่น George Herber Mead และ Charles Horton Cooley
ได้วางรากฐานเกี่ยวกับทฤษฎีสังคมแผนใหม่ Robert Pork และ Ernest Burgess
ก็ได้ยึดวิธีการทางวิทยาศาสตร์
โดยพิจารณาเกี่ยวกับความสำคัญของสภาพแวดล้อมของมนุษย์ที่เรียกกันว่า นิเวศวิทยา
ซึ่งนำไปสู่สังคมวิทยานคร อันเป็นแขนงย่อยของวิชาสังคมวิทยา
วิชาสังคมวิทยาในปัจจุบัน นับเป็นวิชาการสากล
ได้มีการประชุมระหว่างประเทศและวารสารวิชาการจากประเทศต่าง ๆ แต่ปรากฏว่า
วิชานี้ได้ขยายตัวอย่าง มากมายในสหรัฐอเมริกา สาเหตุหนึ่งก็คือว่า
ในตอนต้นศตวรรษที่ 20 สหรัฐอเมริกาได้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมขนาดใหญ่
เนื่องจากการเติบโตของกิจการอุตสาหกรรมและการเกิดของเมืองทำให้เกิดปัญหาสังคมมากมายนี้
ได้เป็นพลังผลักดันให้ นักสังคมวิทยาเกิดความเชื่อว่า
หากบุคคลได้เข้าใจกฎแห่งการวิวัฒนาการทางสังคมแล้วก็จะทำให้บุคคลนั้นมีความเข้าใจเกี่ยวกับโลกของตนเองได้ดียิ่งขึ้น
เมื่อเกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งตามมาด้วยสงครามโลกครั้งที่ 2
ปัญหาเหล่านี้ได้ผลักดันให้มนุษย์ได้สนใจในวิชาสังคมวิทยามากขึ้น
จนกระทั่งมหาวิทยาลัยทั้งหลายได้กำหนดหลักสูตรในวิชานี้และมีผู้ศึกษาสังคมวิทยาอย่างกว้างขวางขึ้น
สำหรับประเทศไทย วิชาสังคมวิทยายังเป็นวิชาใหม่
ยังไม่ค่อยรู้จักและเข้าใจกันดีนักและเพิ่งเริ่มนำเข้ามาในสถาบันอุดมศึกษาเมื่อประมาณปี
พ.ศ. 2500 อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
เริ่มสนใจและเปิดสอนกันมากขึ้น มีรายวิชาที่เปิดสอนมากขึ้น
<<< สารบัญ >>>