สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
สังคมวิทยา
<<< สารบัญ >>>
ลักษณะของสังคมวิทยา
ความหมายของสังคมวิทยา
สังคมวิทยาเป็นการศึกษาหรือเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
เป็นการให้ข้อเท็จจริงและใช้วิธีการในทางวิทยาศาสตร์เข้ามาประกอบ เพื่อจะให้ผล
ตรงกับสภาวะที่เป็นจริงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
นักเขียนบางคนไม่ชอบให้คำจำกัดความ เพราะเห็นว่า
เป็นการยากที่จะสร้างขึ้นและยังง่ายต่อการเข้าใจผิดด้วย คนบางคนอาจจะโต้แย้งว่า
อารัมภบททั้งหมดที่กล่าวมาเป็นคำจำกัดความที่ยายออกไป อย่างไรก็ตาม
ผู้ศึกษาอาจจะค้นพบประโยคที่สั้น ๆ ย่อ ๆ ที่ใช้ประโยชน์ได้บ้างเหมือนกัน
ตัวอย่างเช่น
P. A. Sorokon กล่าวว่า สังคมวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ทั่ว ๆ
ไปเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมของสังคม โดยดูจากรูปทั่ว ๆ ไป ชนิด
และความสัมพันธ์อัน ซับซ้อน
Kovalevsky กล่าวว่า
สังคมวิทยเป็นศาสตร์ของการจัดระเบียบและการ เปลี่ยนแปลงทางสังคม
Max Weber อธิบายว่า
สังคมวิทยามุ่งศึกษาเพื่อกำหนดแบบแนวความคิดต่าง ๆ
และหาหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งที่ปรากฏที่เป็นแบบเกี่ยวกับของขบวนการที่เกิดขึ้นตามสภาพความเป็นจริง
สังคมวิทยาแตกต่างกับประวัติศาสตร์ตรงที่ว่า ประวัติศาสตร์ มุ่งศึกษาเหตุการณ์เฉพาะ
วิเคราะห์หาสาเหตุ และอธิบายพฤติกรรมที่สำคัญของบุคคล สถาบัน
และบุคลิกภาพพิเศษบางอย่าง
Small เห็นว่า เป็นการศึกษาขบวนการทางสังคม
Durkheim กล่าวว่า สังคมวิทยาเป็นศาสตร์เกี่ยวกับสถาบัน
เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด และการปฏิบัติหน้าที่ของสถาบัน
ตามความเห็นของ E. Tiryakian
สังคมวิทยานั้นเป็นศาสตร์ที่มุ่งหาความรู้หรือหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับสภาพทั่วไปทางสังคมของมนุษย์ในลักษณะเฉพาะและทั่วไป
เหตุผลสำคัญในการศึกษานั้น ก็คือ ต้องการพิสูจน์ข้อสมมุติฐานของ Aristotle ที่ว่า
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมหรือสัตว์การเมือง
สรุปแล้ว สังคมวิทยา เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคม
ความสัมพันธ์เหล่านั้น ไม่ว่าในรูปใด ๆ หรือเพื่อวัตถุประสงค์อันใด
มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ในการดำรงอยู่ต่อไปของสังคม สังคมวิทยา เชื่อว่า
ความสัมพันธ์เหล่านี้ ประกอบกันเป็นโครงสร้างของสังคม
มีอิทธิพลอย่างมากเหนือพฤติกรรมของมนุษย์ จากความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อกัน
ทำให้เขาได้เรียนรู้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ และพัฒนาบุคลิกภาพ นิสัยใจคอ ความคิดเห็น
และแบบของการดำเนินชีวิต ซึ่งส่วนหนึ่งก็ได้ขึ้นอยู่กับการอบรมที่เขาได้รับมา
<<< สารบัญ >>>