ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

พลังโอสถทิพย์

สายปัจฉิม : สำนักเต๋าประเทศจีน

ความหมาย "ฉี้กง"

คำว่า "ฉี" (พลัง) และคำว่า "ฉี้กง"
            "ฉี้" (พลัง) เป็นความนึกคิดขั้นพื้นฐานของปรัชญา และหลักวิทยาศาสตร์ของจีนโบราณ ไม่ใช่อากาศที่คนหายใจเข้าออก คนโบราณมีความเห็นว่า "ฉี้" (พลัง) คือแหล่งกำเนิดของสรรพสิ่งในจักรวาล และเป็นพลังชีวิตที่มีอยู่อุดมสมบรูณ์ในจักรวาล
              ส่วน "ฉี้กง" นั้น เป็นคำศัพท์เพื่อสรุปความหมายที่ผ่านการพิจารณาของคนยุคปัจจุบัน ความหมายของศัพท์นี้คือ จิตต์และการหายใจ ที่ผ่านการฝึกฝนในรูปแบบพิเศษแล้ว สามารถเอาพลังงานชีวิตสะสมไว้ในร่างกาย เพื่อทำการเคลื่อนไหวในร่างกาย หรือให้ปรากฎการณ์เคลื่อนไหวของรูปแบบพิเศษนอกกาย การเคลื่อนไหวรูปแบบนี้ สามารถทำให้พลังหยินหยางในร่างกายเกิดความสมดุล ยกระดับสมรรถภาพของอวัยวะต่างๆ ให้สูงขึ้น เลือดลมไหงเวียนปกติ จนบรรลุผลต่อการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งทำให้ร่างกายมีสุขภาพสมบรูณ์ อายุยืน "ฉี้กง" ไม่ได้เป็นวิธีบริหารร่างกายเท่านั้น ยังเป็นเทคนิคชั้นสูงที่ชำระร่างกาย และใจให้สะอาดหมดจด รวมทั้งบุกเบิกศักยภาพที่แฝงอยู่ในร่างกายของคนให้ปรากฎด้วย
             "อี้โส่ว" (เฝ้าด้วยจิต) มีความหมายว่า ให้ใช้ความคิดและจิตใต้สำนึกสร้างจินตภาพ ให้เกิดภายในหรือภายนอกร่างกาย "อี้โสว" นี้ไม่ใช่การเฝ้าจับจ้องไม่ขยับ เพราะวิธีการของมันยังไม่ถึงขั้นใจจดใจจ่อ คืออยู่ระหว่างกลางของการเฝ้าไม่เฝ้า มีและไม่มี รวบรวมและกระจาย เพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาพการผ่อนคลายตามธรรมชาติ เป็นการเตรียมพร้อมที่จะทำสมาธิ
              "ฉุนเสี่ยง" (จินตภาพ) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "จินตภาพภายใน" หมายถึงสิ่งที่จิตจะสัมผัสนั้น ล้วนเป็นจินตภาพทั้งสิ้น เช่น จินตภาพว่า มีพลังโอสถทิพย์หล่อหลอมขึ้นที่ตันเถียนบริเวณท้องน้อย หรือมีแสงสว่างไหวไปทั่วกาย เป็นต้น
              "เน่ยซื่อ" (มองทะลุ) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ภาพสะท้อนจากภายใน" คือ การหลับตาทั้งสองข้างแล้ว จ้องมองอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดในร่างกาย
              "ฉี้กั่น" (พลังสัมผัส) ไม่ใช่ความรู้สึกเกี่ยวกับการหายใจทางจมูกหรือปาก แต่เป็น "พลังภายใน" หรือ "พลังแท้" ที่ศาสตร์ "ฉี้กง" กล่าวถึง ซึ่งทั่วไปจะเรียกว่า "ฉี้กั่น" หมายถึงความรู้สึกที่พลังแท้เกิดขึ้นภายในร่างกายกำลังอิ่มตัว กำลังกระจายและกำลังเคลื่อนไหว หากบริเวณใดของร่างกายมีอาการชา แน่น คัน หรือ ปวด ส่วนมากจะเกิดจากการเคลื่อนไหวของพลัง แต่หากมีความรู้สึกว่าร่างกายไร้น้ำหนัก ไร้รูป ส่วนมากจะเกิดจากพลังกำลังอิ่มตัว หรือกำลังกระจาย สิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้น คือสิ่งที่เรียกว่า "ฉี้กั่น"
              "อี้โส่วตันเถียนฝ่า" (วิธีใช้จิตเฝ้าตันเถียน) เนื่องจากโอสถทิพย์เกิดจากการหล่อหลอม ดังนั้น บริเวณที่ทำการหล่อหลอมจึงมีชื่อว่า "ตันชู" (บริเวณให้กำเนิดโอสถทิพย์) บริเวณตันเถียนนั้นต่างคนต่างมีเหตุผลของตนว่าอยู่ที่ไหน แต่สำหรับพลังโอสถทิพย์นี้ มีความเห็นว่าตันเถียนนั้นอยู่บริเวณภายในและภายนอกท้องน้อย ที่มีสะดือเป็นจุดศูนย์กลาง มีลักษณะเป็นวัตถุกลมใหญ่ประมาณผลแอปเปิ้ล (เป็นลักษณะการจินตภาพ) ดังนั้น "อี้โส่วตันเถียนฝ่า" จึงมีความหมายว่า ใช้จิตเฝ้าวัตถุทรงกลมนี้ไว้ คือเวลาฝึกอยู่นั้น ให้ใช้จินตภาพว่าพลังที่หายใจเข้าออกนั้น ได้เคลื่อนเข้าไปถึงตันเถียน แล้วตั้งสมาธิให้เกิดความรู้สึกว่าการหายใจเข้าออกนั้นอยู่ที่บริเวณตันเถียน ในเวลาเดียวกันก็เฝ้าสังเกต การพองและการยุบของท้องน้อย ที่เกิดจากการหายใจด้วย
               "จิง" (แก่นสาร) "ฉี้" (พลัง) "เสิน" (จิตต์) นั้น เป็นของวิเศษ 3 ชนิดในร่างกาย จิต์ หมายถึงสมรรถภาพระบบประสาทของร่างกายมนุษย์ เปรียบเสมือนเป็นไฟ ส่วนแก่นสาร หมายถึง อสุจิและน้ำคัดหลั่งภายใน (ENDOCRINE) เปรียบเสมือนน้ำ คนทั่วไปหากสิ้นเปลืองน้ำอสุจิมาก "เสิน" ซึ่งเป็นไฟจะลุกไหม้ข้างบน แล้วหากเกิดโรคภัยไข้เจ็บยังรักษาบำบัดได้ แต่ถ้าปล่อยให้น้ำอสุจิแห้ง ก็จะถึงแก่ชีวิต เป็นอาการที่ทางแพทย์จีนเรียกว่า น้ำและไฟไม่พึ่งพาอาศัยกัน (ขัดแย้งกัน) ถ้าสามารภทำให้ "เสิน" ลงสู่ที่ต่ำ แล้วทำให้ "จิง" ลอยขึ้นสูง เพื่อทำการหล่อหลอม "จิง" ให้กลายเป็น "ฉี้" และหล่อหลม "ฉี้" ให้กลายเป็น "เสิน" หล่อหลอมเป็นสิ่งเดียวกัน หรือเป็นอาการที่ทางการแพทย์จีนเรียกว่า น้ำและไฟพึ่งพาอาศัยกันแล้ว ไม่เพียงแต่จะทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงเท่านั้น ยังสามารถขลอการแก่ชราภาพด้วย
               "หยู้จิ้ง" (การทำสมาธิ) การทำสมาธินั้น เป็นพื้นฐานของการรวมจิตของผู้ฝึก จนปรากฎสภาพของอาการสงบนิ่ง และสบายกายระดับสูง ระหว่างขั้นตอนการทำสมาธินั้น การเคลื่อนไหวเพื่อเพื่อจินตนาการและครุ่นคิดถึงรูปลักษณ์ในชีวิต ประจำวันของสมองใหญ่ จะปรับเปลี่ยนเป็นการเคลื่อนไหวที่รู้สึกจากความครุ่นคิด การทำสมาธินั้น เป็นขั้นตอนสำคัญของการฝึก "ฉี้กง" เพราะศักยภาพแฝงรวมทั้งพลังอศัจรรย์ต่างๆ   ของร่างกายมนุษย์นั้น ล้วนแต่ถูกบุกเบิกออกมาจากช่วงเวลาที่กำลังทำสมาธิอยู่ทั้งสิ้น ถ้าทำสมาธิถึงระดับสูงแล้ว จะมีความรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างถูกหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียว จนสามรถสัมผัสได้ถึงแหล่วที่มาของจักรวาล สภาพของการทำสมาธิขั้นสุดยอดคือ "ความว่างเปล่า" การสัมผัสความนึกคิดของความว่างเปล่านี้ เช่นเดียวกับการค้นพบ "สูญญากาศ" ของวิชา "ควาตั้ม เมอเซนนิค" (QUANTUM MERCHANIC) มากที่สุด และในสูญญากาศของวิชา ควาตั้ม เมอเซนนิค นั้น ได้สั่งสมรูปแบบต่างๆของอาณาจักรอนุภาค จะเห็นได้ว่า สีสรรค์นั้นไม่ต่างกับความว่างเปล่าเลย ความว่างเปล่านั้นก็ไม่ได้แตกต่างกับสีสรรค์ แต่ถ้าสีสรรค์นั้นคือ ความว่างเปล่า ความวางเปล่าก็คือสีสรรค์
               "ซันเถียว" (การปรับแต่ง) ขณะทำสมาธิ คือ
  1. "เถียวเซิน" (ปรับแต่งร่างกาย) หมายถึงการปรับท่าฝึก ให้ร่างกายผ่อนคลาย การปรับร่างกายให้อยู่ในสภาพผ่อนคลายนั้น เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการฝึก "ฉี้กง"
  2. "เถียวซี" (ปรับแต่งลมหายใจ) หมายถึง การหายใจเข้าออกนั้นต้องโอนอ่อนตามธรรมชาติ เพื่อให้ลึกยาว ตามข้อกำหนดของวิธีฝึกต่างๆ คือ จะต้องปรับแต่งการหายใจตามธรรมชาติให้เป็นแบบท้อง หรือแบบหน้าอก เมื่อฝึกถึงขั้นสูงแล้ว จะกลายเป็นการหายใจในรูปแบบในครรภ์มารดา เช่นเดียวกับทารกในครรภ์ อาศัยสายสะดือหายใจ ซึ่งรูปแบบการหายใจนี้ จะมีความรู้สึกว่า ลมหายใจไม่ได้เข้าทางจมูกและปาก
  3. "เถียวซิน" (ปรับแต่งจิต) หมายถึง ปรับแต่งการกำหนดจิต เพื่อให้จิตนิ่งเป็นจริง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงการครุ่นคิดของจินตนาการ และรูปลักษณ์ต่างๆ ให้เป็นความรคุ่นคิด เพื่อให้การกำหนกจิตและการหายใจเข้าออกหล่อหล่อมเป็นหนึ่งเดียว

                     "อูซีฝ่า" (วิธีหายใจ) วิธีหายใจแบ่งออกเป็นการหายใจด้วยต้นคอ รูปแบบหน้าอก รูปแบบท้อง และการหายใจด้วยร่างกาย รวม 4 แบบ การหายใจด้วยต้นคอนั้นตื้น จึงเป็นวิธีหายใจที่ไม่ได้ผลที่สุด ส่วนรูปแบบหน้ากอมีประโยชน์ต่อการหายใจเข้า และหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์ ออก เพื่อฟอกโลหิตให้สะอาด เป็นวิธีหายใจตามธรรมชาติ ฐานรากของมนุษย์นั้นคือ สะดือ เด็กที่ยังอยู่ในครรภ์มารดา ได้อาศัยสายสะดือเชื่อมต่อกับรกแล้วหายใจเชื่อมโยงกับมารดา และใช้จมูกหายใจทันทีเมื่อออกจากครรภ์มารดา ดังนั้นรูปแบบการหายใจด้วยท้อง จึงต้องการให้หวนกลับไปใช้การหายใจของเด็กเล็ก (การหายใจในครรภ์) การหายใจแบบท้องยังแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ คล้อยตามและย้อนทวน รูปแบบคล้อยตามนั้น บริเวณท้องที่มีสะดือเป็นจุดศูนย์กลางจะพองตัวเวลาหายใจเข้า และยุบตัวเมื่อหายใจออก ส่วนรูปแบบย้อนทวนนั้น บริเวณท้องจะยุบเมื่อหายใจเข้า และพองเมื่อหายใจออก วิธีการหายใจแบบท้องทั้ง 2 แบบนี้ เป็นวิธีหายใจที่ใช้ประจำในเวลาที่ฝึก "ฉี้กง"   เมื่อฝึกถึงขั้นสมาธิขั้นสูง ลมหายใจเข้าออกจะไม่ผ่านปอดและรูจมูก แต่จะผ่านเข้าตามรูขุมขนแทน ซึ่งเรียกว่า "การหายใจด้วยร่างกาย" นอกจากนี้ยังมีการหายใจอีกแบบหนึ่งคือ หน้าอกท้อง ได้แบ่งออกเป็นคล้อยตามและย้อนทวน 2 ชนิดคือ แบบคล้อยตาม เวลาหายใจเข้าบริเวณหน้าอกและท้องจะพองขึ้น เวลาหายใจออกจะยุบ ส่วนแบบย้อนทวน เวลาหายใจเข้าบริเวณหน้าอกและท้องจะยุบ เมื่อหายใจออกจะพอง พลังการเคลื่อนไหวของการหายใจรูปแบบหน้าอกและท้องนั้นแรงมาก จึงมีผลสุขภาพร่างกายดีที่สุด แต่ก็เป็นเหตุให้หัวใจเต้นแรง ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคหัวใจต้องใช้ความระมัดระวัง


                  "เสินฉี้เหออี" (จิต์หล่อหลอมพลังเป็นหนึ่งเดียว) การทำสมาธิจนใกล้จะถึงจุดว่างเปล่า แต่ยังมีความรู้สึก ลักษณะเช่นนี้ เรียกว่าการเริ่มเข้าสู่อาณาจักรของสมาธิ คนโบราณบอกว่า จติต์เป็นหยิน พลังเป็นหยาง เมื่อหยินหยางหล่อหลอมเข้าด้วยกัน ก็ให้กำเนิดชีวิต เมื่อหยินหยางแยกตัวออกจะยุติ เมื่อฝึกถึงขั้นจิตต์และพลังรวมเป็นหนึ่งเดียวนั้น หมายความว่า บรรลุขั้นหยินหยางหล่อรวมเป็นหนึ่งเดียว เรียกว่า "ได้สิ่งหนึ่ง" เพราะเวลานี้จิตว่างเปล่าหมด ทุกสิ่งทุกอย่างจะรวมเป็นหนึ่งเดียว กลายเป็นอาณาจักรของน้ำไฟพึ่งพากัน จิตต์และพลังกลมกลืนกัน และเป็นการหล่อหลอมของหยินหยางครั้งแรกของร่างกาย เวลาเริ่มต้นของหนึ่งหยินและหนึ่งหยางนั้น คนโบราณเรียกว่า "สมฤทธิ์ผล" แต่ถ้าหนึ่งหยินและหยางยุติ เรียกว่า "บรรลุมรรค"
                 "สั้งสือเซี่ยซวี" (ร่างกายไม่สมดุล) ผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องการบำรุงสุขภาพ เมื่ออายุถึงวัยกลางคน หรือสูงอายุ ส่วนมากจะมีอาการความดันสูง ทำให้ส่วนบนของร่างกายหนัก ช่วงขาไม่มีกำลัง เวลาก้าวเท้าจะรู้สึกไม่คล่องตัว นั้นคือสภาพที่ไม่สมดุลของร่างกาย แต่ถ้าฝึกฝน "ฉี้กง" ด้วยทางจิตและพลังแล้ว เมื่อพลังลงสู่ตันเถียน ทุกลมหายใจสู่ช่วงล่าง จะทำให้ร่างกายเกิดความสมดุล ส่วนบนคล่องแคล่ว ส่วนล่างมีกำลัง สมองแจ่มใส หูตาสว่าง เดินเหินว่องไว
                  "อี้โส่วหั่วโฮ่ว" (ระดับการเพ่งจิต) ความพอดีของจิตที่ทำการเพ่งนั้น คือปัจจัยสำคัญของการฝึกพลัง เพราะคนไม่น้อยที่กำหนดจิตไม่พอดี จนเกิดโทษต่อร่างกาย ดังนั้น ผู้ฝึกจะต้องใช้ความรู้สึกทางร่างกายมาปรับแต่งให้หนักเป็นเบา และเบาไปหาหนัก จนอยู่ในระดับพอดี และจากการฝึกฝนทำให้ได้รู้ว่า ถ้าตั้งจิตเบาเกินไป สมองจะคิดถึงเรื่องจิปาถะ จิตไม่สามรถเพ่งมองตันเถียน ถ้าหากหนักเกิน แม้เรื่องจิปาถะจะลดลง แต่จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดหัว และสมองตึงเครียด แล้วจุดไหนคือความพอดี ตามความรู้สึกของคนสมัยโบราณ ท่นเหล่านั้นลงความเห็นว่า "อย่าเจาะจงใช้จิตเฝ้า แต่ต้องตั้งมั่นจิต เจาะจงนั้นคือรูป ไม่มั่นก็ป่วยการ ควรจะอยู่กึ่งกลาง ร่ำไรเหมือนเฝ้าตาม" ผู้ที่เริ่มฝึกเรียนนั้น การใช้จิตเพ่งนั้นต้องหนักกว่าจุดกึ่งกลางเล็กน้อย เพราะสามารถขจัดความคิดจิปาถะ แต่ต้องอยู่ภายใต้สภาพว่าไม่ปวดศรีษะ หรือสมองตึงเครียด และมีอารมณ์แจ่มใสเป็นเกณฑ์ เมื่อเวลาฝึกของแต่ละครั้งเพิ่มขึ้น ระดับการเพ่งของจิตนั้นควรค่อยๆ ลดเบาลง

ฉี้กงและพลานามัย
ประวัติย่อพลังโอสถทิพย์
การผ่อนคลาย
วิธีโน้มนำ 8 ท่า
พลังช่วยเสริม
ความหมาย "ฉี้กง"
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการฝึก
โรคที่เหมาะแก่การรักษา
  

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย