ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

คู่มือทำวัตรกรรมฐาน

ของ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน)

คำนำ

หนังสือทำวัตร และคำอาราธนาพระกรรมฐานเล่มนี้ เป็นของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร(สุกไก่เถื่อน)   อันสืบทอดมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา การพิมพ์ครั้งนี้เป็นการพิมพ์พระกรรมฐานสามลำดับแรกเป็นหลักสำหรับผู้เริ่มแรกเรียนพรกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ  ฝ่ายเถรวาท ซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวก ที่ได้วางหลักพระธรรมวินัย และธรรมปฏิบัติเป็นแบบแผนไว้เมื่อครั้งปฐมสังคายนา และนับถือแพร่หลายในประเทศ ไทย พม่า ลังกา ลาว และกัมพูชา อันเป็นของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถร (สุก ไก่เถื่อน)มีบททำวัตรกรรมฐาน พร้อมทั้งบทขอขมา และบทกรวดน้ำอุทิศกุศล

พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร  คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม

คำบูชาพระรัตนไตร

โยโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ  อิเมหิ สักกาเรหิ  ตัง ภะคะวันตัง อะภิ-ปูชะยามิฯ(หลายคนเปลี่ยน มิ เป็น มะ)

โยโส   สะวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม         อิเมหิ  สักกาเรหิ  ตัง  ธัมมัง    อะภิปูชะยามิ

โยโส สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อิเมหิ    สักกาเรหิ  ตัง สังฆัง    อะภิปูชะยามิ

 

คำเจริญไตรสรณาคม

            อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง  อะภิวาเทมิ (กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม         ธัมมัง นะมัสสามิ(กราบ)

            สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ           สังฆัง นะมามิ(กราบ)

 บททำวัตรพระ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ(ว่า  ๓ หน)

พุทธัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา จะระณะสัมปันโน สุคะโต

โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ

ภะคะวาติ ฯ

     เย จะ พุทธา อะตีตา  จะ,             เย จะ พุทธา อะนาคะตา,

     ปัจจุปปันนา จะ เย พุทธา,           อะหัง วันทามิ สัพพะทา,

     พุทธานาหัสมิ ทาโสวะ,               พุทธา เม สามิกิสสะรา,

     พุทธานัญ จะ สิเร ปาทา,              มัยหัง ติฎฐันตุ สัพพะทาฯ

     นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง,            พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,

     เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ, โหตุ เม ชัยมังคะลัง ฯ

     อุตตะมังเคนะ วันเทหัง,    ปาทปังสุง วะรุตตะมัง,

     พุทโธ โย ขะลิโต โทโส,             พุทโธ ขะมะตุ ตัง มะมัง ฯ

(กราบแล้วหมอบลงว่า)

     ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระพุทธเจ้า แลคุณพระพุทธเจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน แลข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระพุทธเจ้าอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลนานทุกเมื่อ แลข้าฯจะขอมอบตัวเป็นข้าแห่งพระพุทธเจ้า ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นเจ้า เป็นใหญ่แก่ข้าฯ ขอพระบาทบาทาของพระพุทธเจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลนานทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ข้าฯไหว้ละอองธุลีพระบาททั้งพระลายลักษณ์สุริยะฉาย ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าด้วยคำสัจนี้เถิด

     อนึ่ง โทษอันใด ข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระพุทธเจ้า อันเป็น อดีต อนาคตปัจจุบัน ขอพระพุทธเจ้าจงมาอดโทษ ทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าพระพุทธเจ้านี้เถิด ฯ

(กราบ)

     ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณังคัจฉามิ ฯ

สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก  เอหิปัสสิโก  โอปะนะยิโก   ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติฯ

     เย จะ ธัมมา อะตีตาจะ,  เย จะ ธัมมา อะนาคะตา,

     ปัจจุปปันนา จะ เย ธัมมา,            อะหัง วันทามิ สัพพะทาฯ

     ธัมมานาหัสสมิ ทาโสวะ,             ธัมมา เม สามิกิสสะรา,

     สัพเพ ธัมมาปิ ติฏฐันตุ,  มะมัง สิเรวะ สัพพะทาฯ

     นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง,            ธัมโม เม สะระณัง วะรัง,

     เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ,  โหตุ เม ชัยมังคะลัง ฯ

     อุตตะมังเคนะ วันเทหัง,              ธัมมัญ จะ ทุวิธัง วะรัง,

     ธัมเม โย ขะลิโต โทโส, ธัมโม ขะมะตุ ตัง มะมังฯ

(กราบแล้วหมอบลงว่า)

     ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระปริยัติธรรมเจ้า แลคุณพระนวโลกุตตระธรรมเจ้า และคุณพระ ธรรมเจ้าในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่ พึ่งแก่ข้า ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งมวล  อันเป็น    อดีต อนาคต ปัจจุบันสิ้นกาลทุกเมื่อ แลข้าฯจะขอมอบตัวเป็นข้าแห่งพระธรรมเจ้า ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นจงมาเป็นเจ้า เป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้น จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลนานทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ถ้าเว้นไว้แต่พระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระธรรมจ้าทั้งสองประการ ขอพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าพระพุทธเจ้านี้เถิดฯ

(กราบ)        

     สังฆัง ชีวิตตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ

     สุปฏิปันโน ภะคะวะโต     สาวะกะสังโฆ,อุชุปฏิปันโน      ภะคะวะโต     สาวะกะสังโฆ, ญายะปฏิปันโน  ภะคะวะโต     สาวะกะสังโฆ, สามีจิปฏิปันโน  ภะคะวะโต      สาวะกะสังโฆ,  ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ

     เย จะ สังฆา อะตีตา จะ เย จะ สังฆา อะนาคะตา

     ปัจจุปปันนา จะ เย สังฆา            อะหัง วันทามิ สัพพะทา ฯ

     สังฆานาหัสสะมิ ทาโสวะ สังฆา เม สามิกิสสะรา

     เตสัง คุณาปิ ติฏฐันตุ     มะมัง สิเรวะ สัพพะทา ฯ

     นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง             สังโฆ เม สะระณัง วะรัง

     เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ,  โหตุ เม ชัยมังคะลังฯ

     อุตตะมัง เคนะ วันเทหัง,             สังฆัญ จะ ทุวิโทตตะมัง,

     สังเฆ โย ขะลิโต โทโส  สังโฆ ขะมะตุ ตัง มะมัง ฯ

        (หมอบกราบแล้วว่า)

     ข้าฯขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระอริยะสงฆ์เจ้า แลคุณพระอริยะสงฆ์เจ้า ในอดีตอนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน แลข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระอริยะสงฆ์เจ้าอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลทุกเมื่อ แลข้าฯจะขอมอบตัวเป็นข้าฯแห่งพระอริยะสงฆ์เจ้า ขอพระอริยะสงฆ์เจ้าจงมาเป็นเจ้า เป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาคุณแห่งพระอริสงฆ์เจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าฯแห่งข้าฯสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ถ้าเว้นไว้แต่พระอริยะสงฆ์เจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา  ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระอริยะสงฆ์เจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระอริยะสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ ขอพระอริยะสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ ข้าพระพุทธเจ้านั้นเถิดฯ

(กราบ)

คำขอขมา ก่อนอาราธนานั่ง

อุกาสะ วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต มะยา กะตัง ปุญ  ญัง สามินา อนุโมทิตัพพัง สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง   ทาตัพพัง   สาธุ สาธุ อนุโมทามิ สัพพัง  อะปะราธัง ขะมะถะ เม  ภันเต,

  ข้าฯขอกราบไหว้ ขอท่านจงอดโทษแก่ข้าฯ บุญที่ข้าฯทำแล้ว ขอท่านพึงอนุโมทนาเถิด  บุญที่ท่านทำ ท่านก็พึงให้แก่ข้าฯด้วย (กราบ ๑ ครั้ง)

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเมภันเต, อุกาสะ  ทวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,  อุกาสะ ขะมามิ ภันเต  (กราบ ๑ ครั้ง)

คำอาราธนา (อีกแบบหนึ่ง)

            อุกาสะ อัจจะโย โน ภันเต  อัชฌะคะมา ยะถาพาเล ยะถามูฬะเห ยะถาอะกุสะเล   เย มะยัง อะกะริมหา เอวัมภันเต อัจจะโย โน ปะฏิคคัณหะถะ อายะติง สังวเรยยามะ พุทโธ เม นาโถ  ธัมโม เม นาโถ   สังโฆ เม นาโถ สะมะถะกัมมัฏฐานัง เม นาถัง อาจะริโย  เม นาโถ ทะสะ ปารมิโย เม นาถา

            ข้าฯขอโอกาสที่ได้พลาดพลั้งด้วย กาย วาจา ใจ  ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระกรรมฐาน   และพระอาจารย์ผู้บอกธรรม ข้าฯเป็นคนพาล ข้าฯเป็นคนหลง ข้าฯทำบาปอกุศล   อันว่าข้าฯทั้งหลายได้กระทำแล้วซึ่งโทษทั้งหลาย  ข้าฯแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอดโทษทั้งปวงแก่ข้าฯทั้งหลาย  ข้าฯจะสำรวมระวัง(ในพระพุทธ   พระธรรม พระสงฆ์) ในกาลต่อไป ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด ขอพระธรรมเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด ขอพระสงฆ์เจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด ขอพระกรรมฐานเจ้า จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ นี้เถิด ขอพระอาจารย์ผู้บอกธรรม จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ นี้เถิด  ขอพระบารมีสิบทัศ จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ นี้เถิด

คำอาราธนาพระกรรมฐาน

ข้าฯขอภาวนาพระพุทธคุณเจ้า เพื่อจะขอเอายังพระลักษณะ (พระรัศมี)  พระขุททะกาปีติธรรมเจ้า นี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่ง แก่ข้าฯนี้เถิดฯ

ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่ง แก่ข้าฯนี้เถิดฯขอพระอริยะสงฆ์เจ้า  ตั้งแรกแต่    พระมหาอัญญาโกญฑัญญะเถรเจ้าโพ้นมา ตราบเท่าถึงพระสงฆ์สมมุติในกาลบัดนี้ จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯ

ขอพระอริยะสงฆ์องค์ต้นอันสอนพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวล จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯ    ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวล จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯ

อุกาสะ อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดเจ้าเพื่อจะขอเอายัง พระลักษณะ (พระรัศมี)พระขุททกาปีติธรรมเจ้า นี้จงได้ ขอจงเจ้ากูมาปรากฏบังเกิดอยู่ใน จักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาอยู่นี้เถิดฯ

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ วิชชาะจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมสารถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ

        สัมมาอะระหัง     สัมมาอะระหัง     สัมมาอะระหัง

  อะระหัง      อะระหัง     อะระหัง

(องค์ภาวนา พุท-โธ ตั้งจิตคิด รู้ อยู่ใต้นาภี สองนิ้วมือ)

    พระปีติธรรม ๕ ประการ

๑.พระขุททะกาปีติ                  ปีติเล็กน้อย

๒.พระขะณิกาปีติ                   ปีติชั่วขณะ

๓.พระโอกกันติกาปีติ             ปีติเป็นพักๆ

๔.พระอุพเพงคาปีติ                 ปีติโลดโผน

๕.พระผะระณาปีติ                ปีติซาบซ่าน

พระยุคลธรรม ๖ ประการ

๑.พระกายปัสสัทธิ    จิตปัสสัทธิ      กายสงบ จิตสงบ

๒.พระกายละหุตา จิตละหุตา                       กายเบา จิตเบา

๓.พระกายมุทุตา จิตมุทุตา                กายอ่อน จิตอ่อน

๔.พระกายกัมมัญญะตา  จิตกัมมัญญะตา       กาย-จิต-ควรแก่การงาน   

๕.พระกายปาคุญญะตา จิตปาคุญญะตา         กาย-จิต-แคล่วคล่อง

๖.พระกายุชุคคะตา จิตตุชุคคะตา     กายตรง จิตตรง

พระสุขสมาธิ ๒ ประการ

๑.พระกายสุข จิตสุข   กายเป็นสุข จิตเป็นสุข

๒.พระอุปจารสมาธิ    พุทธานุสสติธรรมเจ้า

 พระคาถาวาณี

พระคาถาเรียกธรรม

ของ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน

พระคาถาภาวนาเสริมบารมีธรรม เวลาเข้าที่เจริญภาวนา

มุนินทะ วะทะ  นัมพุชะ                       คัพภะ สัมภะวะ สุนทรี

ปาณีนัง สะระณัง วาณี           มัยหัง ปิณะยะตัง มะนัง

ข้าพระพุทธเจ้าขออาราธนานางฟ้า คือพระไตรปิฏก ผู้มีรูปอันงาม เกิดแต่ห้องปทุมชาติ คือพระโอฐ ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นใหญ่กว่านักปราชญ์ทั้งหลาย มะนัง ขอจงมาสู่มโนของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติละเสียซึ่งอาสวะกิเลส ที่ดองอยู่ในขันธสันดานของข้าพเจ้า ทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด ให้สิ้นไป เสื่อมไป ข้าพเจ้าจะไม่ทำให้เป็น อัตตะกิละมัตถานุโยค ให้ลำบากแก่สังขารฯ

พุทธังชีวิตัง ยาวนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมังชีวิตัง ยาวนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ  สังฆังชีวิตัง ยาวนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ

ข้าพเจ้าขออาราธนา พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้า จงมารับเครื่องสักการะของข้าพเจ้า ในกาลบัดนี้เถิด

พระคาถานี้สำหรับอาราธนาพระธรรมเข้าสู่ตน เพื่อจะนั่งทางธรรม จะได้สำเร็จตามความมุ่งหมาย หลังจากอาราธนาพระธรรมเข้าสู่ตนแล้ว พึงประกอบกิจต้อไปตามมติของอาจารย์ ที่จะอบรมให้ปฏิบัติ

พระคาถา ไก่เถื่อน

ของ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน

ให้ว่า นะโม สามจบ  แล้วว่า 

พุทธัง ชีวิตตัง ยาวะนิพพานัง สะระณังคัจฉามิ ฯ

(แล้วสวดพระพุทธคุณ ๑ จบ)   อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ  วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ

แล้วจึงว่าพระคาถา พระยาไก่เถื่อน ว่า ๓ จบ, ๗ จบ, ๙ จบก็ได้

เว  ทา สา  กุ               กุ  สา ทา  เว

ทา ยะ สา  ตะ             ตะสา ยะ  ทา

สา สา  ทิ   กุ                กุ  ทิ   สา สา

กุ  ตะ  กุ  ภู               ภู  กุ   ตะ กุ

กรวดน้ำให้มารทั้ง๕

(ของ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ให้สวด ๓ จบ๕จบ ๗จบ)

ปัญจะมาเร  ชิเนนาโถ  ปัตโตสัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

พระโลกนาถเจ้า ทรงชนะมาร พร้อมด้วยเสนามาร บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ อันสูงสุด ทรงประกาศสัจจะธรรม สี่ประการ ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้า พระองค์นั้น ผู้มีความแกล้วกล้ายิ่ง  พวกมารทั้งห้าจงหนีไป

แล้วให้อธิษฐานว่า  มารทั้ง ๕ และมานะทั้งปวง อย่าได้จำนองจองเวรแก่กันเลย จงรับเอาส่วนบุญนี้เถิดฯ

กรวดน้ำให้มารทั้งห้า คือ  กิเลสมาร มาร คือกิเลส ๑  ขันธมาร มาร คือปัญจะขันธ ๑ อภิสังขารมาร มาร คืออภิสังขารที่ปรุงแต่งกรรม ๑ เทวปุตตมาร มาร คือเทพบุตร  ๑  มัจจุมาร มาร คือ ความตาย จะได้ไม่มารบกวนเวลานั่งบำเพ็ญกรรมฐาน

บทกรวดน้ำยังกิญจิ

ของพระเจ้าโลกวิชัย ผู้เป็นพระบรมโพธิสัตว์

ยังกิญจิ กุสะลัง กัมมัง             กัตตัพพัง กิริยัง มะมะ

กาเยนะ วาจามะนะสา             ติทะเส สุคะตัง กะตัง

เย สัตตา สัญญิโน อัตถิ            เยจะ สัตตา      อะสัญญิโน

กะตัง ปุญญะผะลัง มัยหัง       สัพเพ ภาคี       ภะวันตุ  เต

เย ตัง กะตัง สุวิทิตัง  ทินนัง ปุญญะผะลัง มะยา

เย จะ ตัตถะ นะ ชานันติ          เทวา คันตวา    นิเวทะยุง

สัพเพ โลกัมหิ เย  สัตตา           ชีวันตาระเหตุกา

มะนุญญัง โภชะนัง สัพเพ       ละภันตุ มะมะ เจตะสาติฯ

  กุศลกรรมอย่าง ใดอย่างหนึ่งเป็นกิจที่ควรฝักใฝ่ ด้วยกาย วาจา ใจ เราทำแล้วเพื่อไปสวรรค์ สัตว์ใดมีสัญญา หรือไม่มีสัญญา ผลบุญที่ข้าฯทำนั้นทุกๆสัตว์ จงมีส่วน สัตว์ใดรู้ก็เป็นอันว่าข้าฯให้ แล้วตามควร สัตว์ใดมิรู้ถ้วน ขอเทพเจ้าจงไปบอกปวงสัตว์ ในโลกีย์ มีชีวิตด้วยอาหาร จงได้โภชนะสำราญ ตามเจตนา ของข้าฯเทอญฯ

ปัตติทานะคาถา

(บทกรวดน้ำตอนเช้า)

ยา เทวะตา สันติ วิหาระ วาสินี

ถูเป ฆะเร โพธิฆะเร ตะหิง ตะหิง

ตา ธัมมะทาเนนะ ภะวันตุ  ปูชิตา

โสตถิง กะโรนเตธะ วิหาระมัณฑะเล

เถรา จะ มัชฌิมา นะวะกา จะ ภิกขะเว

สารามิกา ทานะปะตี อุปาสะกา

คามา จะ เทสา นิคะมา จะ อิสสะรา

สัปปานะภูตา สุขิตา ภะวันตุเต

ชะลาพุชา เยปิ จะ อัณฑะสัมภะวา

สังเสทะชาตา อะถะโวปะปาติกา

นิยยานิกัง  ธัมมะวะรัง ปฏิจจะ เต

สัพเพปิ ทุขขัสสะ กะโรนตุ สังขะยังฯ

ฐาตุ จิรัง  สะตัง ธัมโม             ธัมมัทธะรา จะ ปุคคะลา

สังโฆ โหตุ สะมัคโค วะ        อัตถายะ หิตายะ จะ

อัมเห รักขะตุ สัทธัมโม         สัพเพปิ  ธัมมะจาริโน

วุฑฒิง สัมปาปุเณยยามะ       ธัมเม อะริยัปปะเวทิเต

ปะสันนา โหตุ สัพเพปิ            ปาณิโน พุทธสาสะเน

สัมมา ธารัง ปะเวจฉันโต       กาเล เทโว ปะวัสสะตุ

วุฑฒิ  ภาวายะ  สัตตานัง       สะมิทธัง เนตุ เมทะนิง

มาตา ปิตา จะ อัตระชัง          นิจจัง รักขันติ ปุตตะกัง

เอวัง ธัมเมนะ ราชาโน           ปะชัง รักขันตุ สัพพะทาฯ

            เทพยดาทั้งหลายเหล่าใด  มีปกติอยู่ในวิหาร สิ่งสถิตอยู่ที่เรือนพระสถูป ที่เรือนโพธิ์ ในที่นั้นๆ เทพยดาทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้อันเราทั้งหลายบูชาแล้ว ด้วยธรรมทาน ขอจงทำซึ่งความสวัสดี ความเจริญในมณฑลวิหารนี้

            พระภิกษุทั้งหลายที่เป็นพระเถระก็ดี  ที่เป็นปานกลางก็ดี ที่เป็นผู้บวชใหม่ก็ดี อุบาสก อุบาสิกาที่เป็นทานาธิบดีก็ดี พร้อมด้วยอารามิกชนก็ดี  ชนทั้งหลายเหล่าใดที่เป็นชาวบ้านก็ดี เป็นชาวต่างประเทศก็ดี ที่เป็นชาวนิคมก็ดี ที่เป็นอิสระเป็นใหญ่ก็ดี ขอชนทั้งหลายเหล่านั้น จงเป็นผู้มีสุขเถิด

            สัตว์ทั้งหลายที่เป็นชลาพุชะกำเนิดก็ดี ที่เป็นอัณฑชะกำเนิดก็ดี ที่เป็นสังเสทะชะกำเนิดก็ดี ที่เป็นอุปะปาติกะกำเนิดก็ดี

            สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น ได้อาศัยซึ่งธรรมอันประเสริฐ เป็นนิยนิกธรรม ธรรมอันนำสัตว์ออกไปจากกองทุกข์ หรือประกอบในอันนำผู้ปฏิบัติออกไปจากสังสารทุกข์  จงกระทำซึ่งความสิ้นไปพร้อมแห่งทุกข์เถิด

            ขอธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายจงตั้งอยู่นาน ขอบุคคลทั้งหลายผู้ทรงไว้ซึ่งธรรม จงดำรงอยู่นาน

            ขอพระสงฆ์ จงมีความสามัคคีพร้อมเพียงกัน ในอันทำซึ่งประโยชน์ และสิ่งอันเกื้อกูลเถิด  ขอธรรมจงรักษาไว้ซึ่งเราทั้งหลาย แล้วจงรักษาไว้ซึ่งบุคคลผู้ประพฤติซึ่งธรรม แม้ทั้งปวง ขอเราทั้งหลายพึงถึงพร้อมซึ่งความเจริญในธรรม ที่พระอริยะเจ้าประกาศไว้แล้ว   ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ขอฝนทั้งหลายจงหลั่งลงตามฤดูกาล ขอฝนจงนำความสำเร็จมาสู่ปฐพี เพื่อความเจริญ แก่สัตว์ทั้งหลาย

            มารดา และบิดา ย่อมรักษาบุตร ที่เกิดในตนเป็นนิจ ฉันใด ขอพระราชา จงปกครองประชาชน โดยชอบธรรมในกาล ทุกเมื่อฉันนั้น ตลอดกาล

บทกรวดน้ำ  อิมินา

(กรวดน้ำตอนเย็น)

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ                         อุปัชฌายา คุณุตตะรา

อาจาริยูปะการา จะ      มาตาปิตา จะ ญากะตา(ปิยา มะมัง )สุริโย จันทิมา ราชา                               คุณะวันตา นะราปิ จะ

พรัหมะมารา จะ อินทา จะ    โลกะปาลา จะ เทวะตา

ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ                    มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ

สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ          ปุญญานิ ปะกะตานิ  เม          

สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ    ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง ฯ

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ                       อิมินา อุททิเสนะ จะ

ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ                       ตัณหุปาทานะเฉทะนัง

เย  สันตาเน หินา ธัมมา          ยาวะ นิพพานะโต มะมัง

นัสสันตุ สัพพะทา  เยวะ        ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว

อุชุจิตตัง สติปัญญา               สัลเลโข  วิริยัมหินา

มารา ละภันตุ   โนกาสัง        กาตุญจะ วิริเยสุ  เม

พุทธาทิปะวะโร นาโถ          ธัมโม   นาโถ วะรุตตะโม 

นาโถ ปัจเจกะพุทโธ  จะ       สังโฆ นาโถตตะโร   มะมัง 

เตโสตตะมานุภาเวนะ             มาโรกาสัง ละภันตุ มา ฯ

            ด้วยบุญนี้อุทิศให้ อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ แลอาจารย์เพื่อเกื้อหนุน ทั้งพ่อ แม่ และปวงญาติ สูรย์จันทร์ แลราชา ผู้ทรงคุณ หรือผู้สูงชาติ พรหม มาร แลอินทะราช ทั้งทวยเทพ แลโลกบาล ยมราช มนุษย์มิตร  ผู้เป็นกลาง  ผู้จองผลาญ ขอให้ เป็นสุขศานต์ ทุกทั่งหล้า อย่าทุกข์ทน บุญผองที่ข้าฯทำ จงช่วยอำนายผล ให้สุข สามอย่างล้น ให้ลุถึงนิพพานพลัน ด้วยบุญนี้ที่เราทำ แลอุทิศ ให้ปวงสัตว์ เราพลันได้ ซึ่งการตัด ตัวตัณหา อุปาทาน สิ่งชั่ว ในดวงใจ  กว่าเราจะถึงนิพพาน มลายสิ้น จากสันดาน ทุกๆภพที่เราเกิด มีจิตตรง และสติทั้งปัญญาอันประเสริฐ พร้อมทั้ง ความเพียรเลิศ เป็นเครื่องขูดกิเลสหาย  โอกาส อย่าพึงมีแก่หมู่มาร สิ้นทั้งหลายฯ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย