ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ปรัชญาการเมือง

ในงานเขียนของ Flavius Magnus Aurelius Cassiodorus Senator (ค.ศ.485 – 585) แบ่งช่วงยุคสมัยของปรัชญาออกเป็น 2 ช่วง คือ ยุคโบราณ Ancient (ตั้งแต่ความเชื่อในเรื่องเทพเจ้า ถึง มนุษย์) และยุค

Modern ที่กินเวลาตั้งแต่ศตวรรษที่ 5 เป็นต้นไป หลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน หรือที่เรียกว่ายุค Middle Age Modern ตามทัศนะของ Cassiodorus ในช่วงแรกๆ หลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน หมายถึงสภาวะอันว่างเปล่าจากการจบสิ้นของจักรวรรดิโรมัน เพราะ Cassiodorus มีความเชื่อว่า การสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมันนั้น เป็นการสิ้นสุดของภูมิปัญญาแห่งศิลปวิทยาการอันยิ่งใหญ่ที่ได้รับการสั่งสมตลอดมาตั้งแต่สมัยกรีกจนถึงโรมัน และเขามีความเชื่อว่าภูมิปัญญากรีกและโรมันเป็นภูมิปัญญาที่สมบูรณ์สูงสุดเที่ยงแท้แน่นอนสำหรับมนุษย์ ไม่สามารถพัฒนาหรือต่อยอดอีกแล้ว

โดยความคิดหลักของช่วง Middle Ages ก็คือ การปฏิเสธความคิดที่ว่า “มนุษย์เป็นสัตว์การเมืองโดยธรรมชาติ” แต่เป็นเรื่องที่มนุษย์สร้างหรือตกลงกันขึ้นมาเองทีหลัง จึงเป็นการตกลงกันของคนที่ไม่บริสุทธิ์สมบูรณ์ เพื่อหาทางที่จะมีชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในโลกที่เต็มไปด้วยคนบาป

ดังนั้น สถาบันทางสังคมการเมืองที่ดำรงอยู่ในสมัยนั้น จึงเป็นสิ่งที่เป็นผลพวงจากความตกต่ำหรือบาปของมนุษย์นั่นเอง เปิดโอกาสให้ความคิดที่ว่าชุมชนทางการเมืองของชาวคริสต์ที่มีจิตวิญญาณที่กลับใจและมุ่งสู่การหลุดพ้น (The City of God) เท่านั้น ที่เป็นรัฐที่แท้ และ “แนวคิดเทวสิทธิ์” ก็คือการกำหนดแบ่งลำดับของอำนาจการปกครอง ที่เป็นที่มาของสิทธิอันชอบธรรมของกษัตริย์หรือผู้ปกครองทางโลก เพราะตามความเชื่อของคริสต์ศาสนา พระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นที่มีอำนาจอันชอบรรมในการปกครองเหนือมวลมนุษย์ ไม่มีมนุษย์คนใดมีอำนาจอันชอบธรรมในตัวเองที่จะปกครองเหนือมนุษย์คนอื่น เพราะมนุษย์ทุกคนล้วนเสมอภาคกันต่อพระผู้เป็นเจ้าในฐานะที่เป็นบุตรของพระองค์

ดังนั้น อำนาจปกครองของสันตะปาปาหรือ auctoritas หรือการใช้อำนาจในลักษณของตัวแทนของกษัตริย์ potestas ย่อมมีความชอบธรรมและยุติธรรม เพราะเป็นการใช้อำนาจปกครองตามแนวทางของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาและคุณธรรมความดีอันสมบูรณ์บริสุทธิ์

อย่างไรก็ตาม ยังมีแนวทางการแบ่งช่วงยุคสมัยของปรัชญาอีกแนวทางหนึ่ง นั่นก็คือ ยุคคลาสิค ยุคกลาง (ยุคมืด) และยุคสมัยใหม่ (ตั้งแต่ศตวรรษที่ 14) เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นหลังยุค Middle Age ก็คือการฟื้นฟู “ศิลปะวิทยาการโบราณ” หลังจักรวรรดิโรมันล่มสลายได้เริ่มขึ้น ตั้งแต่ ศตวรรษที่ 5 ดังเช่น ช่วง Renaissance (ศตวรรษที่ 14 – 15)

จนกระทั่งศตวรรษที่ 15 ก็ได้เกิดปรากฏการณ์ที่ท้าทายภูมิปัญญาโบราณ จากการค้นพบทวีปใหม่โดยคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ใน ค.ศ.1492 และการค้นพบความรู้ความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับโลกและกฎแห่งการเคลื่อนไหวของกาลิเลโอในศตวรรษที่ 17 ส่งผลให้เกิดการสงสัย ตั้งคำถามกับภูมิปัญญาดั้งเดิมที่เคยเชื่อกันมาว่าถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด

ในปี ค.ศ.1543 นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ชื่อนิโคลัส โคเปอร์นิคัส (ค.ศ.1473-1543) ช่วยให้เกิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์โดยประกาศว่าโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ โคเปอร์นิคัสกล่าวว่าวงโคจรมี 34 ชั้น ซึ่งความคิดของโคเปอร์นิคัสค่อนข้างอนุรักษ์นิยม ถ้าโลกมิได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล แล้วโลกจะมีอะไรพิเศษ หรือว่ามีโลกอื่นอีก

คำถามเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาใหม่และการศึกษาแนวใหม่ ถ้าโลกหมุนรอบตัวเอง ทำไมสิ่งของที่ตกลงพื้นจึงไม่เอียงไปข้างหลัง ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีการค้นพบดาว และดาวหางใหม่ การเคลื่อนที่ของดาวหางนี้สวนทางกับวงโคจรของดาวเคราะห์ นักดาราศาสตร์ชาวดัชชื่อไทโช บราฮี( ค.ศ.1546-1601) อธิบายว่าวงโคจรไม่มีจริง

 

ต่อมาในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อโจฮัน เค็ปเลอร์ (ค.ศ.1571-1630) อธิบายว่าวงโคจรของดาวเคราะห์มีลักษณะเป็นช่วงๆ มิได้เป็นวงกลม กฎการเคลื่อนที่ของดวงดาวของเค็ปเลอร์เชื่อว่าดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์จะมีการเคลื่อนที่เร็วกว่าดาวเคราะห์ที่อยู่ไกล

ในขณะเดียวกัน นักดาราศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวอิตาลีชื่อกาลิเลโอ กาลิเลอิ (ค.ศ.1564-1642) ใช้กล้องโทรทัศน์สังเกตจุดบนดวงอาทิตย์ กาลิเลโออธิบายว่าโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ แต่ปัญหาใหญ่ 2 ปัญหาก็ยังคงมีอยู่ คืออะไรที่ทำให้โลกหมุนได้ และอะไรที่ทำให้เกิดการโคจรบนท้องฟ้า

ปัญหาดังกล่าวนี้ มีคำตอบจากคำอธิบายของไอแซค นิวตัน (ค.ศ.1642-1727) ซึ่งชี้ให้เห็นกฎเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนที่บนโลกและในจักรวาล นิวตันอธิบายว่าวัตถุทุกชนิดจะมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน วัตถุบนโลกเคลื่อนที่ได้เพราะโลกมีแรงดึงดูดต่อวัตถุ วัตถุในจักรวาลเคลื่อนที่ได้เพราะแรงดึงดูด ทฤษฎีของนิวตันอธิบายว่าแรงเฉื่อยในวัตถุทำให้วัตถุเคลื่อนที่ แรงกระทำที่ต่อเนื่องจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ที่ต่อเนื่อง

จักรวาลตามทฤษฎีของนิวตันมีกฎการเคลื่อนที่แบบเดียว โลกจะโคจรเป็นแนวเอียงในอวกาศ ด้วยความสามารถทางปัญญาของนิวตันทำให้เขาได้รับแต่งตั้งเป็นอัศวิน ความสำคัญของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ต่อมานุษยวิทยามีสองประการ ประการแรก โลกในความคิดของนิวตันเป็นโลกที่นักมานุษยวิทยายอมรับ และประการที่สอง การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของนิวตันเป็นแรงบันดาลใจต่อการศึกษาทางสังคมศาสตร์ สิ่งที่ตามมาคือ ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นยุคแสวงหาความรู้ หรือ Enlightenment รากเหง้าและบ่อเกิดของสังคมศาสตร์ค่อยๆเติบโตขึ้นและเฟื่องฟูในเวลาต่อมา และเชื่อในพัฒนาการและความรู้ที่ไม่หยุดยั้งของมนุษยชาติ

อ่านต่อ >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย