ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
บุคลิกภาพ
วิธีวัดบุคลิกภาพชนิดอื่น ๆ
(Other Methods of Personality)
1.การสัมภาษณ์ (Interviews) เป็นการพูดหรือสังเกตพฤติกรรมของบุคคลที่เราต้องการประเมินผลบุคลิกภาพ มีการใช้บ่อย ทั้งนักจิตวิทยาและการคัดเลือกคนเข้าทำงาน การสัมภาษณ์จะเริ่มแบบไม่เป็นทางการ ใช้การสนทนา และการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์อาจจะใช้การสังเกตพฤติกรรมของแต่ละบุคคลด้วย
2.Rating Scales คือ เครื่องมือที่ใช้ในการวัดลักษณะต่าง ๆ ที่ใช้เป็นนามธรรมของบุคคล เช่น ความรับผิดชอบ ความคิดริเริ่ม ความขยันหมั่นเพียร โดยเอาสิ่งเหล่านี้มาจัดว่าใครควรอยู่ที่อันดับใด ดีเลวแค่ไหน โดยให้ผู้อื่นเป็นคนตัดสินหรือลงความเห็น ชนิดของ Rating Scale มักจะใช้เป็น Graphic Rating Scale
ผู้ตัดสิน (Rater) จะต้องมีความเข้าใจ Scale ว่ามีความสำคัญอย่างไร ต้องมีประสบการณ์มาบ้าง สิ่งสำคัญผู้ตัดสิน (Rater) จะต้องพยายามไม่ให้มี Halo Effect หรือมีสิ่งประทับใจที่ดี (Good Impression) ต่อผู้นั้น ก็เลย Rate ให้เขาดีไปเสียหมด หรือถ้าไม่ชอบผู้นั้นก็ Rate ให้ไม่ดีหมด
3.สังคมมิติ (Sociometry) คือ นักจิตแพทย์ชื่อ Moreno เป็นผู้ที่คิดทำสังคมมิติขึ้นวิธีการวัดความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่ม ทำให้สามารถทราบได้ว่าบุคคลใดเป็นที่ชื่นชมนิยมของกลุ่ม (Popular) บุคคลใดถูกผู้อื่นละเลยทอดทิ้ง (Rejection) วิธีทำสังคมมิติก็ไม่ลำบากนัก เช่น ออกคำถามให้เลือกว่าจะเลือกใครเป็น roommate แล้วนำมาทำเป็น Sociogram
4.การสร้างสถานการณ์ (Assessment Situation) เมื่อเราต้องการทราบว่าใครเหมาะที่จะเป็นหัวหน้าหรือผู้นำของกลุ่ม นอกจากจะใช้วิธีการสังเกตและการสัมภาษณ์แล้ว บางครั้งอาจจะไม่เป็นการเพียงพอ จำเป็นที่จะต้องสร้างสถานการณ์ขึ้นเพื่อดูการแสดงพฤติกรรมของแต่ละบุคคล และคอยสังเกตดูว่าใครจะมีบทบาทเป็นหัวหน้าบ้าง ใครเหมาะในการประชาสัมพันธ์ การติดต่อ ความละเอียดรอบคอบ ความคิดริเริ่ม การมีเหตุผล การทำงานร่วมกับผู้อื่น สภาพการณ์เช่นนี้จะทำให้ผู้สังเกตได้ทราบถึงบุคลิกลักษณะต่างๆ ของผู้ที่ต้องการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การทดสอบแบบนี้ขึ้นอยู่กับความเป็นกลาง และปราศจากความลำเอียงของผู้สังเกตเป็นอย่างมาก ควรใช้ Rating Scale ประกอบการตัดสินด้วย ซึ่งจะช่วยให้การทดสอบโดยวิธีสร้างสถานการณ์นี้มีความเชื่อถือได้สูง
ความเที่ยงตรงของแบบทดสอบบุคลิกภาพ
ความสำเร็จในการสร้างแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา ทำให้นักจิตวิทยามีความหวังว่าคงจะสร้างแบบทดสอบบุคลิกภาพได้ผลสำเร็จเช่นเดียวกัน แต่แท้ที่จริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเหตุผลดังต่อไปนี้
-
ข้อคำตอบในแบบทดสอบเชาวน์ปัญญามีคำตอบที่แน่นอนว่า ตอบอย่างไรถูกและตอบอย่างไรผิด แต่ข้อคำตอบในแบบทดสอบบุคลิกภาพไม่มีถูกผิด นอกจากนั้น ในแบบทดสอบ บางตอน น้ำหนักของคำถามยังมีความลำเอียง
-
ความยุ่งยากอีกข้อหนึ่งก็คือ การที่ผู้ตอบคิดว่าคำตอบในแบบทดสอบบุคลิกภาพมีถูกผิดเหมือนกันกับแบบทดสอบทั่วไปนั้น ทำให้เขาพยายามตอบอย่างที่เขาคิดว่าดีที่สุด ถูกที่สุด ไม่ใช่ตอบตามข้อเท็จจริงที่เขาเป็นอยู่ ซึ่งก่อให้เกิดผลเสีย ทำให้เราตัดสินบุคลิกภาพของเขาผิดไปหมด
แบบทดสอบบุคลิกภาพมีข้อผิดพลาด 2 อย่าง คือ
1.Fale Positive เราบ่งว่าเขามีความผิดปกติทางจิต ทั้งๆที่ความจริงเขาไม่ได้เป็นเช่นนั้น ข้อคำถามในแบบทดสอบให้สิ่งที่เกินความเป็นจริง
2.Fale Negative บุคคลรู้ตัวว่าผิดปกติ แต่พยายามปกปิดข้อบกพร่องของตนไว้ ยิ่งบุคคลนั้นมีสติปัญญาสูง ยิ่งมีความสามารถบิดเบือนลักษณะบุคลิกภาพที่แท้จริงของเขาได้มากขึ้น ดังนั้น การตีความบุคลิกภาพของเขาจึงไม่เที่ยงตรง ฉะนั้น การใช้แบบทดสอบบุคลิกภาพจึงมักใช้เป็นเพียงรายละเอียดที่เพิ่มเติมรายละเอียดอื่นเท่านั้น
» ทฤษฏีบุคลิกภาพตามรูปร่างของบุคคล
» ทฤษฏีบุคลิกภาพการเรียนรู้ทางสังคม
» ทฤษฏีพัฒนาการบุคลิกภาพของอีริคสัน
» การแสดงออกสำหรับบุคลิกภาพที่ดี
» อิทธิพลของพฤติกรรมและท่าทีความรู้สึกของผู้อื่นกับบุคลิกภาพของเรา