สิ่งแรกและสิ่งสำคัญในประเทศไทย
ประเพณีลอยกระทง เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยสุโขทัย โดยนางเรวดีนพมาศจัดขึ้นเพื่อเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา ซึ่งได้จัดขึ้นในวันเพ็ญ เดือน 12 ของทุกปี
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงประดิษฐ์อักษรไทย เมื่อ พ.ศ.1826
โปรตุเกส เป็นฝรั่งพวกแรกที่เข้ามาติดต่อกับไทย ครั้งแรกในสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา
พระราเมศวร เป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่ทรงสละราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ.1912
หนังสือจินดามณี เป็นหนังสือแบบเรียนเล่มแรกของไทย ตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราช
ในสมัยพระนารายร์มหาราช ไทยได้ส่งราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับฝรั่งเศส เป็นครั้งแรก
สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นพระสังฆราชองค์แรกของไทย ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี
โรงพิมพ์แห่งแรก ของเมืองไทยตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2378 บริเวณสำเหร่ ฝั่งธนบุรี ของหมอบรัดเลย์ โดยซื้อตัวพิมพ์ของ ร.อ.เจมส์โลว์ จากสิงคโปร ในสมัยรัชกาลที่ 3
หนังสือพิมพ์อังกฤษ ฉบับแรกของไทย คือ บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2387 ในสมัยรัชกาลที่ 3
ตำรวจนครบาล มีขึ้นครั้งแรกในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
นายจอห์น ลอฟตัส ชาวเดนมาร์ก เป็นผู้นำรถรางมาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เปิดใช้บริการเมื่อ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2404 สมัยรัชกาลที่ 4
นายตัน เล่งซือ ชาวจีน เป็นคนแรกที่ตั้งโรงรับจำนำขึ้นในประเทศไทย ชื่อโรงรับจำนำไท้หยู และไท้เซ่งเฮง เมื่อ พ.ศ.2416 สมัยรัชกาลที่ 5
รถลาก นำมาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2417 โดยนายฮองเซียง แซ่โง้ว เป็นผู้สั่งเข้ามา ในสมัยรัชกาลที่ 5
การไฟฟ้า เริ่มมีครั้งแรกเมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2430 โดยใช้ในกิจการของรถราง และจ่ายให้ประชาชนใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2433 ในสมัยรัชกาลที่ 5
โรงแรมโอเรียลเต็ล เป็นโรงแรมแห่งแรก ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 ในสมัยรัชกาลที่ 5
ธนบัตร เริ่มมีใช้เป็นครั้งแรกในปประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5
โรงพยาบาล แห่งแรกของประเทศไทย คือโรงพยาบาลวังหลัง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่5 ปัจจุบันคือโรงพยาบาลศิริราช
เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ทรงเป็นพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฎราชกุมาร องค์แแรก ทรงเป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5
รถไฟไทย มีใช้ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่5 โดยสายแรกระหว่าง กรุงเทพฯ ถึง ปากน้ำ สมุทรปราการ
โทรศัพท์ เริ่มมีใช้ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5เมื่อ พ.ศ. 2419
โรงเรียนตำหนักสวนกุหลาบ เป็นโรงเรียนหลวงแห่งแรก ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5
โรงเรียนวัดมหรรณพ เป็นโรงเรียนราษฎร์แห่งแรก ที่เปิดให้สามัญชนได้เรียนหนังสือ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5
ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นธนาคารแห่งแรกของประเทศไทย เดิมชื่อ แบงก์สยามกัมมาจล สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่5
เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้ต่อเรือกลไฟขึ้นลำแรก ในสมัยรัชกาลที่5
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์แรกที่เสด็จออกผนวช ในระหว่างขึ้นครองราชย์
วิทยุโทรเลข เปิดให้ประชาชนชาวไทยใช้เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ในสมัยรัชกาลที่ 6
สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้ จังหวัดพิษณุโลก เป็นสหกรณ์แห่งแรก สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6
ธนาคารออมสิน จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
การประปา มีขึ้นครั้งแรกในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
คำว่า นาย นาง นางสาว เด็กชาย เด็กหญิง นำหน้าชื่อ และการใช้นามสกุลมีใช้เป็นครั้งแรก ในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
พระราชบัญญัติประถมศึกษา และพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฏร์ มีขึ้นครั้งแรก ในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
ธงชาติไทย มีใช้เป็นครั้งแรกเรียกว่า "ธงช้าง" พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เป็นผู้นำมาใช้ ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเปลี่ยนเป็นธงไตรรงค์ ดังเช่นทุกวันนี้
คำว่าพุทธศักราช (พ.ศ.) ใช้แทนคำว่า รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2475 ในสมัยรัชกาลที่ 7
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร์คนแรก ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2476 ในสมัยรัชกาลที่ 7
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ในสมัยรัชกาลที่ 7
นางสาวกันยา เทียนสว่าง ได้เป็นนางสาวไทยคนแรก ซึ่งจัดประกวดในงานวันฉลองรัฐธรรมนูญ เมื่อ พ.ศ. 2477 ในสมัยรัชกาลที่ 8
นางอรพินท์ ไชยกาล เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์หญิงคนแรกของไทย
พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) เป็นผู้ตั้งโรงงานผลิตเบียรแห่งแรก ขึ้นในประเทศไทย คือ บริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ ผลิตเบียรตราสิงห์ออกสู่ตลาดครั้งแรก เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 ในสมัยรัชกาลที่ 8
โรงเรียนสอนคนตาบอด ตั้งขึ้นโดย มิสเจนีวิฟ คอลฟิลด์ ชาวอเมริกัน เมื่อ พ.ศ. 2482 ในสมัยรัชกาลที่ 8
ประเทศไทยมีการพิมพ์แสตมป์ ใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2484 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐนมตรี ในสมัยรัชกาลที่ 8
รถเมล์ขาว เป็นรถโดยสารประจำทางคันแรกของไทย เป็นของนายเลิด หรือพระยาภักดีนรเศรษฐ์
โรงเรียนสอนคนหูหนวก เปิดสอนครั้งแรกที่โรงเรียนเทศบาลโสมนัส เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2494 ในสมัยรัชกาลที่ 9
กองทัพอากาศไทย ตั้งขึ้นโดยจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงไชยศรีสุรเดช โดยมีพลอากาศโท มุนีมหาสันทนะ เวชยันตร์รังสฤษดิ์ เป็นผู้บัญชาการคนแรก
สมเด็จพระพี่ยาเธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเป็นผู้นำเอารถดีเซลเข้ามาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
สถานีไทยโทรทัศน์ หรือทีวีช่อง 4 เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของไทย ตั้งอยู่ที่บางขุนพรหม กรุงเทพฯ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498
วิทยุเทเลฟุงเก้น เป็นวิทยุเครื่องแรกที่นำมาใช้ในประเทศไทย
เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราบดี เป็นรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ(กระทรวงธรรมการ) คนแรกของประเทศไทย
แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับแรกของประเทศไทย ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2504-2509 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐนมตรี
นางสมทรง สุวพันธ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านหญิงคนแรกของไทย
ได้รับเลือกตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที
จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2525