ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

มิลาเรปะ

เกี่ยวกับท่านมิลาเรปะ

        ท่านมิลาเรปะ เป็นโยคีธิเบต มีชีวิตอยู่ในช่วง พ.ศ. ๑๕๙๖ ถึง พ.ศ. ๑๖๗๘ ท่านเกิดในครอบครัวที่มั่งคั่ง แต่บิดาของท่านเสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเป็นเด็ก ครอบครัวของท่านซึ่งประกอบด้วยมารดา ตัวท่านและน้องสาว จึงต้องประสบความยากลำบากอย่างมาก เพราะถูกลุงและป้าโกงทรัพย์สมบัติไปจนหมด และบังคับให้มารดาและตัวท่านทำงานรับใช้ลุงป้าเยี่ยงทาส ทั้งยังถูกดุด่าทุบตีทำร้ายร่างกายและให้อยู่อย่างอด ๆ ยาก ๆ

มารดาของท่านมีความคับแค้นใจอย่างมาก จึงได้ส่งท่าน มิลาเรปะหนุ่ม ไปร่ำเรียนวิชากับอาจารย์ทางไสยศาสตร์ จนท่านสำเร็จวิชาอาคม เดินทางกลับไปแก้แค้นลุงป้าและญาติที่คดโกงรังแกครอบครัวของท่านจนเสียชีวิตไปหลายคน

ต่อมาท่านรู้สึกเสียใจและสำนึกผิดต่อการกระทำของตัวเอง จึงหันมาปฏิบัติธรรม ท่านแสวงหาและศึกษากับพระอาจารย์ทางธรรมหลายท่าน แต่ก็ไม่เจริญก้าวหน้า กระทั่งได้รับการแนะนำจากลามะท่านหนึ่งให้ไปพบท่านอาจารย์มาร์ปะ

ท่านอาจารย์มาร์ปะ มิได้รับท่านเป็นศิษย์โดยทันที แต่กลับให้บททดสอบที่ยากลำบาก และทรมานต่าง ๆ อยู่หลายปี แต่ท่านก็อดทนทำตามคำสั่งและปรนนิบัติอาจารย์มาร์ปะด้วยความภักดี ในที่สุดอาจารย์มาร์ปะจึงยอมรับท่านเป็นศิษย์อาจารย์ได้สั่งให้ท่านไปปลีกวิเวกเพื่อเจริญสมาธิอยู่ในถ้ำเป็นเวลา ๑๑ เดือน จนได้บรรลุญาณขั้นเบื้องต้น จากนั้นท่านได้ศึกษาคัมภีร์ทั้งของทางฝ่ายหินยานและมหายานอย่างเข้มข้น และตั้งใจปฏิบัติธรรมด้วยความพากเพียร



วันหนึ่งขณะที่ท่านเจริญสมาธิอยู่ในถ้ำ ท่านได้นิมิตถึงมารดาว่าเสียชีวิตแล้วอย่างน่าสังเวช และเห็นน้องสาวเดินโซซัดโซเซขอทานอย่างน่าสงสาร ท่านบังเกิดทุกขเวทนาเหลือประมาณ ความทรมานใจทำให้ท่านเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความไม่เที่ยงของชีวิต และเห็นโทษทุกข์แห่งสังสารวัฏ ท่านจึงตั้งจิตอธิฐานว่าจะบำเพ็ญสมาธิอยู่บนเทือกเขาสูงอย่างสันโดษ จนกว่าจะบรรลุถึงโพธิญาณสูงสุด

สิบเอ็ดเดือนเต็มสำหรับการได้เริ่มต้นลงมือปฏิบัติธรรมที่เข้าสู่เนื้อหาสาระอันแท้จริง การบำเพ็ญอย่างอุกฤษฏ์โดยต่อเนื่องในถ้ำแต่ผู้เดียว ทำให้เกิดธรรมจักษุต่อมรรคาที่จะบรรลุสู่พระโพธิญาณ ในระหว่างนี้ ท่านได้กลับมาเยี่ยมบ้าน มรณกรรมของมารดา และสภาพแร้นแค้นของบรรดาพี่น้องของท่าน ก่อให้เกิดความสลดสังเวชใจอย่างล้ำลึก แรงบันดาลใจที่จะสละโลกทั้งปวง ดำเนินไปอย่างรุนแรงเด็ดเดี่ยว ท่านได้อธิษฐานจิต ที่จะปฏิบัติบำเพ็ญอย่างต่อเนื่องในหุบเขาที่เงียบสงัด จนกว่าจะบรรลุถึงความวิมุติหลุดพ้นอย่างแท้จริง .

สิบสองปีเต็มกับการกระทำตามคำอธิษฐาน ท่านได้บรรลุถึงบรมธรรมขั้นสูงสุด การออกเผยแพร่ธรรมเป็นไปอย่างกว้างขวางมาก จนท่านมิลาเรปะ ได้ถูกจารึกว่าเป็นพระภิกษุองค์สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของชนชาวทิเบต .

ลีลาในการแสดงธรรมของท่านมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนผู้ใด ธรรมบรรยายที่หลั่งไหลออกจากการบรรลุอมตธรรมของท่าน มิลาเรปะ มีลักษณะแห่งการอุปมาเปรียบเปรยกับธรรมชาติรอบๆตัวด้วยอรรถอันวิจิตรพิสดาร ก่อให้เกิดแนวทางอันวิเศษที่จะปฏิบัติบำเพ็ญตาม ท่านมิลาเรปะ แตกต่างจากพระภิกษุรูปอื่นซึ่งเป็นผู้นำทางศาสนาในยุคนั้น ท่านไม่ยุ่งเกี่ยวกับงานก่อสร้างถาวรวัตถุ ท่านไม่รวมกลุ่มกับใคร เพื่อเน้นลัทธินิกายใดๆ ท่านชอบใช้ชีวิตที่โดดเดี่ยวอยู่ในป่าเขาโดยไม่ติดยึดสถานที่ ท่านออกจาริกธุดงค์ไปพบกับผู้คนโดยไม่มีข้อกำหนดว่าจะเป็นสถานที่เช่นไร เพื่อแสดงธรรมตามแบบฉบับของท่าน ไม่มีการท่องบ่นสวดมนต์อันเป็นรูปแบบที่กระทำกันทั่วไป ท่านชักนำผู้คนให้เริ่มปฏิบัติธรรมในทันทีทันใด โดยไม่รั้งรอต่อการศึกษาจากตำรับตำรามากมายเหมือนที่นิยมทำกันในหมู่ภิกษุผู้คงแก่เรียน ประสบการณ์เรียนรู้สภาวะธรรมจริงที่เกิดขึ้นในจิตใจเป็นสิ่งที่ท่านแนะนำต่อพุทธศาสนิกชนให้พากเพียรปฏิบัติ ท่าน มิลาเรปะ ไม่ได้ร่วมในการยอมรับว่าพุทธศาสนานิกาย เถรวาท มหายาน หรือวัชรยาน อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งถูกต้องมากกว่ากัน แต่ท่านจะเน้นหนักถึงความเป็นมายาของปรากฏการณ์ทั้งหลายทั้งปวง เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเดินลัดตรงไปสู่ความสิ้นอุปาทานยึดมั่นถือมั่นในบรรดาสรรพสิ่งโดยสิ้นเชิง

ท่าน มิลาเรปะ นับได้ว่าเป็นคุรุผู้สามารถทำให้สานุศิษย์เป็นจำนวนมากบรรลุ มรรคผลนิพพาน ท่านฮุยเหน็ง ( ท่าน เหวยหล่าง ) ผู้ก่อตั้งวิถีทางบรรลุฉับพลันอันได้แก่ลัทธิเซนในประเทศจีน ก็เป็นพระภิกษุอีกรูปหนึ่ง ที่พอจะเทียบเทียมกับท่านมิลาเรปะได้ ในแง่ที่ว่าท่านทั้งสองไม่อ้อมค้อมเสียเวลาอยู่กับเปลือกนอกของพระศาสนา แต่สำหรับความสามารถในด้านก่อแรงบันดาลใจ ให้ผู้คนหันมาประพฤติธรรมโดยใช้ถ้อยคำอุปมาอันชาญฉลาดนั้น ต้องถือได้ว่าท่าน มิลาเรปะ มีเอกลักษณ์ที่สมบูรณ์มากกว่า

» เกี่ยวกับท่านมิลาเรปะ

» ตำนานแห่งหุบเขาอัญมณีแดง

» การจาริกธุดงค์สู่ ลาชิ

» ธรรมลีลาแห่งเทศกาลหิมะโปรย

» วิวาทะกับเจ้าแม่ผู้ชาญฉลาด

» มณฑล รักม่า

» วิหารเทียมฟ้า จันแพน

» ธรรมปิติของสมณะ

» ท่านมิลาเรปะ กับนกพิราบ

» หุบเขา วัชชระ สีเทา

» ภิกษุ เรชุงปะ

» ข้อตักเตือนถึงโอกาสที่หาได้ยากในการปฏิบัติธรรม

» การค้นหาธรรมชาติแห่งจิตของชายเลี้ยงแกะ

» ธรรมคีตาแห่งความตระหนักชัด

» การมุ่งสู่โพธิญาณของสตรีเพศ

» ธรรมคีตา ณ ที่พักผู้เดินทาง

» พาลชนที่กลายเป็นสาวก

» การพบกันที่สายธารสีเงินยวง

» นิมิตหมายแห่งพระธรรมจากไม้เท้า

» ข้อชี้นำยี่สิบเอ็ดประการ

» ภิกษุ กาชอนเรปะ

» คำตักเตือนสำหรับท่าน ธัมมะวอนชู

» การแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ณ ภูเขาหิมะดีซี

» การบรรลุธรรมจักษุของท่าน เรชุงปะ

» การกลับใจของชาวลัทธิ บอน ผู้กำลังจะตาย

» แสดงธรรมกับหญิงสาวผู้ชาญฉลาด

» นายพรานกับกวาง

» พระราชาแห่ง เนปาล

» เผชิญเจ้าแม่ ทเซรินมา

» การกลับใจของเจ้าแม่ ทะเซรินมา

» ข้อแนะนำเกี่ยวกับภาวะ สัมภเวสี

» ทะเซรินมา กับการปฏิบัติสุญญตาธรรม

» ข้อตักเตือนสำหรับท่าน ดอจี วอนชู

» การพบกับท่าน ธรรมโพธิ

» เผชิญนักปริยัติ

» เยือนอินเดียครั้งที่สามของท่าน เรชุงปะ

» ความตระหนักชัดของท่าน เมกอมเรปะ

» สาลีอุยกับพระธรรม

» เขาของตัวจามรี

» การสำนึกผิดของ เรชุงปะ

» ความที่ยิ่งกว่าสุข

» ศิษย์เอก กัมโบปะ

» นักปริยัติผู้กลับใจ

» ธรรมปราโมทย์

» แสดงอภิญญาจูงใจคน

» รวมโศลกธรรมสั้นๆ

» ธรรมเทศนาที่ภูผา บอนโบ้

» แรงบันดาลใจ

» ชินดอโมและเลซีบุม

» แกะที่กำลังจะตาย

» ธรรมคีตาแห่งการดื่ม

» แด่ เรชุงปะ ด้วยเมตตา

» เรชุงปะ สู่เมือง วู

» พบท่าน ธัมปาสันจี

» มิติแห่งสวรรค์

» คำพยากรณ์แห่งเทพธิดา

» คำตักเตือนคุณหมอ ยางงี

» การจากไปของ เรชุงปะ

» เรื่องราวของ ดราชิเซ

» กัลยาณมิตร

» ประจักษ์พยานแห่งการบรรลุธรรม

» ปัจฉิมโอวาท

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย