ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58
โดยที่คณะปฏิวัติพิจารณาเห็นว่า การควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึง ความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชนอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยการ ควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน และ กฎหมายว่าด้วยการกำหนดกระทรวง เจ้าหน้าที่รักษาการตามกฎหมายดังกล่าว สมควรปรับปรุงรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกันเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติ อนึ่ง ปรากฏว่าในขณะนี้ได้มีผู้ประกอบกิจการรับรองหรือรับซื้อตั๋วเงิน กิจการ หาเงินทุนเพื่อบุคคลอื่น และกิจการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ รวมทั้ง การเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของกิจการดังกล่าวมากยิ่งขึ้น และกิจการเหล่านี้ มีลักษณะเป็นกิจการค้าขายซึ่งกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือผาสุกของ ประชาชนได้ แต่กฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความ ปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน และกฎหมายว่าด้วยการกำหนดกระทรวง
เจ้าหน้าที่รักษาการตามกฎหมายดังกล่าวที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ยังไม่มีบทบัญญัติ ควบคุมการประกอบกิจการดังกล่าวข้างต้น สมควรกำหนดการควบคุมกิจการนั้น ไว้ในกฎหมายที่ปรับปรุงใหม่เสียด้วยในคราวเดียวกัน หัวหน้าคณะปฏิวัติจึงมี คำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือ ผาสุกแห่งสาธารณชน พุทธศักราช 2471
(2) พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือ ผาสุกแห่งสาธารณชน (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2485
(3) พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือ ผาสุกแห่งสาธารณชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2499
(4) พระราชบัญญัติกำหนดกระทรวงเจ้าหน้าที่รักษาการตามพระราช บัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 พุทธศักราช 2476
(5) พระราชบัญญัติกำหนดกระทรวงเจ้าหน้าที่รักษาการตามพระราช
บัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2484 (6) พระราชบัญญัติกำหนดกระทรวงเจ้าหน้าที่รักษาการตามพระราช บัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2499 บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่บัญญัติไว้แล้วในประกาศ ของคณะปฏิวัติฉบับนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ ให้ใช้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้แทน
ข้อ 2 ในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีหรือผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย แต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงของกระทรวงที่มี อำนาจและหน้าที่ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ หรือตามที่กำหนดไว้ใน พระราชกฤษฎีกา
ข้อ 3 กิจการดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นกิจการค้าขายอันเป็น สาธารณูปโภค
(1) การรถไฟ
(2) การรถราง
(3) การขุดคลอง
(4) การเดินอากาศ
(5) การประปา
(6) การชลประทาน
(7) การไฟฟ้า
(8) การผลิตเพื่อจำหน่ายหรือจำหน่ายก๊าซโดยระบบเส้นท่อไปยังอาคาร ต่าง ๆ
(9)
บรรดากิจการอื่นอันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือผาสุกของประชาชนตามที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกา
การตราพระราชกฤษฎีกา
(9) ให้กำหนดกระทรวงผู้มีอำนาจและหน้าที่ เกี่ยวกับกิจการนั้นด้วย
ข้อ 4 ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค เว้นแต่จะได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทานจากรัฐมนตรี
ข้อ 5 เมื่อได้มีประกาศของรัฐมนตรีกำหนดกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังระบุไว้ต่อไปนี้ หรือกิจการอันมีสภาพคล้ายคลึงกัน ให้เป็นกิจการที่ต้อง ขออนุญาต ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี (
1) การประกันภัย
(2) การคลังสินค้า
(3) การธนาคาร
(4) การออมสิน
(5) เครดิตฟองซิเอร์
(6) การรับรองหรือรับซื้อตั๋วเงิน
(7) การจัดหามาซึ่งเงินทุนแล้วให้ผู้อื่นกู้เงินนั้น หรือเอาเงินนั้นซื้อ
หรือซื้อลดซึ่งตั๋วเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นหรือตราสารการเครดิต
(8) การซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนตราสารแสดงสิทธิในหนี้หรือทรัพย์ สิน เช่น พันธบัตร
หุ้น หุ้นกู้ หรือตราสารพาณิชย์ หรือการทำหน้าที่เป็น ตัวแทน นายหน้า ผู้จัดการ
หรือผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุนในตราสาร ดังกล่าว
หรือการจัดให้มีตลาดหรือสถานที่อันเป็นศูนย์กลางการซื้อ ขาย
หรือแลกเปลี่ยนตราสารดังกล่าว การประกาศตามวรรคหนึ่ง
รัฐมนตรีจะกำหนดประเภทหรือลักษณะของ กิจการด้วยก็ได้
ข้อ 6 ในกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะว่าด้วยกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อ 3 หรือข้อ 5 การประกอบกิจการดังกล่าว ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยกิจการนั้น
ข้อ 7 ในการอนุญาตหรือให้สัมปทานตามข้อ 4 และข้อ 5 รัฐมนตรี จะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ตามที่เห็นว่าจำเป็น เพื่อความปลอดภัยหรือผาสุกของ ประชาชนไว้ด้วยก็ได้ เงื่อนไขที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีจะแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือ เพิ่มเติมก็ได้ แต่ต้องกำหนดระยะเวลาการใช้บังคับเงื่อนไขที่แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมตามที่รัฐมนตรีเห็นสมควร
ข้อ 8 ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับกิจการดังต่อไปนี้ หรือกิจการที่มีสภาพคล้ายคลึงกัน
(1) การธนาคาร
(2) การออมสิน
(3) เครดิตฟองซิเอร์
(4) การรับรองหรือรับซื้อตั๋วเงิน
(5) การจัดหามาซึ่งเงินทุนแล้วให้ผู้อื่นกู้เงินนั้น หรือเอาเงินนั้นซื้อ
หรือซื้อลดซึ่งตั๋วเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่น หรือตราสารการเครดิต
(6) การซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนตราสารแสดงสิทธิในหนี้หรือทรัพย์ สิน เช่น พันธบัตร
หุ้น หุ้นกู้ หรือตราสารพาณิชย์ หรือการทำหน้าที่เป็น ตัวแทน นายหน้า ผู้จัดการ
หรือผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุนในตราสาร ดังกล่าว
หรือการจัดให้มีตลาดหรือสถานที่อันเป็นศูนย์กลางการซื้อ ขาย
หรือแลกเปลี่ยนตราสารดังกล่าว
ข้อ 9 ให้กระทรวงคมนาคมมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับกิจการ รถไฟและการเดินอากาศ
ข้อ 10 ให้กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับ กิจการการชลประทาน และการขุดคลอง
ข้อ 11 ให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับกิจการ การรถราง การประปา การไฟฟ้า และการผลิตเพื่อจำหน่ายหรือจำหน่ายก๊าซ โดยระบบเส้นท่อไปยังอาคารต่าง ๆ
ข้อ 12 ให้กระทรวงเศรษฐการมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับกิจการ ประกันภัยและการคลังสินค้า หรือกิจการที่มีสภาพคล้ายคลึงกัน
ข้อ 13 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติ กิจการที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงตามที่กำหนดไว้ในประกาศของ คณะปฏิวัติฉบับนี้หรือพระราชกฤษฎีกา แล้วแต่กรณี
ข้อ 14 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาจมอบหมายให้ธนาคาร แห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการตามที่กระทรวงการคลังมีอำนาจและหน้าที่ ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ได้ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบหมายให้ธนาคาร แห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้ว่าการธนาคาร แห่งประเทศไทยมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นพนักงาน เจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติกิจการตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับมอบหมาย
ข้อ 15 ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปใน สถานประกอบกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อ 3 หรือข้อ 5 ในระหว่างเวลาทำการ เพื่อตรวจสอบให้การเป็นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ หรือในกรณีที่มีเหตุ อันควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ พนักงาน เจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดหรืออายัดเอกสารหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ ความผิดดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีได้
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งให้ผู้ประกอบ กิจการและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการอำนวยความสะดวกแก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามสมควร
ข้อ 16 ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ 4 หรือข้อ 5 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งปรับทั้งจำ
ข้อ 17 ผู้ได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทานตามข้อ 4 หรือผู้ได้รับ อนุญาตตามข้อ 5 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามข้อ 7 ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และในกรณีที่เป็นความผิดต่อเนื่องกัน ให้ปรับอีก ไม่เกินวันละหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังทำการฝ่าฝืนอยู่
ข้อ 18 ผู้ใดขัดขวางหรือไม่ให้ความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 15 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับ ไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งปรับทั้งจำ
ข้อ 19 บรรดาเงื่อนไขที่รัฐบาลได้กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการ ควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน และ ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ คงใช้บังคับ ได้ต่อไป
ข้อ 20 ใบอนุญาตหรือสัมปทานให้ประกอบกิจการค้าขายอันเป็น สาธารณูปโภค ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความ ปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน ซึ่งได้ออกให้ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับนี้ใช้บังคับคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ
ข้อ 21 ให้ถือว่ากิจการการประกันภัย การคลังสินค้า การออมสิน เครดิต ฟองซิเอร์ เป็นกิจการที่รัฐมนตรีได้ประกาศตามข้อ 5 แล้ว ให้ใบอนุญาตประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง ซึ่งได้ออกให้ก่อนวันที่ประกาศ ของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ
ข้อ 22 เมื่อรัฐมนตรีได้ประกาศให้กิจการตามข้อ 5 เป็นกิจการ ที่ต้องขออนุญาตเพิ่มขึ้นจากที่ได้ประกาศไว้แล้ว ผู้ซึ่งประกอบกิจการอยู่ในวัน ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ถ้าประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป ให้ยื่นคำขอรับ อนุญาต ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ภายในหกสิบวัน นับแต่รัฐมนตรีประกาศ กำหนด เมื่อได้ยื่นคำขอรับอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้แล้ว ให้ดำเนินกิจการต่อไปได้จนกว่าผู้อนุญาตได้แจ้งให้ทราบถึงการไม่อนุญาต
ข้อ 23 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ รักษาการตามประกาศของ คณะปฏิวัติฉบับนี้
ข้อ 24 ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 มกราคม พุทธศักราช 2515
จอมพล ถ. กิตติขจร
หัวหน้าคณะปฏิวัติ