ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
สังคมศาสตร์
เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์และสังคม โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ศึกษาเฉพาะปรากฎการณ์ที่ประจักษ์ได้ รู้ได้แน่นอนด้วยประสาทสัมผัส หรือผ่านเครื่องมือที่สามารถทดลอง หรือเก็บข้อมูลได้ ทำให้สามารถพิสูจน์ยืนยันได้ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร โดยให้ทุกอย่างเป็นไปตามสภาพความเป็นจริง มีการวิเคราะห์ และแปลความหมายของข้อมูล มีการวางนัยทั่วไป คือสรุปความรู้เป็นแนวคิด ทฤษฎีหรือกฎเกณฑ์ พร้อมที่จะให้พิสูจน์ยืนยันว่าตรงกับความเป็นจริงได้
สังคมศาสตร์เริ่มมีการศึกษากันอย่างจริงจังในยุโรปหรือการปฏิวัติในฝรั่งเศสและการปฏิวัติอุตสาหกรรม ในต้นคริสต์วรรษที่สิบเก้า คำว่าสังคมศาสตร์มาจากภาษาลาตินหมายถึงการรวมกันหรือการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
สาขาที่จัดว่าอยู่ในหมวดสังคมศาสตร์ดังเดิมคือ
1. สังคมวิทยา เป็นสาขาที่มีลักษณะทั่วไปมากที่สุดคือศึกษาสังคม ทั้งระบบเพื่อดูโครงสร้าง กลไก การทำงานทุกส่วนของสังคมโดยละเอียด
2. รัฐศาสตร์ เป็นสาขาที่ครอบคลุมทั้งด้านการเมือง การปกครอง แและการบริหารเน้นความรู้เกี่ยวกับรูปแบบต่าง ๆ ของรัฐและรัฐบาล ลัทธิการเมืองที่เป็นแม่บทของระบอบการปกครอง
3. เศรษฐศาสตร์ เป็นสาขาที่ศึกษามนุษย์ในแง่การต่อสู้ทางวัตถุ เพื่อการดำรงอยู่ และถือว่าปัจจัยต่าง ๆ ทางสังคม ทางวัฒนธรรม ทางจิตวิทยา สังคม และทางการเมือง อยู่นอกขอบเขตการวิเคราะห์ของตน เพราะเศรษฐศาสตร์มุ่งเน้นที่จะศึกษา เกี่ยวกับการผลิต การซื้อขายแลกเปลี่ยน การเงิน การธนาคาร การคลัง การกระจายทรัพย์สิน และรายได้ในสังคม
4. จิตวิทยา เป็นสาขาที่ศึกษาพฤติกรรมของบุคคล มุ่งความสนใจไปที่กระบวนการต่าง ๆ ภายในจิตใจของบุคคลเกี่ยวข้องกับการรับรู้ ความเชื่อ จิตสำนึก จิตใต้สำนึก แรงจูงใจ ความต้องการของมนุษย์ ความกดดัน ความคับข้องใจ อารมณ์ บุคลิกภาพ ลักษณะนิสัยอันมีผลต่อพฤติกรรม โดยเฉพาะจิตวิทยาสังคม ซึ่งเป็นสาขาทางจิตวิทยา ที่เน้นศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มชน สมาชิกกลุ่ม การเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่ม อิทธิพลของกลุ่มต่อพฤติกรรมของบุคคล การรวมกลุ่ม การปลุกระดม การโฆษณาชวนเชื่อ ทัศนคติ อคติ ของบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อปัจจัยทางสังคม และผู้นำ เป็นต้น
5. มนุษยวิทยาสังคม หรือมานุษยวิทยาวัฒนธรรม เป็นสาขาที่ศึกษาลักษณะต่าง ๆ ทางร่างกายของมนุษย์ เพื่อแบ่งประเภทเชื้อชาติ และเผ่าพันธุ์ มีส่วนสัมพันธ์ใกล้เคยงกับสังคมวิทยา
สาขาต่าง ๆ ของสังคมศาสตร์ได้ขยายกว้างออกไป ครอบคลุมศาสตร์สาขาต่าง ๆ เช่น ภูมิศาสตร์ ประชากรศาสตร์ นิติศาสตร์ การศึกษา สังคมศาสตร์ประยุกต์ต่าง ๆ
>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>