ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

เกร็ดความรู้ จากสารานุกรมไทย

ศาล

มีความหมายเป็นสองนัย คือ

ประการแรก ศาลยุติธรรม เป็นสถานที่ชำระคดีความต่าง ๆ ได้แก่ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ตลอดจนศาลอื่น ๆ ซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นศาลชั้นต้น เช่น ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง รวมทั้งศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้น กำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น เช่น ศาลแรงงานกลาง ศาลทรัพย์สินทางปัญญา และกาารค้าระหว่างประเทศ

ความเป็นมาของศาลไทย  ในอดีตได้มีการแยกศาลที่ทำการพิจสารณาคดีไปอยู่ตามกรม และกระทรวงต่าง ๆ โดยไม่ได้จัดเป็นระเบียบหมวดหมู่อย่างในปัจจุบัน เช่น ศาลกรมเมือง มีอำนาจพิจารณาคดีอุกฉกรรจ์มหันตโทษ ศาลกรมนา มีอำนาจพิจารณาความที่เกี่ยวข้องกับที่นา และโคกระบือ และศาลากรมท่า ขึ้นอยู่ในกรมคลัง  มีอำนาจบังคับคดีเกี่ยวกับการพาณิชย์กับคนต่างประเทศ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้ทรงปรับปรุงการปกครองบ้านเมืองให้เป็นแบบแผนดังอารยประเทศ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2434 และรวบรวมศาลต่าง ๆ ให้รวมอยู่ในกระทรวงยุติธรรม ในปี พ.ศ.2435 ได้มีการจัดตั้งศาลสนามสถิตยุติธรรม และรวบรวมศาลทั้งปวงขึ้นตรงต่อกระทรวงยุติธรรมทั้งหมด ยกเว้นศาลฝ่ายทหาร ซึ่งยังคงสังกัดอยู่ในกระทรวงกลาโหม

ต่อมาในปี พ.ศ.2540 ได้มีการจัดตั้งศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีบางประเภทขึ้น เป็นการเฉพาะ เพื่อเป็นการรองรับหลักการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเกื้อหนุนบทบัญญัติบางเรื่อง ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.2540 ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง

>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย