ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

เกร็ดความรู้ จากสารานุกรมไทย

ศรีปราชญ์

เป็นชื่อบุคคล หรืออาจเป็นราชทินนาม ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ที่มีมาแต่โบราณก้ได้ หรือเป็นแต่เพียงนามสมมติ ในนิยายก็ได้ เรื่องราวของศรีปราชญ์เป็นปัญหา ที่สับสนยุ่งยาก มีผู้ถกเถียงกันมานาน

ชื่อของศรีปราชญ์ และเรื่องราวประกอบ ที่ปรากฎอยู่ในหนังสือสองเรื่องคือ คำให้การชาวกรุงเก่าเรื่องหนึ่ง และคำให้การขุนหลวงหาวัด อีกเรื่องหนึ่ง

เรื่องราวของศรีปราชญ์ สรุปได้ดังนี้

1.  มีการเอ่ยอ้างถึงศรีปราชญ์ และมีเรื่องประกอบอยู่ในวรรณกรรมสองเรื่องคือ เรื่อง " คำให้การชาวกรุงเก่า" กับเรื่อง "คำให้การขุนหลวงหาวัด" ทั้งสองเรื่องนี้ กล่าวตรงกันว่า ศรีปราชญ์เป็นคนในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) และไม่ปรากฎว่า ศรีปราชญ์แต่งหนังสืออะไรไว้เป็นหลักฐาน

2.  ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฯ มีเรื่องอ้างถึงคนชื่อ ศรีปราชญ์ คือ หนังสือประชุมโคลงโบราณของพระยาตรัง และมีหนังสืออนิรุทธคำฉันท์ อ้างกันว่าศรีปราชญ์แต่งในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฯ แต่ผู้แต่งไม่ได้อ้างชื่อของตน มีแต่เรื่องว่าผู้แต่งมีความประสงค์ จะแข่งกับสมุทรโฆษคำฉันท์ ของพระมหาราชครู

3. คนทั้งหลายคิดกันว่าศรีปราชญ์ แต่งโคลงกำศรวล แต่ได้มีการพิสูจน์แล้วว่า ผู้แต่งคือ สมเด็จพระบรมราชาธิราช พระราชโอรสของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

4.  หนังสือ "คำให้การชาวกรุงเก่า" และ "คำให้การขุนหลวงหาวัด"  เล่าตรงกันว่า ศรีปราชญ์มีชีวิตอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี (พระเจ้าเสือ)

5.  สรุปได้ว่า ศรีปราชญ์ อาจมีสองคน

6.  ตำนานศรีปราชญ์ของพระยาปริยัติธรรมธาดา ไม่มีหลักฐานใดๆ เป็นเครื่องประกอบ

>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย