ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
รุสโซ
(พ.ศ.2255 - 2321)
เป็นนักคิดนักเขียนชาวฝรั่งเศส ในยุคสว่าง หรือยุคแห่งความรู้แจ้ง รุสโซมีแนวคิดที่ลึกซึ้งและน่าสนใจหลายด้าน แต่แนวคิดที่โดดเด่นและรู้จักกันแพร่หลายคือ แนวคิดทางการศึกษา ซึ่งมีอิทธิพลต่อแนวทางการศึกษาปัจจุบัน แนวคิดทางการเมือง และการปกครอง ซึ่งมีอิทธิพลต่อการปฎิวัติฝรั่งเศส และแนวความคิดยกย่องเชิดชูธรรมชาติ ซึ่งมีอิทธิพลต่อนักเขียนแนวโรมแมนติก ในสมัยต่อมา
แนวคิดทางการศึกษาของรุสโซ ได้รับอิทธิพลส่วนหนึ่งมาจาก จอห์น ล็อก (พ.ศ.2175 - 2247) นักปราชญ์ชาวอังกฤษ ซึ่งเชื่อว่าจิตใจของเด็กนั้น เปรียบเหมือนกระดานชนวนที่ว่างเปล่า ความเข้าใจความคิด และความรู้ต่าง ๆ จะค่อย ๆ เกิดขึ้นใจจิตใจโดยอาศัยการรับรู้ จากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสต่าง ๆ
รุสโซได้เสนอปรัชญาและวิธีการเรื่องการศึกษาอบรมไว้ในหนังสือเรื่อง เจบิล โดยได้เสนอแนให้คำนึงถึงธรรมชาติที่แท้จริงของเด็กเป็นสำคัญ เน้นการใช้ประสบการณ์โดยตรง สำหรับเด็กวัยก่อน 12 ปี นอกนั้น ต้องพยายามให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
ในทัศนะของรุสโซ ความรู้ที่ได้รับจากหนังสือ หรือทางวิชาการนั้น อยู่ในลำดับ หลังจากประสบการณื การเรียนรู้ต้องเรียนจากของจริง รู้อะไรต้องรู้จริง มิใช่รู้โดยคิดว่าตัวรู้ หรือจินตนาการเอาเอง
แนวคิดทางการเมืองการปกครอง ในหนังสือ "สัญญาประชาคม" รุสโซพยายามแสวงหาหนทางแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างเสรีภาพของบุคคลกับระเบียบของสังคม เขาเสนอให้บุคคลสละเสรีภาพส่วนตน ให้แก่ส่วนรวม
รุสโซ ยอมรับว่ามนุษย์มีความไม่เท่าเทียมกัน โดยถูกกำหนดมาแล้วจากธรรมชาติ ผู้ที่จะต้องรับผิดชอบต่อการกดขี่เบียดเบียน เพื่อนมนุษย์จึงได้แก่ อารยธรรม ซึ่งเกิดจากระบบการปกครอง ขนบธรรมเนียมประเพณี
>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>