ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

เกร็ดความรู้ จากสารานุกรมไทย

ราหู

เป็นคำที่ใช้เรียกตำแหน่งสำคัญตำแหน่งหนึ่งของดวงจันทร์ บนเส้นทางโคจรรอบโลก เมื่อมองจากอวกาศนอกโลก จะเห็นระนาบทางโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ เป็นมุมประมาณ 5 องศา 8 ลิบดา ดวงจันทร์จึงใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่เหนือ หรือใต้ระนาบทางโคจรของโลก มีจุดสำคัญสองจุด ที่ดวงจันทร์ผ่านระนาบทางโคจรของโลก เรียกว่า จุดโหนด ถ้าผ่านจากเหนือระนาบลงสู่ใต้ระนาบทางโคจรของโลกเรียกว่า จุดโหนดลง และจุดตรงข้ามซึ่งดวงจันทร์ผ่านระนาบ ทางโคจรของโลกจากใต้ระนาบขึ้นเหนือระนาบเรียกว่า จุดโหนดขึ้น นักโหราศาสตร์เรียก จุดโหนดขึ้นว่า ราหู และเรียกจุดโหนดลงว่า เกตุ ราหูและเกตุ จึงไม่ใช่ดวงดาวจริง แต่เป็นจุดสมมุติแสดงตำแหน่ง ดวงจันทร์บนระนาบทางโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์

เวลาใดที่ราหู หรือเกตุ อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์พอดี เวลานั้นจะเกิดสุริยุปราคา และก่อนหรือหลังเวลานี้ ประมาณสองสัปดาห์ มักจะเกิดจันทรุปราคาด้วย ตามตำราโลกธาตุ พระราหูครองธาตุลม ผิวผ่อง กาฬพรรณ หมอกเมฆ ประดับเทพอาภรณ์ล้วนสัมฤทธิ์ ทรงครุฑราชเป็นพาหนะ เมื่อจรไปรับแสงอาทิตย์แล้ว เลยมาครองธาตุลมทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย