ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

เกร็ดความรู้ จากสารานุกรมไทย

รัฐธรรมนูญ

ตามรูปคำแปลว่ากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งรัฐถือกันว่า เป็นกฎหมายแม่บทที่มีแต่อำนาจ แต่ไม่มีผลบังคับเหมือนดั้งกฎหมายแพ่ง หรือกฎหมายอาญารัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดเป็นกรอบ หรือนิติธรรมบัญญัติแห่งกฎหมายทั้งปวง

รัฐธรรมนูญมีสองประเภทคือรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีและรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร รัฐธรรมนูญจารีตประเพณี เกิดจากธรรมเนียมการปกครองประเทศ ซึ่งถือปฏิบัติสืบทอดกันมาปัจจุบันมีแต่รัฐธรรมนูญของประเทศอังกฤษฉบับเดียว รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร คือรัฐธรรมนูญทั้งหลายในโลกปัจจุบัน ซึ่งล้วนแต่เขียนขึ้นเป็นเอกสารสำคัญของประเทศ มีข้อดความที่กล่าวถึงรูปแบบของรัฐ อำนาจใจการปกครองรัฐสิทธิเสรีภาพของประชาชน การแบ่งแยกอำนาจและความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจเหล่านั้น รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโลกคือ รัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกา

รัฐธรรมนูญเกิดขึ้นได้สี่ทางด้วยกัน คือ

1. เกิดจากจารีตประเพณี
2. ประมุขของรัฐประทานให้ เช่น รัฐธรรมนูญปรัสเซีย (พ.ศ.2391) รัฐธรรมนูญญี่ปุ่น (พ.ศ.2447)  รัฐธรรมนูญโมนาโค (พ.ศ.245)  และรัฐธรรมนูญเอธิโอเปีย (พ.ศ.2474)
3. เกิดจากการปฎิวัติหรือรัฐประหาร เช่น รัฐธรรมนูญฝรั่งเศส และรัฐธรรมนูญรัสเซีย
4. รัฐธรรมนูญที่เกิดจากความตกลงระหว่างประมุขแห่งรัฐเดิมกับราษฎร เช่น รัฐธรรมนูญกรีซ (พ.ศ.2387)  รัฐธรรมนูญโรมาเนีย (พ.ศ.2407)  และรัฐธรรมนูญบัลแก่เรีย (พ.ศ.2413) รัฐธรรมนูญของไทย (พ.ศ.2475)

เนื้อหาของรัฐธรรมนูญอาจแยกพิจารณาได้โดยสังเขป คือ

1. คำปรารภ เป็นส่วนที่กล่าวถึงที่มา และเจตจำนงของรัฐธรรมนูญทั่ว ๆ ไป
2. กำหนดรูปของรัฐ อันเป็นข้อกำหนดที่ชี้ให้เห็นระบบการปกครองรัฐนั้น ๆ ว่าจัดให้รูปรัฐเดี่ยว หรือหลายรัฐรวมกัน ซึ่งอาจอยู่ในรูปสหรัฐ สหภาพ สาธารณรัฐหรือสหพันธ์สาธารณรัฐ
3. กำหนดรูปแบบการปกครองและประมุขของรัฐ คือ กำหนดว่าจะปกครองประเทศในรูปใด ระบบการปกครองตามรัฐธรรมนูญแบ่งเป็นสองระบบใหญ่ คือ
       ก. ระบบประธานาธิบดี มีประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งเป็นประมุขฝ่ายบริหารที่มิได้เป็นสมาชิกรัฐสภา เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา และฟิลิปปินส์
       ข. ระบบรัฐสภา มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ประมุขแห่งรัฐเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจและเป็นที่เคารพสักการะ เช่น ประเทศไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินเดีย
4. กำหนดดารแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย คือ อำนาจในการปกครองประเทศ ซึ่งเดิมถือกันว่ามาจากพระเจ้า ตกอยู่แก่กษัตริย์ผู้เป็นสมมุติเทพ และทรงเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์ผู้ใช้อำนาจนั้น ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 21 เกิดมีความเห็นว่า อำนาจอธิปไตยของรัฐต้องมาจากประชาชน มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมาย ที่จัดระบบการปกครองประเทศ ซึ่งมักจะจำแนกอำนาจดังกล่าวเป็นสามสาขา ซึ่งเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
5. การให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเสมอภาค ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
6. แนวนโยบายของรัฐ
7. วิธีแก้ไขรัฐธรรมนูญ
8. บทเฉพาะกาล

>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย