ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

เกร็ดความรู้ จากสารานุกรมไทย

ยูนนาน

เป็นชื่อมณฑลทางงภาคใต้ของประเทศจีน มีชนชาติไทยอาศัยอยู่ประมาณ 760.000 คน คนยูนนานแปลว่าแดนใต้แห่งเมฆหมอก

ยูนนานมีอาณาเขตทางทิศตะวันออกติดต่อกับมณฑลไกวเจา และมณฑลกวางสี ทิศใต้จดเวียดนามและลาว ทิศตะวันตกและทิศตะวันตกเฉียงใต้จดพม่าและทิเบต ทิศเหนือจดมณฑลเสฉวน เมืองหลวงชื่อคุนหมิง

อำเภอต้าหลี่ (ตาลีฟู) อยู่ทางทิศตะวันตกของคุนหมิง แต่ค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย ห่างออกไปตามทางรถยนต์ประมาณ 400 กม. ต้าหลีเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรน่านเจ้า และต่อมาเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรตาลีฟู เมื่อพันกว่าปีมาแล้ว

ชนชาติไทยในยูนนานใช้ภาษาไทยเหนือและไทยลื้อ ซึ่งจัดว่าเป็นภาษาถิ่น ภาษาเดียวกับไทยขาว และไทยลื้อทางทิศตะวันออก ไทยลื้อทางใต้ และไทยเขินทางทิศตะวันตก ดินแดนที่มีภาษาไทยถิ่นมากได้แก่ มณฑลกวางสีของจีนต่อกับเดียนเบียนฟูของเวียดนาม

สิบสองปันนาเป็นเขตปกครองตนเองของประเทศจีน อยู่ในมณฑลยูนนานทางภาคใต้มีเชียงรุ่งเป็นเมืองหลวงอยู่ห่างจากคุนหมิงลงไปห่างประมาณ 780 กม. ชนชาติไทยในสิบสองปันนาเป็นพวกไทยลื้อ ไทยเหนือ ไทยด่อนหรือไทยขาว และไทยปอง อาณาเขตสิบสองปันนาทางทิศตะวันออกติดกับเมืองอูเหนือ และเมืองอูใต้ของประเทศลาว มีแม่น้ำของ (โขง) ไหลผ่านกลาง แม่น้ำนี้มีต้นน้ำอยู่ในเมืองต้าหลี่

ตามที่ปรากฎอยู่ในประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงรุ่ง ขุนเจี้อง เป็นกษัตริย์องค์แรกของเชียงรุ่ง และสวรรคตในปี พ.ศ.1772 ท้าวรุ่งแก่นชายเป็นกษัตริย์องค์ที่สี่ มีธิดาชื่อนางเทพคำกราย (เทพคำขยาย) อภิเษกกับเจ้าชายเชียงแสน ตรงกับพงศาวดารโยนกว่านางเทพคำกรายอภิเษกกับลาวเม็ง และมีโอรสคือพระเจ้ามังราย (เม็งราย) ผู้ทรงรวบรวมอาณาจักรล้านนาขึ้นเป็นปึกแผ่น กษัตริย์องค์สุดท้ายของเชียงรุ่งคือเจ้าหม่อมคำลือ (พ.ศ.2490) เป็นกษัตริย์องค์ที่สี่สิบสี่ และสิ้นสภาพเป็นกษัตริย์ของสิบสองปันนา เมื่อประเทศจีนประกาศสถาปนาประเทศเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน

ชนชาติไทยในสิบสองปันนาส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาแถบเถรวาท ซึ่งสันนิษฐานว่า จะเผยแผ่เข้าไปในสิบสองปันนา หลังจากการสังคายนาพระพุทธศาสนา เป็นครั้งที่แปดของโลก ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนาในปี พ.ศ.2020 เพราะคนไทยในสิบสองปันนาเองกล่าววว่า พระพุทธศาสนาเพิ่งเข้าสู่ดินแดนของตน เมื่อประมาณ 300 กว่าปีมานี้

ภาษาพูดตามขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของคนไทยในสิบสองปันนาคล้านคลึงกับคนไทยในล้านนา ทั้งนี้สาเหตุใหญ่ประการหนึ่งคือตามพงศาวดารน่านเจ้าและเอกสารจีน พระเจ้ามังรายทรงยกกองทัพไปตีเมืองเชียงรุ่งสองครั้งในปี พ.ศ.1840 และพ.ศ.1841 ตามพงศาวดารโยนก พระเจ้าติโลกราชทรงยกกองทัพไปตีสิบสองปันนาในปี พ.ศ.1998 และพ.ศ.19999 และในสมัยพระยากาลิละ ทัพล้านนาตีได้เมืองต่าง ๆ ในสิบสองปันนา รวมทั้งเมืองเชียงรุ่ง และได้กวาดต้อนชาวไทยลงมาไว้ในจังหวัดทางภาคเหนือเป็นจำนวนมาก

>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย