ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

เกร็ดความรู้ จากสารานุกรมไทย

แม่เหล็ก

เป็นวัตถุที่สามารถดูดโลหะบางชนิดได้ เช่นดูดเหล็ก นิกเกิล โคบอลต์ หรือโลหะเจือบางชนิดในธรราชาติ มีแร่เหล็กชนิดหนึ่งเรียกว่าแร่แมกนีไตต์ ประกอบด้วยออกไซด์ของเหล็ก เมื่อนำก้อนแร่นี้คลุกผงตะไบเหล็ก ผงตะไบเหล็กจะเกาะติดเป้นกลุ่มอยู่ที่ปลายทั้งสองของก้อนแร่ เมื่อนำก้อนแร่นี้ไปแขวนให้แกว่งได้คล่องในแนวราบ เมื่อหยุดแกว่งแล้วปลายทั้งสองของก้อนแร่จะนิ่งอยู่ในแนวทิศเหนือ ใต้ อยู่เสมอ เมื่อนำก้อนแร่ชนิดนี้ไปถูแท่งเหล็กหลาย ๆ ครั้งให้ถูกวิธี แท่งเหล็กนั้นก็จะปรากฎมีสมบัติดังกล่าวข้างต้นทุกประการ เราเรียกก้อนแร่นี้ว่า แม่เหล็กธรรมชาติ

แม่เหล็กย่อมมีสองปลายเสมอ บริเวณที่ปลายทั้งสองเป็นบริเวณที่มีอำนาจแม่เหล็กมากที่สุด เรียกบริเวณปลายทั้งสองนี้ว่า ขั่วแม่เหล็ก เมื่อนำแท่งแม่เหล็กขึ้นแขวนกลาง เมื่อแท่งแม่เหล็กหยุดนิ่ง จะนิ่งอยู่ในแนวทิศเหนือ - ใต้ เสมอ จึงเรียกปลายที่ชี้มุ่งทิศเหนือว่า ขั้วเหนือ และเรียกปลายที่ชี้มุ่งทิศใต้ว่า ขั้วใต้

แท่งแม่เหล็กซึ่งอำนาจแม่เหล็กออกไปจากแท่งเป็นบริเวณโดยรอบแท่ง เรียกบริเวณดังกล่าวว่า สนามแม่เหล็ก มีลักษณะประกอบด้วย เส้นแผ่กระจายเต็มสนามแม่เหล็ก เป็นแนวโค้งจากขั้วเหนือไปสู่ขั้วใต้ของแท่งแม่เหล็ก เรียกเส้นเหล่านี้ว่า เส้นแรงแม่เหล็ก

โลก มีสภาพเป็นแม่เหล็กเสมือนหนึ่งมีแท่งแม่เหล็กขนาดมหึมาฝังอยู่ในโลก โดยปรากฎมีขั้วเหนืออยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับขั้วโลกใต้ ภูมิศาสตร์และมีขั้วใต้อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับขั้วโลกเหนือภูมิศาสตร์ ขั้วทั้งสองของแม่เหล็กโลก มิได้อยู่ประจำที่ โดยจะเคลื่อนวนเป็นแนววงกลม จากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตก ซึ่งเมื่อจะเคลื่อนวนครบรอบทุก ๆ ประมาณ 960 ปี แนววงกลมนี้เป็นฐานของรูปกรวยกลม ซึ่งสันข้างเอียงทำมุม 17 องศา กับแกนภูมิศาสตร์ของโลก

>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย