ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
มูลบทบรรพกิจ
เป็นชื่อแบบเรียนภาษาไทย ผู้แต่งคือ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) แต่งขึ้นในปี พ.ศ.2414 แล้วนำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ มีห้าตอนคือ มูลบทบรรพกิจ วาหะนิตินิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน และพิศาลการันต์ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ลงพิมพ์ในโรงพิมพ์หลวง สองพันฉบับ เพื่อไว้เป็นแบบให้กุลบุตรศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทย เป็นเครื่องเรืองปัญญาให้ได้ความฉลาด รู้ใช้อักษร และไม้เอก โท ให้ถูกถ้วนชำนาญชัดเจน กว้างขวางเป็นคุณแก่ราชการสืบไป
คำว่า มูลบท ได้ใช้เรียกเป็นชื่อย่อของตำราเรียนทั้งห้าตอนนี้ ในเนื้อเรื่องแต่ละตอน จะมีเนื้อความสอนวิธีอ่าน และเขียนหนังสือไทย
ตอนที่หนึ่ง ใช้ชื่อว่า มูลบทบรรพกิจ
มีเนื้อความว่าด้วยการผสมอักษรคือ การผสมพยัญชนะกับสระ ซึ่งเรียกว่า คำสะกด แม่
ก.กา ผู้แต่งได้คัดกาพย์เรื่อง ไชยสุริยา ของพระสุนทรโวหาร (ภู่)
ที่แต่งไว้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ มาเป็นบทอ่านเทียบ
ทุกคำเป็นการผสมพยัญชนะกับสระเท่านั้น เมื่อมีการผสมแบบนี้เรียกว่า แม่ ก.กา
แต่ถ้ามีตัวสะกดตั้งแต่แม่ กก จนถึงแม่เกย
ก็จะมีคำอ่านเทียบเป็นแม่เป็นหมวดไปอีกจนจบเรื่องพระไชยสุริยา
ตอนที่สอง ว่าด้วยอักษรนำ
ตอนที่สาม อักษรประโยค ว่าด้วยอักษรควบและการใช้บุรพบท กับ แก่
แต่ ต่อ
ตอนที่สี่ สังโยคพิธาน
และไวพจน์พิจารณ์ว่าด้วยคำบาลีสันสกฤตและคำพ้อง
ตอนที่ห้า พิศาลการันต์ ว่าด้วยการใช้การันต์และการใช้วรรณยุกต์ ตรี
จัตวา และไม้ไต่คู้
>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>