ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ฝาย
เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับทดน้ำ ในทางน้ำซึ่งมียอดน้ำของตัวเอง เพื่อส่งไปใช้เพาะปลูกในโครงการเหมือง ฝาย ซึ่งเป็นชื่อมาแต่เดิมในภาคเหนือ ปัจจุบันมีชื่อว่า "โครงการทดและส่งน้ำ"
งานในโครงการทดและส่งน้ำ แบ่งออกได้เป็นสองส่วนคือ หัวงานกับระบบการส่งน้ำ
หัวงาน คือ สิ่งที่สร้างกั้นทางน้ำ สำหรับทดน้ำ
เวลาที่มีน้ำมาน้อย ระดับน้ำต่ำให้สูงขึ้นเท่าที่ต้องการ
เพื่อที่จะส่งน้ำไปสู่พื้นดินได้เร็วขึ้นได้แก่ เขื่อนทดน้ำ หรือฝาย และหมายรวมถึง
สิ่งสร้างขึ้นเพื่อควบคุมปริมาณน้ำที่จะส่งเข้าคลองส่งน้ ซึ่งภาคเหนือเรียก เหมือง
ได้แก่ ประตูปากคลองส่งน้ำสายใหญ่
ระบบการส่งน้ำ คือ
งานที่นำน้ำไปส่งให้พื้นที่เพาะปลูกในโครงการ ได้แก่ คลองส่งน้ำ
คลองส่งน้ำที่ขุดน้ำจากเหนือเขื่อนทดน้ำเรียก คลองส่งน้ำสายใหญ่ หรือเหมืองสายใหญ่
กับอาจมีคลองซอย และคลองแยกซอย และมีสิ่งก่อสร้าง เพื่อควบคุมน้ำ
ตามคลองส่งน้ำตักผ่านทางน้ำสายอื่น และทางคมนาคม ตลอดจนมีคูน้ำจากคลองส่งน้ำ
เพื่อส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกต่อไป
ฝายแตกต่างกับเขื่อนทดน้ำคือ ฝาย เป็นทำนบเตี้ย ๆ สูงเท่ากับระดับน้ำที่ต้องการทดขึ้น ซึ่งเรียกว่า ระดับน้ำเก็บกัก ไม่มีช่องระบายปิด เปิดเป็นสิ่งขัดขวางทางน้ำอย่างถาวร โดยให้น้ำที่เหลือจากความต้องการท้นขึ้น แล้วไหลข้ามลินฝายไป ส่วนเขื่อนทดน้ำมีช่องระบายปิดเปิดให้น้ำไหลผ่านไปได้
โครงการเหมืองฝายนี้ คนไทยในภาคเหนือได้จัดสร้างขึ้นใช้มานานแล้ว ปรากฎว่าในรัชสมัยพ่อขุนเม็งราย ฯ มีอำนาจในลุ่มน้ำปิงนั้น กิจการนี้ได้เจริญแพร่หลายแล้ว ถึงกับมีกล่าวไว้ในมังรายศาสตร์ ซึ่งตราขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1839 เช่น "ทำฝายเอาน้ำใส่นา"
>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>