ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

เกร็ดความรู้ จากสารานุกรมไทย

ปักปันแขตแดน

หมายถึง การกำหนดแนวพรมแดนระหว่างประเทศที่มีแนวเขตแดนติดกัน หรือการทำเครื่องหมายกำหนด แนวแห่งพรมแดนระหว่างประเทศขึ้น ให้เป็นที่แน่นอนบนแผนที่ หรือการเครื่องหมายไว้ในภูมิประเทศ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน หลักการสำคัญของการกำหนด แนวพรมแดนอยู่ที่ความตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งจะปรากฏออกมาในรูปของหนังสือสัญญาต้องเป็นสนธิสัญญา อนุสัญญา ความตกลง บันทึกวาจา ฯลฯ ซึ่งมีสิทธิและประโยชน์ที่บ่งไว้ในหนังสือสัญญาดังกล่าว โดยนัยระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศ และจะเป็นเครื่องยืนยันว่า คู่สัญญาจะเคารพต่อเอกราชอธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดนต่อกัน แนวพรมแดนตามความนิยมปัจจุบัน จะต้องมีการกำหนด หรือการปักปันตามกฎหมาย แห่งกฎหมายระหว่างประเทศ และมีหลัก แดนปักไว้ให้เห็นเด่นชัดเป็นที่แน่นอน ตามหลักนิยมระหว่างประเทศนั้น การกำหนดแนวพรมแดน หรือการเปลี่ยนแปลงแนวพรมแดนที่กำหนดไว้แล้วจะกระทำกันด้วยความตกลง หรือสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องเรียกว่า การกำหนดเขตแดน ข้อความในสัญญากำหนดเขตแดนระยะแนวเขตแดนไว้ อย่างกว้าง หลังจากนั้นคณะกรรมการร่วมระหว่างประเทศว่าด้วยการปักหลักเขต ซึ่งจะรวมกันตามทอดข้อความสำคัญ ลงไปในภูมิประเทศจริง ซึ่งเรียกว่า การปักปันเขตแดน หรือแนวพรมแดน

การกำหนดเขตแดนบนพื้นดินแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะ คือ

1. กำหนดโดยอาศัยลักษณะภูมิประเทศ ได้แก่ ภูเขา (สันปันน้ำ) ทางน้ำ (รองน้ำลึก) ทะเลสาบ ช่องแคบ อ่าว หนอง บึง ป่าไม้ ฯลฯ

2. กำหนดขึ้นเองแถบแนวเส้นรุ้ง เส้นแวง หรือกำหนดด้วยแนวตรงที่จุด เป็นง่ามมุมกับแนวเส้นตั้งทั้งสองนั้น แนวเขตแดนนี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า "แนวพรมแดนเส้นตรง" หรือแนวพรมแดนเชิงภูมิศาสตร์

การกำหนดแขตแดนในทะเลนั้น ตามความนิยมในสมัยเดิมนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2443 เป็นต้นมาได้กำหนดความกว้างของทะเล อาณาเขตห่างจากฝั่งทะเลเพียง 48.275 กม. (3 ไมล์ทะเล) เท่านั้น โดยถือกฎลูกปืนใหญ่เป็นสำคัญ เพราะปืนใหญ่รักษาฝั่งในสมัยนั้นมีขีดความสามารถยิงไกลสุดได้เพียง 48.275 กม. แต่ในปัจจุบันหลายประเทศได้พยายามที่จะขยายทะเลอาณาเขตของตนออกไปอีก ดังเช่นประเทศในลาติน  อเมริกาได้ขยายทะเลอาณาเขตออกเป็น 200 ไมล์ และในปัจจุบันหลายประเทศกำลังขยายทะเลอาณาเขตออกไปเป็น 200 ไมล์บ้าง ถ้าหากประเทศต่าง ๆ กระทำเช่นนี้แล้ว ทะเลหลวงก็จะลดพื้นที่เหลือเพียงร้อยละยี่สิบเท่านั้น เพื่อเป็นการขจัดปัญหาดังกล่าว ทางองค์การสหประชาชาติจึงได้เปิดประชุมในปี พ.ศ.2501 และ พ.ศ.2503 ผลการประชุมครั้งนั้นทำให้เกิดอนุสัญญารวมสี่ฉบับคือ

1. อนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง
2. อนุสัญญาว่าด้วยทะเลหลวง
3. อนุสัญญาว่าด้วยการประมงและการอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีชีวิตในทะเลหลวง
4. อนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป

ในด้านอธิปไตยของรัฐเหนือพื้นดิน และน่านน้ำอาณาเขตที่เรียกว่า "ระหว่างอากาศ" ขึ้น ความตกลงในอนุสัญญาว่าด้วยการเดินอากาศเฉพาะเวลาสงบ ซึ่งได้ลงนามเมื่อปี พ.ศ.2462 ได้รับรองอธิปไตยเหนือพื้นดิน ตลอดจนเหนือน่านน้ำอาณาเขตโดยไม่จำกัด ในขณะเดียวกันรัฐเจ้าของอธิปไตยก็ยินยอมให้เครื่องบินมีเสรีภาพในการเดินทางผ่านโดยบริสุทธิ์เหนือดินแดนและน่านน้ำอาณาเขตในเวลาสงบได้

สาเหตุของความขัดแย้งเรื่องดินแดนอาจแบ่งออกได้เป็นห้าประการ คือ

1. จากการเรียกร้องขอดินแดนคืน
2. ปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อย
3. การกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐ
4. การช่วงชิงอิทธิพลการแผ่ขยายสิทธิความเป็นเจ้า และการแสวงหาผลประโยชน์ของชาติมหาอำนาจ
5. การละเมิด และการรุกล้ำพรมแดนทางบก ทางทะเลและทางอากาศ

รัฐและแนวพรมแดนจะตองมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น จะแยกออกจากกันมิได้เป็นอันขาด เพราะว่าเส้นเขตแดนเป็นส่วยสำคัญยิ่ง ในการแสดงอำนาจอธิปไตยของรัฐ

>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย