สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กะเหรี่ยง

“ กะเหรี่ยง” เป็นชื่อที่คนทั่วไปใช้เรียกกลุ่มชนชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่ง ที่อาศัยอยู่หนาแน่นในเขตบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศไทย ชื่อว่า “กะเหรี่ยง” แปลความ หมายถึง “ดึกดำบรรพ์” ( คำว่า ยวน, ยุน, ยาง คือ กะเหรี่ยง) มอญซึ่งเรียกกลุ่มชนชาติพันธุ์กลุ่มนี้ว่า “กะเรง” ชนกลุ่มนี้เรียกตนเองว่า “ปกากะญอ” ซึ่งแปลว่า “คน” ทางภาคเหนือของประเทศไทยและทางรัฐฉานของประเทศพม่า กลุ่มชนนี้เป็นที่รู้จักกันในนามว่า “ยาง”

ถิ่นฐานดั้งเดิมของกะเหรี่ยงอยู่บริเวณมองโกเลียเมื่อกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ต่อมาได้หนีภัยจากสงครามมาอยู่ที่ทิเบต และเมื่อถูกรุกรานจากกองทัพจีนอีก ก็ถอยร่นลงมาทางใต้เรื่อยๆ นับตั้งแต่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง จนกระทั่งลงมาถึงดินแดนลุ่มน้ำสาละวินในเขตประเทศพม่า กะเหรี่ยงในประเทศพม่าอาศัยอยู่หนาแน่นในบริเวณแม่น้ำอิระวดีและสิตตัง ตั้งแต่บริเวณเทือกเขาที่กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า ตั้งแต่ทางเหนือสุดบริเวณเหนือเมืองตองยี จนลงมาใต้สุดที่บริเวณคอคอดกระจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (รวมถึงจังหวัดระนอง)

กะเหรี่ยงในประเทศไทย เป็นกะเหรี่ยงที่อพยพมาจากประเทศพม่าทั้งสิ้นจากการสันนิษฐานของนักวิชาการ การอพยพเข้ามาในประเทศไทยในยุคแรกมีสาเหตุมาจากการหนีภัยสงคราม ในสมัยเมื่อพระเจ้าอลองพญา (อ่องเจยะ) ทำสงครามกับพวกมอญ ชาวกะเหรี่ยงได้หนีภัยมาพากันเข้ามาในเขตไทย และใน พ.ศ. 2428 เมื่ออังกฤษยึดพม่าเหนือได้และทำการปราบปรามกะเหรี่ยงที่แข็งข้อต่ออังกฤษ ทำให้ชาวกะเหรี่ยงต้องอพยพเข้ามาในประเทศไทยอีกระลอกหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะไม่ปรากฏหลักฐานเป็นที่แน่นอนว่ากะเหรี่ยงอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อไร แต่อาจสันนิษฐานได้ว่า เข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เขียนไว้ในหนังสือไทยรบพม่า ครั้งเมื่อพระเจ้านเรศวรมหาราชทรงยกทัพไปตีเมืองตองอู ได้มีแม่ทัพคนหนึ่งซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยง จำนวนที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในตอนปลายศตวรรษที่ 18 ในรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.5)

ประวัติศาสตร์ชนเผ่ากะเหรี่ยง

“ชนเผ่ากะเหรี่ยง” เป็นชนเผ่าที่มีประวัติอันยาวนาน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับหลายชนเผ่าหลายชนชาติ ทั้งชนชาติไทยและชนต่างชาติ เนื้อหาที่จะกล่าวนี้เป็นประวัติศาสตร์ที่อ้างอิงจากเอกสาร และประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า ประวัติศาสตร์ที่อ้างอิงจากเอกสาร ลำดับเหตุการณ์ก่อนคริสต์ศตวรรษ ดังนี้

  • B.C. 2617 ชนชาติกะเหรี่ยงอพยพถอยร่นลงมาจากมองโกเลีย
  • B.C. 2013 ชนชาติกะเหรี่ยงอพยพมาปากีสถานตะวันออก
  • B.C. 1866 ชนชาติกะเหรี่ยงอพยพออกจากปากีสถานตะวันออก
  • B.C. 1864 ชนชาติกะเหรี่ยงอพยพจากธิเบต
  • B.C. 1385 ชนชาติกะเหรี่ยงอพยพมาถึงยูนนาน ประเทศจีน
  • B.C.1128 การอพยพโยกย้ายของชนชาติกะเหรี่ยงรุ่นแรกจากยูนนานลงมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • B.C. 1125 ชนชาติกะเหรี่ยงรุ่นแรก ได้มาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • B.C. 759 ชนชาติกะเหรี่ยงรุ่นที่สองอพยพจากยูนนาน ลงมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีก
  • B.C. 741 ชนชาติกะเหรี่ยงรุ่นที่สอง ได้อพยพมาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (หมายเหตุ B.C.หมายถึง ปีคริสต์ศักราช, B.E. หมายถึง ปีพุทธศักราช)

อ่านต่อ >>

» กะเหรี่ยง

» ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการอพยพจากประเทศจีน

» ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชนชาติไทย

» ชนชาติกะเหรี่ยงในประวัติศาสตร์ในสมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์

» ลักษณะบุคคลกะเหรี่ยงกลุ่มต่างๆ ในประเทศไทย

» ประชากร

» โครงสร้างทางสังคม

» ครอบครัว

» หมู่บ้าน

» ระบบคุณธรรมและจริยธรรม

» ประเพณีและข้อห้าม

» ศาสนาและพิธีกรรม

» ระบบเศรษฐกิจ

» การปกครอง

» ตำนานชนเผ่า

» บรรณานุกรม

กะเหรี่ยงในประวัติศาสตร์ไทย และประวัติศาสตร์ของกะเหรี่ยงในประเทศไทย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย