ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

สุนทรียศาสตร์อินเดีย

รศ. สมเกียรติ ตั้งนโม (โครงการจัดตั้ง ACT: Art Criticism & Theory)
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

”รส-ธวานิ” (rasa-dhvani) หรือข้อเสนอแนะเชิงบทกวี

วัตถุประสงค์ขั้นต้นของคัมภีร์นี้ เพื่อกลั่นกรองแนวคิดทางวรรณคดีเกี่ยวกับ”ธวานิ” (dhvani) หรือข้อเสนอแนะเชิงบทกวี โดยให้เหตุผลถึงการดำรงอยู่ของ”รส-ธวานิ” (rasa-dhvani), เริ่มต้นในรูปแบบต่างๆ ของภาษาสันสกฤต ประกอบด้วย: คำ, ประโยค, หรือทั้งหมดของผลงาน “นำเสนอ” ถึง”ภาวะ”หรือ bhava ทางอารมณ์ความรู้สึกของโลกที่เป็นจริง, ระยะห่างทางสุนทรีย์(aesthetic distance), ผู้รับที่มีอารมณ์อ่อนไหว(เข้าถึง),ความเอร็ดอร่อยเกี่ยวกับ”รส”, รสชาติทางสุนทรีย์เกี่ยวกับโศกนาฏกรรม, เรื่องวีรบุรุษ, เรื่องของความรัก

    ในศตวรรษที่ 9-10 ปรมาจารย์ทางด้านศาสนาที่ถูกรู้จักในฐานะ "the nondual Shaivism of Kashmir" [อทวินิยมไศวะนิกายของแคชเมียร์] (or "Kashmir Shaivism" – ลัทธิไศวะนิกายแคชเมียร์ / นับถือพระนารายญ์หรือพระวิษณุ) และนักสุนทรียศาสตร์, อภินวคุปตะ (Abhinavagupta) (อภินวคุปตะ) (*) ได้ผลักดันทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่อง”รส”ไปสู่จุดสุดยอดของมันในการแสดงข้อคิดเห็นต่างๆ ที่แยกๆ กันของเขาใน the Dhvanyaloka, the Dhvanyaloka-locana (translated by Ingalls, Masson and Patwardhan, 1992) และ the Abhinavabharati (อภินวภารตี), ข้อคิดของเขาเกี่ยวกับนาฏยศาสตร์ บางส่วนที่ได้รับการแปลโดย Gnoli และ Masson และ Patwardhan.

    (*) Abhinavagupta (approx. 950 - 1020 AD) was one of India's greatest philosophers, mystics and aestheticians. He was also considered an important musician, poet, dramatist, exeget, theologian, and logician - a polymathic personality who exercised strong influences on Indian culture.



    He was born in the Valley of Kashmir in a family of scholars and mystics and studied all the schools of philosophy and art of his time under the guidance of as many as fifteen (or more) teachers and gurus. In his long life he completed over 35 works, the largest and most famous of which is Tantriloka, an encyclopedic treatise on all the philosophical and practical aspects of Trika and Kaula (known today as Kashmir Shaivism). Another one of his very important contributions was in the field of philosophy of aesthetics with his famous Abhinavabharati commentary of Natyasastra of Bharata Muni.

    Abhinavagupta (อภินวคุปตะ) ได้ให้คำนิยามในเชิงเทคนิคขึ้นมาเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับ”รส” ซึ่งคือความสุขสุดยอดที่เป็นสากลเกี่ยวกับตัวตนหรืออาตมัน (the Self or Atman) ถูกให้สีสันโดยระดับทางอารมณ์ของการละคร. “สันติรส” (Shanta-rasa) ทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นสมาชิกที่เท่าเทียมกันอันหนึ่งเกี่ยวกับชุดของ”รส”ต่างๆ แต่ในเวลาเดียวกันก็มีความแตกต่างจากรูปแบบที่ชัดเจนที่สุดของความสุขสุดยอดทางสุนทรีย์ Abhinavagupta (อภินวคุปตะ) เปรียบ”สันติรส”เสมือนสายสร้อยของอัญมณี ขณะเดียวกันมันอาจไม่เป็นที่ดึงดูดใจสำหรับคนส่วนใหญ่. มันเป็นสายสร้อยที่ให้รูปทรงของสร้อยคอ ยินยอมให้อัญมณีแห่งรสทั้งแปดได้รับความเพลิดเพลิน. ความเอร็ดอร่อยในรสชาติต่างๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง”สันติรส”ได้ถูกแย้มนัยในฐานะภาวะที่ดี แต่ไม่เคยเท่าเทียมกับความสุขสุดยอดเกี่ยวกับประสบการณ์ของบรรดาโยคีที่มีต่อการตระหนักในตัวตนสูงสุด (the bliss of Self-realization experienced by yogis.)

อ่านต่อ >>>

ระสะ : รสชาติทางอารมณ์ความรู้สึกที่ฝังอยู่ในผลงานศิลปะ
นาฎยศาสตร์: คัมภีร์พระเวทอันดับห้า (ยุคเสื่อม)
ทฤษฎีรส พัฒนาขึ้นโดยนักสนุทรียศาสตร์แคชเมียร์
รส-ธวานิหรือข้อเสนอแนะเชิงบทกวี
ความสำคัญของ”รส” ศูนย์กลางเกี่ยวกับประสบการณ์ของมนุษย์
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับ”กามะ-กาม”
นาฏยศาสตร์ของภารตะมุนี และในคัมภีร์อุปนิษัท
 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย