สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
สิทธิและหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
การรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
คือการห้ามปฏิบัติต่อมนุษย์เยี่ยงสัตว์
หรือเยี่ยงทาส เช่น จะนำมนุษย์มาทดลองเหมือนสัตว์ไม่ได้
และจะใช้สิทธิที่ได้รับการรับรองนี้ ทำสิ่งใดก็ได้ แต่ต้องไม่สร้างความเดือดร้อน
ให้แก่ผู้อื่น ประกอบด้วย
มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล
ย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา 26 การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร
ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพ
ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา 27
สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้ง โดยปริยาย
หรือโดยวินิฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมได้รับความรับรอง และผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี
ศาล และองค์กรอื่น ของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฏหมาย
และการตีความกฏหมายทั้งปวง
มาตรา 28 บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตน ได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลอื่น
ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี ของประชาชน
บุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิ หรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยก
บัญญัติแห่งกฏหมาย เฉพาะเพื่อใช้สิทธิทางศาล หรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้
มาตรา 29 การจำกัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคล
ที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่ โดยอาศัยอำนาจ ตามบทบัญญัติ
แห่งกฏหมายเฉพาะ เพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้ และเท่าที่จำเป็น เท่านั้น
และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญ แห่งสิทธิเสรีภาพนั้นมิได้
กฎหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป และไม่มุ่งหมาย ให้ใช้บังคับแก่
กรณีหนึ่ง หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นการเจาะจงทั้งต้องระบุ
บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ที่ให้อำนาจ ในการตรากฎหมายนั้นด้วย
บทบัญญัติวรรคหนึ่ง และวรรคสอง ให้นำมาใช้บังคับกับกฎ หรือข้อบังคับ
ที่ออกโดยอาศัยอำนาจ ตามบัญญัติแห่งกฎหมาย ด้วยอนุโลม
อนึ่ง ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ตามที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญนั้น
มีผู้ให้คำจำกัดความ ไว้หลากหลาย แต่พอจะกล่าวได้ว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้น
เป็นคุณค่าที่มีลักษณะเฉพาะ อันสืบเนื่องมาจาก ความเป็นมนุษย์
และเป็นคุณค่าที่ผูกพันอยู่ เฉพาะกับความเป็นมนุษย์เท่านั้น โดยไม่ขึ้นอยู่กับ
เงื่อนไขอื่นใดทั้งสิ้น เช่น เชื้อชาติ ศาสนา คุณค่าของมนุษย์ดังกล่าวนี้
มีความมุ่งหมาย เพื่อให้มนุษย์มีความอิสระ ในการที่จะพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตัว
ของบุคคลนั้นๆ ภายใต้ความรับผิดชอบของตนเอง โดยถือว่า " ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ "
เป็นคุณค่า ที่มิอาจจะล่วงละเมิดได้
» การรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
» การรับรองความเสมอภาคของบุคคล
» สิทธิและเสรีภาพในการศึกษาหาความรู้
» สิทธิในการได้รับการรักษาพยาบาล
» สิทธิในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
» สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสาธารณะและข้อมูลราชการ
» สิทธิของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม