สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

การย่อยอาหาร (Digestion)

หมายถึง กระบวนการแปรสภาพอาหารโมเลกุลใหญ่ให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลง เพื่อการดูดซึมเข้าสู่เซลล์ สารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน เท่านั้น ที่ต้องผ่านกระบวนการย่อยเสียก่อน เกลือแร่ วิตามิน และน้ำ สามารถดูดซึมเข้าสู่เซลล์โดยไม่มี การเปลี่ยนแปลงทางเคมี

การเปรียบเทียบการย่อยอาหารของสัตว์2ชนิด ดังนี้

การย่อยอาหารของสัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์

ทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์หรือทางเดินอาหารแบบปากถุง (on-hole-sae) เป็นทางเดินอาหารที่มีทางเปิดทางเดียวคือ มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก ปากทำหน้าที่เป็นทั้งทางเข้าของอาหารและทางออกของกากอาหารไปพร้อม ๆ กัน ทำให้อาหารและกากอาหารมีทิศทางการเคลื่อนที่สวนทางกัน ระบบทางเดินอาหารจึงยังไม่พัฒนามากนัก

การย่อยอาหารของไฮดรา ไฮดราจัดเป็นซีเลนเทอเรตาชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในไฟลัมซีเลนเทอราตา (coelenterata) มีทางเดินอาหารเป็นแบบปากถุง อาหารของไฮดรา ได้แก่ ตัวอ่อนของกุ้ง ปู ไรน้ำเล็ก ๆ ที่อยู่ในน้ำ ไฮดราใช้อวัยวะคล้ายหนวด เรียกว่า หนวดจับ (tentacle ) ซึ่งมีอยู่รอบปากจับอาหารและใช้เซลล์ที่มีเนมาโทซิสต์ (nematocyst) หรือเข็มพิษที่อยู่ที่หนวดจับแทงและฆ่าเหยื่อ ต่อจากนั้นจึงส่งเหยื่อเข้าปาก ทางเดินอาหารของไฮดราอยู่กลางลำตัวเป็นท่อกลวงเรียกว่า ช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ (gastrovascular cavity) ซึ่งบุด้วยเซลล์ทรงสูงเรียกว่า ชั้นแกสโทเดอร์มิส (gastrodermis) เป็นเหยื่อชั้นในบุช่องว่างของลำตัว ซึ่งประกอบด้วย

  • นิวทริทิพ เซลล์ (nutritive cell) เป็นเซลล์ที่มีลักษณะอ้วน บางเซลล์มีแส้เซลล์ 1 หรือ 2 เส้น เรียกว่า แฟลเจลเลตเซลล์ (flagellate cell) บางเซลล์มีลักษณะคล้ายอะมีบา เรียกว่า อะมีบอยด์เซลล์ (amoeboid cell) ทำหน้าที่ยื่นขาเทียมออกมาล้อมจับอาหาร แล้วจึงย่อยอาหารและทำหน้าที่ดูดอาหารที่ย่อยแล้ว ส่วนแฟลเจลเลตเซลล์ มีหน้าที่โบกพัดให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำและอาหารภายในช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ และโบกพัดให้กากอาหารเคลื่อนที่ออกทางปากต่อไป

  • เซลล์ต่อมหรือเซลล์ย่อยอาหาร (gland cell or digestive cell) เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยแล้วปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยอาหารพบมากบริเวณใกล้ ๆ ปาก จะเห็นได้ว่า การย่อยอาหารโดยเซลล์ต่อม จัดเป็นการย่อยแบบนอกเซลล์ ส่วนการย่อยโดยอะมีบอยด์เซลล์จัดเป็นการย่อยอาหารแบบภายในเซลล์

 

การย่อยอาหารของสัตว์ที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ์

การย่อยอาหารของแมลง แมลงเป็นสัตว์ในกลุ่มของสัตว์ขาปล้องจัดอยู่ในไฟลัม อาร์โทรโพดาอาหารของแมลงมีหลายชนิด อาจจะเป็นเศษอาหาร พืช แมลงด้วยกันเอง หรือสัตว์อื่น ๆ ก็ได้ ดังนั้น ปากของแมลงจึงมีการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันออกไป เพื่อให้มีความ เหมาะสมกับสภาพของอาหารที่แมลงแต่ละชนิดกิน แต่ถึงอย่างไรก็ตามลักษณะทางเดินอาหารของแมลงก็มีลักษณะพื้นฐานที่เหมือนกันคือ ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะพักอาหารซึ่งมีขนาดใหญ่อยู่บริเวณทรวงอกและอาจยื่นลงไปในช่องท้องด้วย ต่อจากกระเพาะพักอาหารจะเป็นกระเพาะบดอาหารหรือกึ๋น (gizzard) ช่วยในการกรองและบดอาหาร ต่อจากกึ๋นเป็นกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก ซึ่งอยู่ทางท้ายสุดของลำตัวแมลง

ระหว่างปากและคอหอยมีต่อมน้ำลาย ทำหน้าที่สร้างน้ำลาย ซึ่งมีน้ำย่อยที่ย่อยแป้งอยู่ด้วย ระหว่างกึ๋นและกระเพาะอาหาร มีส่วนที่ยื่นออกมาคล้ายนิ้วมือ 8 อัน เรียกว่า ต่อมสร้างน้ำย่อย (digestive glands) ช่วยสร้างน้ำย่อยชนิดต่าง ๆ และส่งเข้าสู่กระเพาะอาหารเพื่อย่อยอาหารต่อไป ในพวกแมลงปากดูด เช่น ผีเสื้อมีส่วนของคอหอย ช่วยในการดูดอาหารเข้าสู่หลอดอาหารอีกทีหนึ่ง ทางเดินอาหารของแมลงเรียงตามลำดับดังนี้

ปาก --> คอหอย --> หลอดอาหาร --> กระเพาะพักอาหาร --> กระเพาะบดอาหาร (กึ๋น) --> ต่อมสร้างน้ำย่อย --> กระเพาะอาหาร --> ลำไส้เล็ก --> ลำไส้ใหญ่ --> ทวารหนัก

สัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบปากถุง ซึ่งมีช่องเปิดเดียว เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหารจะทำหน้าที่ทั้งการย่อยและการดูดซึมตลอดทางเดินอาหารนั้น และทำให้เกิดการปะปนกันของอาหารและ กากอาหารเนื่องจากมีการเคลื่อนของอาหารและกากอาหารในทิศทางที่สวนทางกัน แต่ในพวกสัตว์ที่มีทางเดินอาหารที่มีช่องเปิดสองทางนั้น อาหารจะมีการเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน ไม่สวนทางกัน ทำให้ส่วนของทางเดินอาหารทำหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในด้านการย่อยและการ ดูดซึมสารอาหาร เป็นผลให้ประสิทธิภาพของการย่อยและการดูดซึมดีกว่าทางเดินอาหารแบบช่องเปิดเดียว ในแมลงมีปากซึ่งมีประสิทธิภาพของการย่อยและการดูดซึมดีกว่าทางเดินอาหารแบบช่องเปิดเดียว ในแมลงมีปากซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าปากของไส้เดือน เพราะสามารถบดอาหารได้ และยังมีต่อสร้างน้ำย่อย ช่วยให้ระบบการย่อยอาหารดีขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย

ทางเดินอาหารของพวกอาร์โทรพอด คล้ายกับของไส้เดือนดิน แต่มีอวัยวะที่ช่วยในการย่อยอาหารเพิ่มขึ้น เช่น บางชนิดมีปากกัด ปากเจาะดูด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีต่อมน้ำลายและต่อมสร้างเอนไซม์ในทางเดินอาหารอีกด้วย


ที่มา http://61.19.145.7/student/web42106/504/504-1941/event.html

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย