สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ประชาธิปไตยสายกลาง

จุดเชื่อมระหว่าง อำนาจ ผลประโยชน์ ความยุติธรรม

     โดยธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นสัตว์สังคม (การเมือง) เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นเวลานานแล้วมีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นมนุษย์ได้สร้างเครื่องมือขึ้นมาเพื่อจัดการความอยากมนุษย์ (กิเลส) อันเป็นเชื้อแห่งการทำลายความเป็นปกติสุขของมนุษย์ให้ลดน้อยถอยลงในลักษณะปกติสงบเย็นไปเป็นทุกข์ร้อน จากไว้เนื้อเชื่อใจเป็นความหวาดระแวงระหว่างกันเป็นต้น(ศีล) ส่วนในกระแสสากลก็คือสิทธิมนุษยชนเมื่อว่าโดยจุดมุ่งหมายไม่ได้ต่างกัน  นี่คือเครื่องมือการปกครองของศาสนาโดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการปกครองตนเองโดยตนเองปราศจากอาชญา ด้วยการที่ศาสนิกมีมโนสำนึกคอยกันกรองประคองตนแล้วขยายผลในระดับสังคม  อีกนัยหนึ่งการปกครองจากภายนอกหรือการปกครองโดยปัจจัยอื่นในกรณีที่มนุษย์มิอาจปกครองตนเองได้ในบางเวลา จึงมีกฎหมายบ้านเมืองเป็นเครื่องมือมาควบคุมเพื่อเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้าถึงผลประโยชน์ให้ทั่วถึงกันและมีความยุติธรรม  จากประเด็นนี้หากนำไปสู่นัยรัฐ และรัฐบาลซึ่งมีจุดเกิดขึ้นจากความพยายามของมนุษย์ที่จะแสวงหาสิ่งที่สนองความต้องการ (ผลประโยชน์) ภายใต้กฎศีลธรรม และกฎหมายเพื่อดำรงไว้ซึ่งความสงบสุขด้วยและความดีงามด้วย   

รัฐจึงเป็นแหล่งพำนักที่คนหวังที่จะพบกับชีวิตที่สมบูรณ์ พลเมืองกับรัฐเป็นสิ่งที่แยกกจากกันไม่ได้ในลักษณะฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายนำอย่างให้สิทธิ์ และอีกฝ่ายเป็นฝ่ายตามอย่างมีส่วนส่วนร่วม  ประเทศที่มีระดับการพัฒนาทางการเมืองสูงประชาชนมักจะมีปฎิสัมพันธ์หรือมีส่วนร่วมทางการเมืองในทุกขั้นตอนทั้งโดยตรงเช่นการลงประชามติและทางอ้อม  ท้ายที่สุดกระบวนการยกร่างกฏหมายที่สำคัญเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นที่จะขาดการการมีส่วนร่วมของประชาชนเสียมิได้   เพราะเป็นกระบวนการบรรดาลให้ความยุติธรรมบังเกิดขึ้น  “ คนเมื่อบรรลุถึงความสมบูรณ์  เป็นเลิศที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งหลาย  แต่ว่าหากเขาถูกแยกออกจากกฎหมายและความยุติธรรม  เขาจะกลายเป็นสัตว์ที่เลวที่สุดบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย  สิ่งที่ประเสริฐในบรรยากาศการเมืองคือความยุติธรรมประกอบขึ้นในลักษณะส่งเสริมประโยชน์ร่วมกัน” (Aristotle)  ความยุติธรรมจะบังเกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีความเท่าเทียมกัน ได้รับสิ่งที่กำหนดในแบบเดียวกัน ขณะเดียวกันอริสโตเติลเห็นว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้องและอยุติธรรม  หากคนสองกลุ่มหรือพรรคการเมืองสองพรรคมีความเท่าเทียมกันเพียงประการเดียว  แต่ได้รับสิ่งที่กำหนดอันเงื่อนไขในเรื่องการจดทะเบียนพรรค การยุบพรรค หรือแม้แต่ประเด็นห้ามอดีตผู้บริหารพรรคไทยรักไทย111 คนเป็นที่ปรึกษาพรรคหรือแม้แต่ปราศรัยซึ่งกำลังเป็นประเด็นร้อนอยู่ขณะนี้ไม่เท่ากัน  ความยุติธรรมคือศูนย์รวมทั้งคุณธรรมและความรู้ (สุขุม  นวลสกุล) หากจุดถ่วงดุลระหว่างความรู้และคุณธรรมเสียศูนย์ ความยุติธรรมย่อมเอียงเอนตามแรงดึงของอำนาจการเมือง    ความยุติธรรมตามทัศนะของอริสโตเติลแบ่งได้สองนัยประกอบด้วย

1. ความยุติธรรมในการแบ่งสรรปันส่วน  กล่าวคือเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้าถึงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามความสามารถของแต่ละบุคคลตามคุณค่า (merits) ที่ถูกหนดไว้เมื่อเป็นเช่นนี้บุคคลควรได้รับการผลักดันผ่านทางระบบการศึกษาที่ถูกต้องตามข้อกำหนดของรัฐ

2. ความยุติธรรมอันเกิดจากความเสมอภาคทางกฎหมาย  หมายถึงทุกคนจะต้องได้รับการปฎิบัติโดยทัดเทียมกัน  แม้ในความเป็นจริงบุคคลมีสถานะทางสังคมแตกต่างกัน   แต่เมื่ออยู่ต่อหน้ากฎหมายแล้วทุกคนมีความเสมอภาคเหมือนกันหมด   รัฐบาลที่ดีจะต้องนำกฎหมายไปบังคับใช้ต่อคนในสังคมอย่างเสมอภาค  มิใช่เลือกปฎิบัติเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

นอกจากนัยแห่งความยุติธรรมแล้วรัฐหรือการเมืองจะต้องตั้งอยู่บนความเป็นจริง ที่สร้างและส่งเสริมชีวิตที่ดีให้กับพลเมืองให้ได้มีโอกาสเป็นเจ้ากรรมสิทธิ์ของ 3 ประการ        คือสิ่งดีภายนอก (external good) หมายถึงเศรษฐกิจ   ความดีทางร่างกาย (body good) อันได้แก่สุขภาพกายดี      และประการสุดท้ายสุขภาพจิตดี (good of soul ) รัฐควรส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักจุดหมายปลายของชีวิตที่ดีมิใช่เป็นดังไฟไหม้ฟางแล้วจางลงในเรื่องอบายมุข หวยบนดิน สิ่งมวมเมายั่วยุในหมู่เยาวชนซึ่งจะต้องเอาจริงเอาจังเป็นไฟไหม้ท่อนฟืนเพราะนั่นหมายมีถ่านให้เหลือใช้ เพราะการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อดันGDPให้สูงแต่ความสุขมวลรวมของชาติต่ำเป็นคำตอบที่ใช่ไหม และนอกจากนั้นรัฐจะต้องมีรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดรูปแบบการปกครองบนรากฐานของหลักการผสมผสานระหว่างคณาธิปไตย (Oligarchy) กับประชาธิปไตย( Democrecy) รูปแบบการปกครองแบบนี้ตามทัศนะของอริสโตเติลเรียกว่า ประชาธิปไตยสายกลาง ทั้งนี้เพราะว่าประเทศใดมีองค์ประกอบระว่างคุณภาพและปริมาณ  กล่าวให้ชัดก้คือด้านคุณภาพของพรรคการเมืองที่มีลักษณะคณาธิปไตย มักให้ความสำคัญแก่ชาติกำเนิด  ฐานะทรัพย์สิน หรือการศึกษาของผู้สมัครรับเลือกตั้ง หากปล่อยให้รูปแบบการปกครองตกอยู่กับคนมั่งมีหรืออภิสิทธิ์ชนพวกนี้ก็จะปกครองเพื่อผลประโยชน์ตนเท่านั้นและมักมีความละโลบที่อยากเป็นเจ้าของทรัพย์สินของคนอื่น  ส่วนในด้านปริมาณของประชาธิปไตยหมายถึงการให้คนจำนวนมากจากหลากหลายสาขาอาชีพเข้ามามีสิทธิ์ในการปกครอง  ข้อเสียมีอยู่ว่าคนพวกนี้เต็มไปด้วยความริษยาในความร่ำรวยของคนส่วนน้อย พร้อมที่จะเป็นพลังให้กับนักการเมืองประเภทฉาบฉวย  ซึ่งมาพร้อมกับสัญญาต่างๆ ในรูปของประชานิยมจริงแท้       หรือประชานิยมจำแลงแปลงธาตุในบริบท “ประชาชน”              เมื่อเป็นเช่นนี้แทนที่ประชาธิปไตยจะเบ่งบานตามกาลเวลาที่ผ่านมาที่ควรจะเป็น   หากแต่ว่ายังคงตัดยอดต่อกิ่งกลายพันธุ์เป็นครึ่งใบบ้าง  ผลัดใบบ้างและนำไปสู่การฉอยโอกาสผลักดันรูปแบบการปกครองระบอบทุชนาธิปไตย (Tyranny) ถ้าหากปล่อยให้รูปแบบการปกครองเป็นไปในลักษณะใดเพียงอย่างเดียวอาจทำให้รัฐมีจุดหมายปลายที่ไม่ดี  หรือเบี่ยงเบนจากความยุติธรรมก็ได้ 

         รูปแบบพรรคการเมืองที่เลอเลิศคือรูปแบบอำนาจ ที่ถูกว่างไว้ในชนชั้นกลางให้มากเพียงพอที่จะมีพลังเหนือกว่าชนชั้นอื่น ในส่วนผู้ปกครองต้องมาจากการเลือกตั้ง  เพราะการเลือกตั้งจะทำให้ชนชั้นปกครอง หรือตัวตนคณาธิปไตยที่ถูกถ่วงดุลด้วยประชาธิปไตยโดยชนชั้นกลางเป็นจำนวนมาก  ไม่สามารถปกครองตามความพอใจหรือแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตนได้ถนัด  เพราะตำแหน่งของเขาขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของประชาชน  ผู้ปกครองที่เป็นชนชั้นนายทุนจึงต้องมีนโยบายสายกลางและคำนึงถึงผลประโยชน์กระจายขยายสู่กลุ่มต่างๆ จากประเด็นนี้พรรคการเมืองในอุดมคติของอริสโตเติลคือการคานอำนาจระหว่างกลุ่มต่างๆ มิใช่สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่ง  หน้าที่ของทุกคนที่จะต้องระมัดระวังรักษารูปแบบการปกครองที่ดีให้ดำรงอยู่ได้       ต้องป้องกันไม่ให้อำนาแก่อภิชนมากเกินไปเพราะอาจใช้อำนาจหน้าที่เพื่อประโยชน์ของชนชั้นปกครอง   และในขณะเดียวกันหากเอนเอียงทางประชาธิปไตยสุดโต่งหลุดจากฐานธัมมาธิปไตย(คารวธรรมเป็นจุดเริ่มต้น)  มีเสรีเกินเกินความพอดีอาจนำไปสู่การละเมิดกฎหมายอันเป็นชนวนแห่งความรุนแรงของบ้านเมือง   

     มาตรวัดความยุติธรรมของรัฐคือความสามารถที่จะรับใช้ผลประโยชน์ส่วนรวมขงคนในรัฐ เป็นรัฐที่ปกครองโดยคนคนเดียว (อาจหมายถึงระบบพรรคที่เข้มแข็งเป็นพรรคเดียว) แต่จะต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนทั้งหมด อย่างไรก็ตามรัฐที่เลวคือรัฐที่มีรูปแบบการปกครองที่อำนวยประโยชน์แก่ผู้ปกครองเท่านั้น  หรือโดยกลุ่มเดียวแต่ดำเนินการตามอำเภอใจ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตน  ในส่วนรัฐธรรมนูญเป็นรัฐธรรมนูญที่ถูกต้องเมื่อตัดสินด้วยมาตรฐานแห่งความยุติธรรมอันสูงสุด  ส่วนรัฐธรรมนูญที่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัวของผู้ปกครองเป็นรัฐธรรมนูญที่เบี่ยงเบนจากความถูกต้อง     ที่กล่าวมาทั้งหมดอาจสะท้อนให้เห็นว่า   อำนาจ   ผลประโยชน์   ความยุติธรรมนั้นจะต้องตั้งอยู่บนความเป็นกลาง เป้าหมายสูงสุดของการปกครองคือการดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมหรือการให้ประชาชนรู้สึกว่าได้รับความเป็นธรรมจากรัฐ หากไม่แล้วเท่ากับรัฐกำลังมีจุดเปราะบางจากกรณีจับกุมแกนนำนปก.ที่ดูเหมือนว่าประเด็นนี้ฝ่ายนปก.กำลังเปิดแผลให้UNได้เห็น แม้แต่การลงประชามติที่มีลักษณะเป็นอาหารตามสั่งให้กินด้วยการบริการส่งถึงที่ (บริการส่งผู้ลงประชามติ) ท้ายทีสุดหากการลงประชามติในครั้งนี้มีชะนักหลังว่าขาดความยุติธรรม หรือขาดความชอบธรรม ที่ฝ่ายเคลื่อนไหวไม่รับรัฐธรรมนูญเปิดแผลซ้ำ แล้วจะให้สังคมโลกมองความชอบธรรมต่อประเทศไทยอย่างไร และท้ายที่สุดนี้ความเห็นต่างทางความคิดเป็นดังดอกไม้หลากสีในอุทยานแม้กติกาว่าด้วยการเลือกตั้งย่อมมีการแข่งขันที่มีหนึ่งเดียวถูกเลือกไว้ในแจกัน  แม้ดอกไม้ที่ไม่ได้รับการการเลือกสรรก็หาใช่หมดความงามจากอุทยาน   ทัศนะที่เป็นกลางมองความแตกต่างให้เห็ถึงความเหมือนกันแทนที่มองความเหมือนที่มีอยู่เห็นเพียงความแตกต่าง มโนทัศน์ที่ดำรงความเป็นกลางทำให้ลดการต่อสู่หรือ

ผศ.ชมพู โกติรัมย์
มหาวิทยาลับศรีปทุม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย