ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

เปรียบเทียบ ปรัชญาอินเดียกับปรัชญาสมัยใหม่

ความคิดของเบคอน (1561-1626) คล้ายกับลัทธินยายะ ไวเศษิก กล่าวคือความคิดทางวิทยาศาสตร์ของเขาคล้ายนยายะและสสารนิยมของเขาก็คลายกับไวเศษิก นอกจากนี้เบคอนยังเชื่อพระเจ้าด้วย (ศตวรรษที่ 17)

เดดาริต (1596-1650)  ก็เสนอความคิดแบบทวินิยมเหมือนลัทธิสางขยะ เพราะฉะนั้นความคิดของเดดาริตจึงมิใช่ของใหม่อย่างที่ชาวโลกเชื่อถือกัน ความคิดเรื่องจิตกับกายของเดดาริตก็เหมือนกับความคิดเรื่องบุรุษกับประกฤติ ส่วนความคิดเรื่องพระเจ้าของเขาก็เหมือนกับปรัชญาเวทานตะ แต่ความคิดทางกลไกลของเขาละเอียดกว่าของอินเดีย (ไวเศษิก)

สสารนิยมของฮอบส์ (1588-1679)  ก็คล้ายกับความคิดของจารวาก ถือว่าจิตเกิดจากสสาร ความคิดเน้นการเคลื่อนไหลของมันสมอง

จิตนิยมของสปิโนช (1632-1677) ก็เท่ากับเอาเวทานตะมาผสมกับสางขยะ ความคิดทางจริยศาสตร์ของเขาก็เหมือนกับของฮินดู

ความคิดของล้อด (1632-1704) บางอย่างก็คล้ายกับพุทธศาสนา เช่นเรื่องคุณภาพชั้นต้น อารมณ์หรือ ideal ส่วนจิตวิทยาของเขาก็คล้ายกับของฮินดู

ลัทธิโมนาดของไลม์นิช (1646-1716)   กลับถอยหลังไปหาปรัชญาพระเวท อย่างที่ฤคเวทกล่าว “บุรุษยิ่งใหญ่กว่าสิ่งทั้งปวง สถิตอยู่ในสิ่งทั่วไปทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต”  คำอธิบายเรื่องโมนาดย่อยโมนาดใหญ่ของเขาก็คือเรื่องชีวาตมันกับปรมาตมันนั้นเอง

ความคิดเรื่องแรงโน้มถ่วงของนิวตัน (Newton) ก็มีอยู่ในลัทธิไวเศษิกแล้ว ความดึงดูดระหว่างสิ่งต่าง ๆ ก็มีกล่าวไว้ในอภิธรรมว่า คืออาโปชตุ  ความคิดเรื่องอากาศของนิวตันก็มีอยู่ในปรัชญาฮินดู ความคิดเกี่ยวกับการแบ่งส่วนใหญ่ออกเป็นส่วนย่อยอันไม่มีที่สิ้นสุด (infinitesimal) ก็มีปรากฏอยู่ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของรูปนาม และเรื่องขณะจิตของพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าจึงเป็นคนแรกที่แบ่งสันตติของรูปนามออกเป็นขณะ ๆ  นิวตันเชื่อว่ามีบางสิ่งที่อยู่กับที่  แต่พระพุทธเจ้าสอนว่าทุกสิ่งเคลื่อนไหว ส่วนเรื่องปฏิกิริยาเท่ากับกิริยานั้น ก็คล้ายกับคำสอนเรื่องกรรมและกรรมวิบากของพุทธศาสนานั้นเอง

จิตนิยมของเนิดเล่ย์ (1685-1753)  ก็คล้ายกับความคิดของพุทธศาสนามหายานซึ่งเป็นผลของการปรับพุทธศาสนาให้เข้ากับเวทานตะ แต่มหายานไม่ไกลกว่าเวทานตะเสียอีก คือปฏิเสธโลกภายนอกเอาเลยคือถือว่า รูปไม่มี มีแต่นามอย่างเดียว

ความคิดของฮิวม์ (1711-1776)  ก็เหมือนกับอเหตุกทิฏฐิ อกิริยทิฏฐิ  และอุจเฉททิฏฐินั่นเอง เพราะฮิวม์บอกว่าไม่มีอะไรนอกจากความคิด (หรืออารมณ์) ล้วนไม่มีสสาร ไม่มีจิต มีแต่ความคิด ทุกอย่างสลายไปกับความตาย

คานต์ (1724-1804) ได้เสนอความคิดเรื่อง กาลและอวกาศเป็นคนแรกในยุโรป แต่ความคิดนี้ก็มีอยู่ในลัทธิไวเศษิกแล้ว และความคิดนี้ก็กลายเป็นคำสอนเรื่องบัญญัติของพุทธปรัชญาด้วย คำสอนเรื่องโลกและวิญญาณของคานต์ก็คล้ายกับเรื่องบุรุษและประกฤติของสางขยะ  ความคิดเรื่องของคานต์ก็คล้าย ๆ กับเรื่องปัฏฐาน 24 ของพุทธศาสนา

ความคิดของนักคิดเยอรมันคือ Fickte  Sohelling  Hegel (1775, 1770)  มีความคล้ายคลึงกับปรัชญาเวทานตะหรือพรามวิทยามาก

     ปรัชญาประวัติศาสตร์ของเฮเกล คล้ายกับลัทธิอวตารของฮินดู  ส่วนความคิดเรื่องไดอะเล็กติกของเขาก็เหมือนกับความคิดเรื่อง สินาสยะของนยายะ  ซึ่งถือว่า ความจริงได้จากการพิจารณาเรื่องที่ขัดแย้งกัน

ความคิดของนักคิดเรื่องสสารนิยมทางประวัติศาสตร์ของพวกมากซิสต์ก็คล้ายกับความคิดเรื่องยุคต่าง ๆ ในปรัชญาฮินดู ที่แบ่งยุคออกเป็น กฤตยุค  ทวาพรยุค  ไตรดายุค  กลียุค  แต่พวกมากซิสต์แบ่งกลียุคไว้ละเอียดกว่า  ส่วนความคิดเรื่องสังคมนิยมนั้น  พวกพราหมณ์และพวกพุทธก็ได้กล่าวไว้นมนานมาแล้ว  สสารนิยมไดอะเล็กติกจึงเท่ากับเป็นพัฒนาการขั้นสูงสุดของลัทธิจารวาก

ความคิดเรื่อง วิวัฒนาการของดาร์วิน (1809-1882)  ก็คล้ายกับความคิดเรื่องพืชนิยมของพุทธศาสนา

ความคิดของพวกสัจนิยมในศตวรรษที่ 20  นี้ก็คล้ายกับความคิดของพุทธศาสนา คือยอมรับความมีอยู่ของสิ่งที่ปรากฏทั้งที่เป็นสสารและอสสาร โดยที่สิ่งทั้งสองมิได้สร้างซึ่งกันและกัน แต่ต่างก็มีอยู่ด้วยกัน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย