ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
เต๋าแห่งฟิสิกส์
บทที่ 1 ฟิสิกส์สมัยใหม่
บทที่ 2 การรู้และการเห็น
บทที่ 3 พ้นภาษา
บทที่ 4 ฟิสิกส์แนวใหม่
บทที่ 5 ศาสนาฮินดู
บทที่ 6 พุทธศาสนา
บทที่ 7 ปรัชญาจีน
บทที่ 8 ลัทธิเต๋า
บทที่ 9 นิกายเซน
บทที่ 10 เอกภาพแห่งสรรพสิ่ง
บทที่ 11
เหนือโลกแห่งความขัดแย้ง
บทที่ 12 จักรวาลอันเคลื่อนไหว
บทที่ 13 ความว่างและรูปลักษณ์
บทที่ 11 เหนือโลกแห่งความขัดแย้ง
3
11.2 หญิงกับชาย
สภาพขั้วตรงกันข้ามอันสำคัญประการหนึ่งในชีวิต คือ ธรรมชาติแห่งความเป็นชาย – ปุริสภาวะ และความเป็นหญิง – อิตถีภาวะ เช่นเดียวกับสภาพขั้วตรงข้ามของดีและชั่ว หรือชีวิตและความตาย ที่ทำให้เรารู้สึกอึดอัดกับสภาพความเป็นชายหญิงในตัวเราเอง ดังนั้นเราจึงเน้นในด้านใดด้านหนึ่งเด่นขึ้นมา สังคมตะวันตกเน้นปุริสภาวะมากกว่าอิตถีภาวะ โดยไม่ได้ตระหนักรู้ว่าบุคลิกภาพของชายและหญิงแต่ละคนเป็นผลงานการผสมผสานระหว่างทั้งสอง ดังนั้นจึงยึดเอาว่าชายต้องมีลักษณะเข้มแข็ง และหญิงต้องมีลักษณะอ่อนหวานนุ่มนวล กำหนดให้ชายมีบทบาทหน้าที่มากมาย ทัศนคติดังกล่าวส่งให้เกิดการเชิดชูหยังหรือปุริสภาพวะของมนุษย์มากเกินไป เน้นความกระตือรือร้น การคิดอย่างเป็นเหตุผลการแข่งขัน ความก้าวร้าว และอื่น ๆ ด้านหยินหรืออิตถีภาวะ ซึ่งรวมเอาลักษณะแห่งความรับรู้ ที่อาจอธิบายด้วยคำต่าง ๆ เช่น ญาณ ศาสนา ลึกลับ จิตใจ ได้ถูกลดบทบาทในสังคมผู้ชายเป็นใหญ่นี้
ในศาสนาตะวันออก ได้มีการพัฒนาอิตถีภาวะสู่สภาพที่สมดุลกับปุริสภาวะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ บุคคลผู้รู้แจ้งในทัศนะของเหลาจื๊อ คือผู้ที่”รู้จักความแข็งแรงอย่างชายและยังรักษาความนุ่มนวลอย่างหญิงไว้ได้” ในศาสนาตะวันออกหลายๆศาสนา เป้าหมายหลักของการทำสมาธิภาวนาก็คือ การสร้างดุลยภาพอันเป็นพลวัตระหว่างความรับรู้สองด้าน ชายและหญิง และมักจะแสดงออกในรูปของงานศิลปะ รูปสลักของศิวะเทพในโบสถ์ของฮินดูที่ เอลีเฟนตา (Elephanta) แสดงภาพพระพักตร์สามด้านของเทพ พระพักตร์ด้านขวาแสดงภาคบุรุษแทนความเข้มแข็งและอำนาจ ด้านซ้ายแสดงถึงสตรีแสดงความนุ่มนวลความสง่างาม ความมีเสน่ห์ ตรงกึ่งกลางอันเป็นภาพพระเศียรอันงดงามของพระศิวะมเหศวร พระผู้เป็นใหญ่ ซึ่งฉายแววแห่งความสงบและอุเบกขา แทนเอกภาพอันสูงส่งอันรวมทั้งสองภาคเข้าไว้ ในโบสถ์เดียวกัน ยังมีรูปสลักของพระศิวะลักษณะครึ่งหญิงครึ่งชาย ส่วนพระกายอยู่ในท่าที่ชดช้อยอ่อนไหว พระพักตร์อิ่มเอมอย่างสงบและปล่อยวาง รูปลักษณะนี้แสดงเอกภาพของอิตถีภาวะและปริสะภาวะอีกภาพหนึ่ง ในพุทธศาสนิกกายตันตระ ขั้วแห่งความเป็นชาย-หญิง มักถูกแสดงออกโดยอาศัยสัญลักษณ์ทางเพศ ปัญญาญาณถือได้ว่าเป็นธรรมชาติฝ่ายรับของมนุษย์และเพศหญิงความรัก ความกรุณา เป็นผ่ายกระทำและเพศชาย เอกภาพของทั้งสองฝ่ายในกระบวนการของการตรัสรู้แสดงด้วยสัญลักษณ์การสวมกอดกันและกันของเทพและเทพี ศาสนาตะวันออกยืนยันว่าเอกภาพดังกล่าวจะปรากฏก็แต่ในสำนึกระดับสูง ซึ่งไปพ้นอาณาจักรความคิดและถ้อยคำภาษา และสิ่งที่ตรงกันข้ามทั้งมวลปรากฏเป็นเอกภาพอันเคลื่อนไหว